นาฏศิลป์ถิ่นอีสาน ตอนที่ 1


921 ผู้ชม


สืบสานตำนานโหวดสาเกตนคร   

                    

                   นาฏศิลป์ถิ่นอีสาน
                      สืบสานตำนานโหวดสาเกตนคร

     ศรีไศล สุชาตวุฒิ  เชอร์ลีย์ บาสซีย์เมืองไทย กลับมาเปิดคอนเสิร์ต “ ศรีไศล สุชาตวุฒิ รักข้ามขอบฟ้า  live in concert”  หลังจากจากเมืองไทยไปนาน 30 ปี  ไม่ใช่แค่สื่อความคิดถึงที่คนไทยมีต่อเธอเท่านั้น 
หากแต่ทุกบทเพลงที่เธอบรรจงกรีดอารมณ์ใส่ ทำให้การฟังเพลงได้อรรถรสจนเห็นภาพโลดแล่นอยู่เบื้องหน้า คอนเสิร์ต “รักข้ามขอบฟ้า” จะจัดแสดงอีกครั้งในชื่อเดิม “ศรีไศล สุชาตวุฒิ รักข้ามขอบฟ้า live in concert”

          แม้จากถิ่นไทยไกลนานกลับมาสืบสานความเป็นไทย กลับมาสร้างความสุขความสนุกให้ผู้ชม
         กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระเพิ่มเติม ดนตรี นาฏศิลป์)  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ดนตรีและนาฏศิลป์ท้องถิ่น

 
      อันดนตรีโหวดนี้ เดิมทีเขาใช้แก่ง ( แกว่ง )
หรือว่าแงวโหวดเล่น เสียงกะม่วนดี
ตั้งแต่เค้าฮิตเก่าเป็นสัญญาน
เพื่อสือสารกับแถนอยู่บนเทิงสวรรค์ฟ้า
เหมิดยามนาพอแล้วอย่าให้ล้นหลั่ง...ลงเด้อ
  เก็บเกี่ยวกำกอบกู้  พยุงยู่ สู่สิ่งดี
ออนซอนเสียงโหวดนี่  เป็นดนตรีที่โดดเด่น
ร้อยเอ็ดเห็นสืบสร้างขยายกว้างคู่เมือง
แหล้วรุ่งเรืองเหลืองล้ำ นำไปทุกห้องที
เสียงดนตรีโหวดแว่ว หวานรื่น  ซืนหัวใจ
ผู้ใด๋ยินเขากะต้าว  ผู้ใด๋เป่าเขากะย้อง
ให้ฮักแพงเด้อพี่น้อง  ให้โหวดก้อง
ทั่วแดนไทย...เฮาเด้อ    
 

                                                                                                  บทผญาโดย  นายสังคม   ค้อชากุล
                                                                                                                            นายสุรเดช   เวียงสิมา  

โหวดสัญลักษณ์ดนตรีจังหวัดร้อยเอ็ด
    

          เชื่อว่า "โหวด" เกิดขึ้นมาเมื่อหลายพันปีแล้ว  เพื่อใช้เป่าหรือแกว่งให้เกิดเสียงดัง  เป็นการบนบานพระยาแถน ผู้ซึ่งประทานน้ำฝนให้ตกในเมืองมนุษย์  ขอให้ฝนหยุดตกเพื่อจะได้เก็บเกี่ยวข้าวในปี พ.ศ. 2511 นายทรงศักดิ์  ปทุมสินธุ์  ได้นำโหวดมาเป็นเครื่องดนตรีผสมวงกับเครื่องดนตรีอีสานอื่น ๆเป็นครั้งแรกในวงดนตรีคณะโหวดเสียงทอง  อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด  จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วภาคอีสาน  ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด จึงได้เชิญเป็นอาจารย์สอนเรื่องโหวดสืบสานเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจนถึงปัจจุบัน  ในปี พ.ศ. 2540  จังหวัดร้อยเอ็ด  จึงได้กำหนดให้เป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด  และปี พ.ศ. 2545  สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด  จึงได้กำหนดให้มีการจัดการเรียนรู้เรื่องโหวดเป็นหลักสูตรท้องถิ่น  จนกระทั้งปัจจุบัน


                                                                                    ฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงาม


คำขวัญจังหวัดร้อยเอ็ด

              ร้อยเอ็ดเพชรอีสาน พลาญชัยบึงงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมชั้นดี สตรีโสภา

ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่บุญผะเหวด

              เป็นคำขวัญประจำจังหวัดร้อยเอ็ดเดิม ที่อธิบายลักษณะแหล่งท่องเที่ยว สภาพแวดล้อม รวมถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณีภายในจังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน คำขวัญจังหวัดร้อยเอ็ดได้มีการประกวดคำขวัญและได้นำคำขวัญที่ชนะเลิศมาใช้ในใหม่ ในความว่า

           สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี 
มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ

       ฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงาม ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ประพันธ์เนื้อร้องโดย อ.สมชิต สุนาคราช  เป็นการฟ้อนประกอบท่วงทำนองดนตรีที่มีความจังหวะสนุกสนานเร้าใจ การฟ้อนแสดงถึง การอธิบายคำขวัญของจังหวัดร้อยเอ็ดออกมาเป็นท่วงท่าที่สวยงาม โดยมีเนื้อหาชักชวนให้ไปท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด และการแต่งกายของนักแสดงด้วยผ้าไหมลายประจำจังหวัด ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นอีกด้วย

การแต่งกาย

         หญิง สวมเสื้อผ้าไหมแขนสั้น ห่มทับด้วยสไบไหม นุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ร้อยเอ็ด ยาวกรอมเท้า ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน

 นาฏศิลป์ถิ่นอีสาน ตอนที่ 1

                                                 ที่มา:https://www.isan.clubs.chula.ac.th

                                                                 แบบฝึกร้องเพลง                             
                                                            เพลงร้อยเอ็ดเพชรงาม

                                   มาเถิดอ้ายมา มาเถิดหนามาเที่ยวเมืองร้อยเอ็ด  เมืองนี้งามดังเพชร (ซ้ำ)  
โอ้เมืองร้อยเอ็ดงามซึ้งตรึงใจ

                                   เสียงแคนดังต่อยแล่นแตร ดอกคูนงามแท้ชูช่อไสว บึงโอ้บึงพลาญชัย (ซ้ำ) 
หมู่ปลาแหวกว่ายอยู่ในธารา

                                  โอ โอ้ โอ ถ้าอยากสุขโขมาร้อยเอ็ดเถิดหนา มีพระใหญ่สูงเยี่ยมเทียมฟ้า (ซ้ำ)  
ผ้าไหมงามตา สาวโสภาถูกใจ

                                   เสียงพิณดังแว่วแผ่วมา กว้างไกลสุดตาทุ่งกุลาสดใส ชาวร้อยเอ็ดเป็นผู้มีน้ำใจ (ซ้ำ)  
จะมองแห่งไหนร้อยเอ็ดงามจริงเอย


ที่มา:https://www.isan.clubs.chula.ac.th 

ที่มาวิดิโอ:  https://youtu.be/H3PoBpJqbkc

คำถาม
 1. เพลงประจำจังหวัดร้อยเอ็ดมีชื่อเรียกว่าอย่างไร
 2. ดนตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ดมีชื่อว่าอย่างไร
 3.นักเรียนควรเรียนรู้เพิ่มเติมคำผญาเพื่ออนุรักษ์ภาษาถิ่นอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
 1. ครูผู้สอนในกลุ่มสาระเพิ่มควรสอนดนตรีและนาฏศิลป์ท้องถิ่นนั้น ๆเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอด
 2.ครูผู้สอนควรอธิบายเรื่องที่จะสอนให้เข้าใจในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น
 3.ครูผู้สอนควรฝึกการร้องเพลงซ้ำ ๆ ทุก ๆชั่วโมงที่สอน ก่อนจะเริ่มสอนท่ารำ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระวิชาอื่น ๆ
 1. สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
 2. สาระศิลปะ (ทัศนศิลป์) วาดภาพดนตรโหวด
 3. สาระภาษาต่างประเทศ  คำศัพท์เฉพาะ
 4. สาระภาษาไทย  การอ่านและการเขียนคำผญา
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
         - สูจิบัตรงานสืบสานตำนานโหวดสาเกตนคร

        ที่มา:https://www.isan.clubs.chula.ac.th

       ที่มาวิดิโอ:  https://youtu.be/H3PoBpJqbkc

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3854

อัพเดทล่าสุด