ขั้นตอนการระบายแสงเงา
๑. รูปทรง ขนาด ระยะ สังเกตรูปทรงและขนาดของภาพให้ดี หากเราย่อหรือขยายสัดส่วนโดยสังเกตจากหุ่นที่ใกล้เคียง เปรียบเทียบ ขนาด ระยะ ความสูงต่ำ
๒. แสงและเงา ทิศทางที่แสงตกกระทบหุ่น แสงมีหลายลักษณะ คือ
- แสงสว่างที่สุด (Highlight) อยู่ในส่วนที่รับแสงโดยตรง
- แสงสว่าง (Light) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสง
- เงา (Shadow) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสงน้อยมาก
- เงามืด (Core of Shadow) อยู่ในส่วนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของแสงเลย
- แสงสะท้อน (Reflects Light) บริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง แต่เป็นการสะท้อนของแสงจากวัตถุใกล้เคียง
- เงาตกทอด (Cast Shadow) บริเวณที่เงาของวัตถุนั้น ๆ ตกทอดไปตามพื้นหรือตามวัตถุอื่นที่รองรับน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน
https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/425/2425/images/Drawing4.jpg
๓. ผิว สังเกตหุ่นว่ามีลักษณะผิวอย่างไร เช่น
- ผิวด้าน เช่น กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เครื่องปั้นดินเผา หุ่นผิวลักษณะนี้แสงจะต้องนุ่มนวล จากแสงอ่อนไปจนถึงแก่จัด
- ผิวมัน เช่น ผลไม้สด เซรามิค ภาชนะพลาสติก หุ่นผิวประเภทนี้จัดเป็นจุดและแสงจะต้องขาวไม่ว่าหุ่นจะเป็นอะไรก็ตาม
- ผิวใส เช่น แก้วน้ำ ขวดใส ถุงพลาสติกใส่อาหาร โหลแก้ว หุ่นประเภทนี้ต้องเขียนให้ใสมองทะลุถึงวัตถุที่อยู่ด้านหลังของหุ่นจะมีความแวววาวมาก
https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/425/2425/images/Drawing5.jpg
www.oknation.net/blog/home/blog_data/425/2425/images/Drawing5.jpg
ปhttps://www.oknation.net/blog/home/blog_data/425/2425/images/Drawing6.jpg
ลำดับขั้นในการสร้างงานวาดเส้น
๑. ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมในการวาดภาพ การเตรียมใจ หมายถึง มีใจพร้อมที่จะวาดภาพ และการเลือกมุมมอง ดูทิศทางที่แสงเข้าและเงาตกทอดที่ชัดเจน
๒. ขั้นร่างภาพ การร่างภาพเป็นส่วนสำคัญของการวาดเส้น เพราะถือว่าเป็นการเริ่มต้นของโครงร่างของภาพทั้งหมด ถ้าร่างได้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ การลงน้ำหนักหรือแรเงาจะง่ายขึ้น เริ่มแรกคือการหาส่วนรวมของภาพ จะทำให้เรากำหนดตำแหน่งของส่วนละเอียดให้ถูกต้องขึ้น
๓. ขั้นลงน้ำหนัก เพื่อให้การลงน้ำหนักเหมือนของจริง ต้องสังเกต น้ำหนัก แสงและเงาในตัววัตถุที่เราเตรียมลงน้ำหนัก ดูจากข้อแสงและเงา การลงน้ำหนักมี ๒ ลักษณะ คือ
- การลงน้ำหนักตามหลักการของแสงอาทิตย์ ลงน้ำหนักให้แสงเงาเหมือนจริง
- การลงน้ำหนักตามความรู้สึก แสดงถึงความสามารถในการคิดสร้างสรรค์รูปร่างและรูปทรงขึ้นใหม่ จากความคิดและความรู้สึกอันทำให้ได้ความงามที่แปลกออกไป
วาดเส้น มีเรื่องของแสงและเงาเป็นหลักสำคัญ เป็นพื้นฐานแรกของการเข้าสู่การทำงานทางด้านทัศนศิลป์และออกแบบ เป็นการแสดงออกโดยการสร้างภาพให้มองเห็นความคิดและความรู้สึก ของผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
เมื่อท่านได้สังเกตและฝึกฝนการวาดเส้นจนชำนาญ ท่านจะสามารถมองเห็นภาพแสงเงาที่เกิดขึ้นในธรรมชาติได้ง่ายและชัดเจนขึ้น ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ ถ่ายทอดความรู้สึกที่ท่านมีต่อสิ่งที่พบเห็นเบื้องหน้าของท่านออกมาเป็นงานศิลปะ เรียกได้ว่า ท่านมีสายตาศิลปะและเป็นศิลปินได้
**************************
ข้อมูลอ้างอิง : เอกสารประกอบโครงการฝึกอบรมศิลปะสำหรับบุคคลภายนอก งานบริการศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
ที่มา:
https://www.oknation.net/blog/print.php?id=173678
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4032