วิวัฒนาการดนตรีสากล สมัยกรีก


976 ผู้ชม


วิวัฒนาการดนตรีสากลสมัยกรีก   


เนื้อหาเหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) และผู้สนใจทั่วไป
วีดีโอจาก Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=1v3fJSn-oPo


 


วิวัฒนาการดนตรีสากลมัยกรีก
 


          อารยธรรมโบราณทางภาคพื้น ยุโรปตะวันออก เกิดทีหลังภาคพื้นเอเชียตะวันออกซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี ความเจริญในศิลปวัฒนธรรมของยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ1,000ปีก่อนคริสต์ศักราช ความเจริญดังกล่าว สูงสุดอยู่ที่ประเทศกรีกซึ่งยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สามารถใช้ในการชำระล้างบาป และมลทินทางใจได้สามารถรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้ นอกจากนี้ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงควรแก่การศึกษาวัฒนธรรมตะวันตกถูกผูกติดอยู่กับชาวกรีกโบราณและชาวโรมันอย่างปฎิเสธไม่ได้ความสมบูรณ์ความยอดเยี่ยมของความสวยงามและศิลปะมีต้นกำเนิดจากกรีก รวมทั้งทางปรัชญาของกรีก

         ประวัติของดนตรีกรีกโบราณตั้งแต่เริ่มต้นถึง 330 ปี ก่อนคริสต์กาล(330 B.C;) เมื่อ วัฒนธรรมของกรีกแยกเป็น 2 สาย กล่าวคือ
         สายที่ 1 ทางตะวันออก (Alexander the Great) และ
         สายที่ 2 ทางตะวันตก (ตามชาวโรมัน)
         นอกจากนี้ดนตรีกรีกยังแบ่งออกเป็นยุดต่าง ๆ ได้ดังนี้

          1. Mythical Period จากเริ่มต้นถึง 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล (1,000 B.C.) ในสมัยนี้ได้สูญหายไปในความลึกลับของศาสตร์แห่งเทพนิยายกรีก ดนตรีประเภทนี้ใช้ประกอบพิธีกรรมของลัทธิเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) ผู้เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง ซึ่งรวมถึงความมีเหตุผลและวินัยถือความถูกต้องชัดเจนและการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ พิณไลร่า (Lyre) ?

           ส่วนพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส (Dionysus) นั้นถือว่าเป็นไปในทางตรงกันข้ามคือสื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครม สนุกสนาน ความลึกลับ และความมืดเทพนิยายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีคือ บรรดาเทพ 9 องค์ เป็นธิดาของเทพเจ้าซีอุส ซึ่งเป็นเทพประจำสรรพวิทยาและศาสตร์แต่ละชนิด

           2. Homeric Period 1,000 ? 700 (B.C) โฮเมอร์ (Homer) เป็นผู้ก่อตั้งสมัยนี้ และในสมัยนี้มีบทร้อยกรอง ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชนชาติ เกิดขึ้นจากการเดินทางผจญภัยของโฮเมอร์ ต่อมาบทร้อยกรองหรือ มหากาพย์ของโฮเมอร์ ได้กลายเป็นวรรณคดีสำคัญซึ่งชาวกรีกนำมาขับร้อง ผู้ที่ขับร้องมหากาพย์จะดีดพิณลร่า (Lyra) คลอการขับร้อง ลักษณะการขับร้องนี้เรียกว่าบาดส์ (Bards) ศิลปินเหล่านี้พำนักอยู่ตามคฤหาสน์ของขุนนางถือเป็นนักดนตรีอาชีพ ขับกล่อมบทมหากาพย์โดยใช้ทำนองโบราณซึ่งเป็นท่อนสั้น ๆ แต่มีการแปรทำนองหลายแบบ นอกจากนี้ยังมีดนตรีพื้นเมือง (Folk songs) ซึ่งมีลักษณะเป็นเพลงของพวกเลี้ยงแกะที่เป่า Panpipes (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคล้ายแคน) เพื่อกล่อมฝูงแกะและยังมีดนตรีของชาวเมืองในลักษณะของคณะนักร้อง (Chorus) ขับร้องเพลงในพิธีทางศาสนาต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ ฯลฯ หรือในโอกาสต่าง ๆ เช่นในงานฉลองชัยชนะเป็นต้นคณะนักร้องสมัครเล่นเหล่านี้มักจะจ้างพวกบาดส์ให้มาดีดคีธารา (Kithara) คลอประกอบ

              3. Archaic Period 700-550 B.C. ศิลปะส่วนใหญ่มีการเริ่มต้นขั้นพื้นฐานในช่วงสมัยนี้และได้มีการพัฒนาขึ้นในสมัยคลาสสิกเกิดความนิยมรูปแบบกวีนิพนธ์ที่เรียกว่า ?ลีริก? (Lyric) และการแสดงออกจากการระบายอารมณ์ในใจของกวี (Music expressing sentiments) ไม่ว่าจะเป็นความยินดี หรือ ความทุกข์ระทมอันเกิดจากความรัก ความชัง ความชื่นชมต่อความงามของฤดูใบไม้ผลิ ความประทับใจในความงามของค่ำคืนในฤดูร้อนหรือความสำนึกส่วนตัวของกวีที่มีต่อสังคม ต่อชาติรวมความแล้วกวีนิพนธ์แบบลีริก(Lyric)นี้เอื้อให้กวีได้แสดงความรู้สึกส่วนตนได้อย่างเต็มที่ การร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) เป็นเพลงที่ใช้บวงสรวงและเฉลิมฉลองให้แก่่เทพเจ้าไดโอนิซุสซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์เป็นการขับร้องเพลงประสานเสียง ที่มีต้นกำเนิดโดยนักร้องชาย 12 คน ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงโดย Arion ได้เพิ่มจำนวนนักร้องเป็น 50 คน
และกำหนดให้มีนักร้องนำ 1 คน

            4. Classical Period 550-440 B.C. โชไรเลส (Choeriles) พีนีซุส (Phrynichus)พาตินุส (Pratinas) และเธสพิส (Thespis) ได้พัฒนาการร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) กล่าวคือได้มีการร้องเพลงโต้ตอบกับกลุ่มคอรัสทำให้การแสดงกลายรูปเป็นในลักษณะการสนทนาโต้ตอบกัน แทนที่จะเป็นการเล่าเรื่องโดยการบรรยายอยู่ฝ่ายเดียว พวกเขายังช่วยสร้างให้เกิดวัฒนธรรมของกรีกโบราณคือ การละคร (Drama) เป็นรูปแบบการแสดงที่มีการผสมผสานศิลปะการเต้นรำและดนตรีเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุลย์

          
ในสมัยนี้ได้มีการสร้างโรงละครกลางแจ้ง ตั้งอยู่ระหว่างซอกเขาที่มีเนินลาดโอบล้อมอยู่สามด้านเป็นอัฒจันทร์ที่นั่งคนดูซึ่งจุคนได้เป็นจำนวนมากและยังเห็นการแสดงได้ชัดเจนไม่มีการบังกัน อัฒจันทร์คนดูนี้เซาะเป็นขั้นบันไดสูงขึ้นไปตามไหล่เขาที่ลาดชันโดยโอบล้อมบริเวณที่ใช้แสดงเป็นพื้นที่ราบอยู่ต่ำลงไปเป็นรูปวงกลมหรือครึ่งวงกลม ซึ่งเรียกบริเวณว่าออร์เคสตรา (Orchestra) ใช้เป็นที่แสดงของพวกคอรัสซึ่งยังคงความนิยมติดมากับการแสดง

              5. Hellinistic Period 440-330 B.C. ลักษณะของการละครสมัยนี้เริ่มไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากว่ามีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการละคร ในสมัยนี้ศิลปะและบทประพันธ์ร้อยกรองต่าง ๆ มีการพัฒนาแยกออกจากดนตรีมีนักปราชญ์ทางดนตรีหลายคน การค้นพบกฎพื้นฐานของเสียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาและคณิตศาสตร์ ซึ่งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์นามกระเดื่องของกรีกคือ ไพธากอรัส (Pythagoras) เป็นผู้วาง กฎเกณฑ์ไว้้ โดยการทดลองเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนของเสียงจากความสั้น – ยาวของสายที่ขึงไว้ ไพธากอรัสค้นพบวิธีที่จะสร้างระยะขั้นคู่เสียงต่าง ๆ รวมทั้งระยะขั้นคู่ 8 ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญของบันไดเสียงของดนตรีตะวันตก นักคิดรุ่นต่อ ๆ มาได้พัฒนาทฤษฎีดนตรีของกรีกจนได้เป็นระบบที่สลับซับซ้อนที่รู้จักกันในนามของโมด (Mode) ซึ่งได้แก่บันไดเสียงทางดนตรีที่ใช้ในการชักจูงให้ผู้ฟังมีความรู้สึกต่าง ๆ กันออกไป บันไดเสียงเหล่านี้จึงมีการใช้ในการสร้างสรรค์ดนตรีเฉพาะตามกรณี
 

            จากโมดนี้เองชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของอีธอส (Doctrine of ethos) ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรีโดยกล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบหรือความขัดแย้งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้ายโดยทั่วไปโมดสามารถจัดได้เป็นสองจำพวกคือ โมดที่สื่อถึงความเงียบสงบ มีระเบียบ ใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าอพอลโลและโมดที่สื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครมใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส ผลสะท้อนของแนวคิดที่กล่าวถึงนี้ทำให้ดนตรีของกรีกมีทั้งการแสดงออกถึงความซับซ้อนของท่วงทำนองจากการบรรเลงของเครื่องดนตรีล้วน ๆ ในการแสดงเพื่อการแข่งขันหรือในงานฉลองต่าง ๆ และดนตรีที่แสดงออกถึงรูปแบบที่มีมาตรฐานซึ่งสัมพันธ์กับการบรรยายเรื่องราวตำนานของวีรบุรุษและการศึกษาสำหรับพวกสังคมชั้นสูงที่เต็มไปด้วยปรัชญาอันลึกซึ้งในหนังสือ Poetics นั้น อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายว่าดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์อย่างไรบ้าง เขากล่าวว่าดนตรีเลียนแบบอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ได้ยินดนตรีซึ่งเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็จะเกิดมีความรู้สึกคล้อยตามไปด้วยทฤษฎีดนตรีกรีกของ Aristoxenus กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีดนตรีในปัจจุบันโดยได้เสนอผลงานระบบเสียงที่เรียกว่า เตตราคอร์ด (Tetrachord) 3 ชนิด คือ Diatonic, Chromatic, และ Enharmonic โดยเสียงที่อยู่ภายในคู่ 4 เพอร์เฟคจะถูกเรียกว่า Shade ดังตัวอย่าง
 

         ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อย ๆ เข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำไปด้วยตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่มีจิตใจสูง ดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล มีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบด้วยวิชากีฬาและดนตรีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจ เปลโตสอนว่า ?การเรียนดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์ก้าวร้าวและไม่ฉลาด? ยิ่งกว่านั้นเปลโตยังได้กำหนดไว้ว่า ?ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหวควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)

          บันไดเสียงทั้งสองข้างต้นทำให้เกิดอารมณ์กล้าหาญและสุภาพเรียบร้อย เปลโตเชื่อว่าดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของมนุษย์จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้นี่คือทฤษฎีอีธอส (Ethos) ของดนตรี เปลโตยังเคยกล่าวไว้ว่า ?จะให้ใครเป็นผู้เขียนกฎหมายก็แล้วแต่ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้แต่งเพลงประจำชาติก็แล้วกัน? นี่หมายถึงว่า กฎหมายเพียงแต่กำหนดขอบเขตความประพฤติของคนจากภายนอก แต่อีธอสของดนตรีสามารถเข้าถึงจิตใจมนุษย์ และคุมนิสัยจากภายในได้จากการศึกษาหลักฐานต่าง ๆ สรุปได้ว่าดนตรีกรีกน่าจะเป็นดนตรีเน้นเสียงแนวเดียว (Monophonic music) กล่าวคือเน้นเฉพาะแนวทำนองโดยไม่มีแนวประสานเสียงทำให้โครงสร้างของทำนองมีความสลับซับซ้อน ระยะขั้นคู่เสียงที่ใช้จะห่างกันน้อยกว่าครึ่งเสียง ได้ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าไมโครโทน (Microtones) ดนตรีกรีกมีหลายรูปแบบ นับตั้งแต่ดนตรีที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วน ๆ ไม่มีการร้องไปจนถึงการร้องบทกวีแต่รูปแบบที่นับว่าสำคัญได้แก่ การร้องหมู่ ซึ่งพบได้ในละครของกรีก ในระยะแรกการร้องหมู่ใช้ในการสรรเสริญพระเจ้าและวีรบุรุษซึ่งมักมีการเต้นรำประกอบเพลงร้องด้วย

เครื่องดนตรีสมัยกรีก




ขอขอบคุณท่าน ผศ.คมสันต์  วงค์วรรณ ที่อนุเคราะห์ ข้อมูล
https://musiclib.psu.ac.th/data/western-musuc/Chapter4/Chap4-1.htm
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3977

อัพเดทล่าสุด