ความคงที่มีดีที่การเคาะ


741 ผู้ชม


จังหวะหลักคือจังหวะเคาะที่มีความคงที่ของการเคาะจังหวะตามเครื่องหมายกำหนดจังหวะนั้นๆ   

มิเกล การ์เซีย นักบอลสเปน หัวใจวายคาสนาม

ที่มา : https://video.postjung.com/17228.html
        หัวใจจะทำงานโดยการบีบตัวและคลายตัว ซึ่งจะเกิดขึ้นในการเต้นของหัวใจ 1 ครั้ง การเต้นของหัวใจนี้จะเต้นเป็นจังหวะคงที่สม่ำเสมอกัน(สังเกตุจากการจั[ชีพจร)โดยปกติการเต้นชองชีพจรจะอยู่ในช่วงระหว่าง 60 - 80 ครั้งต่อนาที อัตราการเต้นของหัวใจจะเปลี่ยนไปเมื่อร่างกายผิดปกติ เช่น เมื่อร่างกายของมนุษย์อ่อนแอในยามป่วย ไข้ เมื่อร่างกายได้รับการกระตุ้น เช่น การออกกำลัง เมื่อเกิดความรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ เสียใจ ในการเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจนั้นไม่ว่าจะเป็นการเต้นของหัวใจที่ช้า หัวใจเต้นปกติ หรือหัวใจเต้นเร็ว แต่ละช่วงของการเต้นของ หัวใจจะเต้นในจังหวะคงที่สม่ำเสมอ 
จากระบบการเต้นของหัวใจที่คงที่สม่ำเสมอนี้มีลักษณะคล้ายกับจังหวะหลัก(Baet)ของทฤษฎีดนตรี
 
เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 

         จังหวะหลัก บีท ( Baet )  คือจังหวะเคาะที่มีความสม่ำเสมอของการดำเนินทำนองดนตรี 
        จังหวะเคาะจะมีกี่เคราะใน 
1 ห้องเพลงจะขึ้นอยู่กับ เครื่องหมายกำหนดจังหวะ(Time signature) ที่กำหนดไว้ในด้านหลังของกุญแจประจำหลัก
     
            ความหมายของเครื่องหมายกำหนดจังหวะ(Time signature)     จากรูปด้านบน  เลข 4 ที่อยู่ด้านบนกำหนดให้ใน 1 ห้องเพลง  มี 4 จังหวะ   เลข 4 ที่อยู่ด้านล่างมีค่าเท่ากับโน้ตตัวดำที่มีอัตราส่วนเป็น 1ใน 4 ของโน้ตตักลม 
ตัวอย่าง  การเคาะจังหวที่ถูกต้องจากเครื่องหมายกำหนดจังหวะด้านบน


      จากการเคาะจังหวะด้านบน   ระยะห่างจากจังหวะที่ 1 - 2, 2-3  , และจังหวะที่ 3 - 4 จะมีระยะห่างที่คงที่เท่ากันเสมอ
 
ตัวอย่าง การเคาะจังหวะที่ผิดจากเครื่องหมายกำหนดจังหวะด้านบน



         จากการเคาะจังหวะด้านบน   ระยะห่างจากจังหวะที่ 2-3  มีความสั้น - ยาวไม่เท่าจังหวะที่ 1-2 และ 3 - 4   การนับไม่คงที่ สั้นบ้างยาวบ้าง ดังนี้ไม่ใช่จังหวะหลักครับ
 
        จังหวะหลักในแต่และเพลงจะมีความช้าเร็วแตกต่างกันออกไปครับ ขึ้นอยู่กับความ ช้า-เร็ว (Tempo)ของเพลงนั้นๆ
 เพลงช้าเคาะจังหวะช้า เพลงเร็วเคาะจังหวะเร็ว
คำถามเพื่อนำเข้าสู่การอภิปรายในชั้นเรียน
        1.  นักเรียนคิดว่าหากไม่มีจังหวะหลักจะเกิดอะไรขึ้นกับการบรรเลงดนตรี
        2.  นอกจากการเต้นของหัวใจมีระบบการทำงานใดบ้างที่คล้ายกับการเคาะจังหวะ
กิจกรรมเสนอแนะ
        1.ครูผู้สอนควรเปรียบเทียบกับวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
        2.อาจจะให้นักเรียนสร้างเครื่องเคาะจังหวะแบบง่ายๆตังตนเอง
การบูรณาการกับสาระอื่นๆ
        วิชาสุขศึกษาและพละศึกษา : การทำงานของหัวใจ
        วิชาคณิตศาสตร์   :  แบบรูป
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
https://video.postjung.com/17228.html

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3838

อัพเดทล่าสุด