การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์


3,249 ผู้ชม


สร้างท่ารำจากภาษาธรรมชาติ   

         เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เตรียมจัดประกวดแข่งขันระบำศรีเทพ และนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชิงเงินรางวัลและโล่ประกาศเกียรติคุณ เพื่ออนุรักษ์ศิลปะนาฏศิลป์ไทย การประกวดแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ คือ การประกวดระบำศรีเทพ และนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 
โดยระบำศรีเทพ ถือเป็นระบำหนึ่งเดียวในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ท่ารำ ชุดการแต่งกาย และเพลงที่ใช้ในการรำการประกวดนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ผู้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นทีมไม่ต่ำกว่า 8 คน เพลงที่ใช้ประกอบท่ารำ จะมีหรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ สามารถคิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ได้ 
แต่ให้ยึดแบบแผนท่ารำนาฏศิลป์ไทย โดยเฉพาะท่ารำแม่บทและภาษาท่าทางนาฏยศัพท์ 
ที่มา:https://www.phetcable.com/webboard/index.php?topic=205.0
         การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์เป็นการคิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ โดยยึดแบบแผนท่ารำแม่บทและภาษาท่าทางนาฏศิลป์
         กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


                                                                 การคิดประดิษฐ์และดัดแปลงท่ารำ
         ศิลปะการฟ้อนรำจะประกอบด้วยท่าทางการร่ายรำเป็นหลักในการฟ้อนรำจึงมีการคิดประดิษฐ์ดัดแปลงท่ารำต่าง ๆ ให้วิจิตรพิสดารและสวยงามกว่าธรรมดา  โดยให้สอดคล้องผสมกลมกลืนไปกับศิลปะที่เป็นส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น  เพลงดนตรี  และคำร้อง  เป็นต้น  
                              การประดิษฐ์ดัดแปลงกิริยาท่าทางเป็นการสื่อภาษาอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับถ้อยคำท่าทางที่แสดงออกมาแบ่งได้เป็น  3  ประเภท  คือ  ท่าที่ใช้แทนคำพูด  เช่น  รัก  ปฏิเสธ  สั่งเรียก  ท่าที่เป็นกิริยาอาการ  เช่น  ยืน  นอน  และการกระทำอื่น ๆ และท่าที่แสดงออกถึงอารมณ์ภายในของคนเราว่าเป็นอย่างไร  
เช่น  รัก  โกรธ  ดีใจ  โศกเศร้า  เป็นต้น  ซึ่งลักษณะท่าทางทั้ง  3  ประเภท  มีความคาบเกี่ยวกันอยู่จะแยกให้เด็ดขาดลงไปเลยไม่ได้การสื่อความหมายรู้กันด้วยสายตาและเป็นศิลปะการฟ้อนรำจำเป็นต้องมุ่ง  ให้รำได้งดงามเรียกว่า “สุนทรียรส”  ซึ่งเป็นหลักสำคัญของศิลปะ

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์
 
                             ภาษาท่า  หมายถึง   การแสดงกิริยาท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด  ในการแสดงนาฏศิลป์นั้น  
บางครั้งเราไม่สามารถแสดงความรู้สึกอารมณ์หรือพูดออกมาได้โดยตรง  จึงจำเป็นต้องใช้ภาษาท่ามาช่วย  
เพื่อทำให้ผู้ชมมองเห็นภาพและเข้าใจความรู้สึกของผู้แสดง  ตัวอย่างภาษาท่า  เช่น
              1.   ท่าชี้   เป็นอากัปกิริยาที่แสดงความหมายเกี่ยวกับอิริยาบถในการบอกกล่าวถึงสิ่งของบุคคล หรือสถานที่


การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์ 

                                                               ตัวนาง                                         ตัวพระ

                                                                   (ที่มาภาพ:เจ้าของบทความ)
ขั้นตอนการปฏิบัติท่าชี้
 ก้าวเท้าซ้ายเหลื่อมไปข้างหน้า  ปลายเท้าชี้ไปด้านข้าง  เท้าขวาอยู่หลังเหลื่อมกับเท้าซ้าย  
มือซ้ายชี้ไปด้านหน้า ใช้นิ้วชี้ชี้ ส่วนนิ้วที่เหลือกำไว้มือขวาเท้าสะเอว ย่อเข่าลง ตามองมือชี้ เอียงศีรษะเล็กน้อยด้านขวา

     2.  ท่าโกรธ  เป็นกิริยาที่แสดงออกมาจากอารมณ์ที่ไม่พอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด  อันไม่พึงปรารถนา  
     ตัวพระ  ตัวนาง จะปฏิบัติลักษณะคล้ายกัน


 การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์

                                                             ตัวนาง                                           ตัวพระ

                                                                    (ที่มาภาพ:เจ้าของบทความ)

ขั้นตอนการปฏิบัติท่าโกรธ
 ตัวพระ
  1. เท้าขวาอยู่หลัง ก้าวเท้าซ้ายเหลื่อมไปข้างหน้า  ปลายเท้าชี้ด้านข้าง  มือขวาเท้าสะเอว มือซ้ายยกขึ้นระดับใต้ใบหู
  2. ใช้ฝ่ามือถูที่ก้านคอตอนใต้ใบหูไปมา  พร้อมกับกระทืบเท้าซ้ายลงพื้นอย่างแรง 
ฝ่ามือใช้ข้างใดข้างหนึ่งก็ได้

 ตัวนาง
  1. เท้าขวาอยู่หลัง เท้าซ้ายอยู่ข้างหน้า  มือขวาจีบที่ชายพก มือซ้ายยกระดับใต้ใบหู
  2. ใช้ฝ่ามือถูที่ก้านคอตอนใต้ใบหูไปมา  พร้อมกับกระทืบเท้าซ้ายลงพื้นอย่างแรง

                 3.  ท่ารัก  เป็นอากัปกิริยาที่แสดงถึงอารมณ์ความรัก  ความพิศวาส  ความเสน่หา  ต่อสิ่งหนึ่งแล้ว
      แสดงออกมาในลักษณะเดียว  แต่ลีลาของการแสดงออกแตกต่างกัน เช่น ตัวพระ ตัวนาง
 

การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์

                                                                  ตัวนาง                                      ตัวพระ

                                                                     (ที่มาภาพ:เจ้าของบทความ)

ขั้นตอนการปฏิบัติท่ารัก
 ตัวพระ
  1. เท้าขวาวางอยู่กับที่  ปลายเท้าชี้ไปด้านข้างเล็กน้อย  เท้าซ้ายวางหลัง  ปลายเท้าชี้ไปด้านข้าง  
  มือประสานระดับหน้าอก มือซ้ายทับมือขวา
  2. ย่อเข่าเล็กน้อย  ม้วนมือเข้าหาลำตัว ให้ปลายนิ้วทั้งสองทาบแตะที่ฐานไหล่  
  เอียงศีรษะด้านซ้าย 
 ตัวนาง
  1. เท้าซ้ายวางอยู่กับที่  ปลายเท้าชี้ไปด้านข้างเล็กน้อย  เท้าขวาวางหลัง  ปลายเท้าชี้ไปด้านข้าง  
  มือประสานระดับหน้าอก มือซ้ายทับมือขวา
  2. ย่อเข่าเล็กน้อย  ม้วนมือเข้าหาลำตัว ให้ปลายนิ้วทั้งสองทาบแตะที่ฐานไหล่    
  เอียงศีรษะด้านขวา  หรือ กรีดนิ้วหัวมือมือกับนิ้วกลางเข้าหากัน นิ้วที่เหลือกรีดออกให้ตึง ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน


                  4.  ท่ายิ้ม   เป็นอากัปกิริยาที่แสดงถึงอารมณ์ที่บ่งบอกถึงความยินดี  และพอใจ  การปฏิบัติ จะใช้
     มือซ้ายปฏิบัติเท่านั้น  ถ้าใช้มือขวาจะถือว่าปฏิบัติที่ผิดแบบแผน
 

การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์

                                                                         ตัวนาง                     ตัวพระ 

                                                                      (ที่มาภาพ:เจ้าของบทความ)

ขั้นตอนการปฏิบัติท่ารัก
  1. เท้าซ้ายยืนอยู่กับที่  ปลายเท้าชี้ไปด้านข้างเล็กน้อย  เท้าขวาวางด้านหน้า  มือขวาเท้าเอว  
  มือซ้ายจีบ ยกมือที่จีบระดับปาก
  2. มือจีบหักข้อมือเข้าหาใบหน้า  ให้ปลายนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มืออยู่ตรงระดับปาก  ปลายนิ้วเท้าขวาชิดกัน  
  ยกปลายนิ้วขึ้นจากพื้นเล็กน้อย  เอียงศีรษะด้านมือจีบ
 ตัวนาง
  1. เท้าซ้ายยืนอยู่กับที่  ปลายเท้าชี้ไปด้านข้างเล็กน้อย  เท้าขวาวางด้านหน้า  มือขวาจีบหงายชายพก  
  มือซ้ายจีบ ยกมือที่จีบระดับปาก
  2. มือจีบหักข้อมือเข้าหาใบหน้า  ให้ปลายนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มืออยู่ตรงระดับปาก  ปลายนิ้วเท้าขวาชิดกัน  
  ยกปลายนิ้วขึ้นจากพื้นเล็กน้อย  เอียงศีรษะด้านมือจีบ

                     การประดิษฐ์สร้างสรรค์ท่ารำ คือ การปรับปรุงท่ารำหรือคิดท่ารำขึ้นมาใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของการนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้
               1.ปรับปรุงหรือดัดแปลงมาจากพื้นบ้าน  หมายถึง  คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นมาจาก
  แนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน  การทำมาหากิน  อุตสาหกรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี
  ในแต่ละท้องถิ่นมาแสดงออกเป็นรูประบำ  เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของตน  เช่น เซิ้งบั้งไฟ 
  เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ฯลฯ
                2.ปรับปรุงหรือดัดแปลงมาจากท่าทางของสัตว์  หมายถึง ท่ารำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตาม
  ลักษณะลีลาท่าทางของสัตว์ชนิดต่าง ๆ บางครั้งอาจนำมาใช้ประกอบการแสดงโขน ละคร  บางครั้ง
  ก็นำมาใช้เป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด ระบำชนิดนี้  เช่น  ระบำนกยูง  ระบำนกเขา  ระบำเหมราช  ฯลฯ
                3.ปรับปรุงหรือดัดแปลงมาจากตามเหตุการณ์  หมายถึง  ท่ารำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นในโอกาส
  ที่เหมาะสม เช่น  ระบำพระประทีป  ระบำโคม  ประดิษฐ์ขึ้นรำในวันนักขัตฤกษ์  ลอยกระทงในเดือนสิบสอง  
  ระบำเกี่ยวกับการอวยพรต่าง ๆ สำหรับเป็นการต้อนรับและแสดงความยินดี
                 4.ปรับปรุงหรือดัดแปลงขึ้นใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน  ท่ารำประเภทนี้เป็นระบำประดิษฐ์
  และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสื่อนำสู่บทเรียน  เหมาะสมหรับเด็ก ๆ เป็นระบำง่าย ๆ  
  เพื่อเร้าความสนใจประกอบบทเรียนต่าง ๆ เช่น ระบำสูตรคูณ  ระบำวรรณยุกต์  และระบำเลขไทย ฯลฯ
  เมื่อประดิษฐ์ดัดแปลงท่ารำแล้วไม่แสดงถึงความงามก็ผิดหลักศิลปะท่ารำของไทยเนื่องจากการประดิษฐ์ท่าทาง
  โดยอาศัยหลักความงามของศิลปะดังกล่าวเป็นการส่งภาษาซึ่งเรียกว่านาฏยภาษา  หรือเรียกว่านาฏยศัพท์  
  หรือเรียกภาษาทางนาฏศิลป์ที่มีความหมาย  แสดงออกมาเช่นเดียวกับคำพูด  ที่เราฟังด้วยหูเราแต่เป็นคำพูดที่แสดง  ด้วย  มือ  แขน  เท้า  ขา  รำตัว  รำคอ  ใบหน้า  ศีรษะ  เป็นต้น  มิใช่ด้วยอวัยวะเครื่องเปล่งเสียงเช่น  ปาก  ลิ้น  
  ด้วยเหตุนี้การฟ้อนรำตามบทและความงามของศิลปะการร่ายรำ  ซึ่งประดิษฐ์เพื่อสอนมาจากกิริยาท่าทาง
  อันเป็นธรรมดาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ แต่ที่ท่าทางที่ผิดเพี้ยนไปจากท่าธรรมดา  เพื่อมุ่งความสวยงามแนวคิดศิลปินไทย
(เรณู  โกศินานนท์.  2535  :  28)
 
                                             เปรียบเทียบท่าทางธรรมชาติมาประดิษฐ์สร้างสรรค์ให้เป็นท่ารำ

1.ท่าสาวน้อยปะแป้ง

            ท่าทางธรรมชาติ                                                                                            ประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นท่ารำ

         การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์                                               การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์               

                 ท่าสาวน้อยปะแป้ง                                                                                             ท่าสาวน้อยปะแป้ง

2. ท่ากาตากปีก      

                 ท่าทางธรรมชาติ                                                                                       ประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นท่ารำ

      การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์                                การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์

                    ท่ากาตากปีก                                                                                                     ท่ากาตากปีก  

ที่มาภาพ:https://2.bp.blogspot.com

      3. ท่าพระรามแผลงศร

              ท่าทางธรรมชาติ                                                                                          ประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นท่ารำ

 การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์                                                          การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์

 
           ท่าพระรามแผลงศร                                                                                         ท่าพระรามแผลงศร

ที่มาภาพ: https://www.suthiphong.com

      4. ท่าดีดฝ้าย

           ท่าทางธรรมชาติ                                                                                       ประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นท่ารำ

การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์                                  การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์

                           ท่าดีดฝ้าย                                                                                                ท่าดีดฝ้าย 

ที่มาภาพ:  https://i14.photobucket.com 

        5.ท่าไหว้

                ท่าทางธรรมชาติ                                                                                            ประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นท่ารำ

 การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์                                การสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์

                       ท่าไหว้                                                                                                                   ท่าไหว้

ที่มาภาพ: https://www.oknation.net

คำถาม
 1. นาฏศิลป์สร้างสรรค์เป็นการคิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ตามยุคสมัยหรือไม่
 2. นักเรียนมีแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับประดิษฐ์ท่ารำ
 3. นาฏศิลป์สร้างสรรค์มีรูปแบบอย่างไรตามแนวคิดของนักเรียน
กิจกรรมเสนอแนะ
 1. ครูผู้สอนควรฝึกแม่บทท่ารำพื้นฐานก่อนและแนะนำให้นักเรียนฝึกท่าทางตามธรรมชาติ
 2. ครูผู้สอนควรให้นักเรียนประดิษฐ์ท่ารำสร้างสรรค์ตามแหล่งเรียนรู้และวิถีชีวิตในท้องถิ่น เช่น ฟ้อนธูป 
 3. นาฏศิลป์สร้างสรรค์ควรยึดถือแม่แบบและแบบแผนที่เน้นความเป็นไทยสู่สากล มีความประณีต งดงาม
การบูรณาการกับสาระวิชาอื่น ๆ
 1. สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
 2. สาระศิลปะ (ทัศนศิลป์) วาดภาพการแสดงในท้องถิ่น
 3. สาระภาษาต่างประเทศ  คำศัพท์เฉพาะ
 4. สาระภาษาไทย คำศัพท์เฉพาะ ความหมายของคำ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
 ที่มา:      https://www.phetcable.com/webboard/index.php?topic=205.0
               เรณู  โกศินานนท์.  2535  :  28
ที่มาภาพ:https://2.bp.blogspot.com/_6b7r1JHRq1k/TC677u2f7oI/AAAAAAAAAAs/Fipme9CivG0/s320/oriko_karasu01.jpg
 ที่มาภาพ: https://www.suthiphong.com/wp-content/uploads/2011/03/Stencil-Rama.jpg
 ที่มาภาพ:https://i14.photobucket.com/albums/a331/v2gether/2009/Summer%20Camp%202009/0406/005.jpg
 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3723

อัพเดทล่าสุด