อันตราย….ชิคุนกุนยา ไวรัสที่มากับยุง


763 ผู้ชม


ไวรัสวิคุนกุนยามากับยุง อันตรายที่อยู่ใกล้ตัวในช่วงฤดูฝน   

สถานการณ์ของไวรัสชิคุนกุนยาในปัจจุบัน

15 พค. 2552 06:50 น.อันตราย….ชิคุนกุนยา ไวรัสที่มากับยุง


        น.พ.วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุข จ.ภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาหรือโรคปวดข้อในพื้นที่ จ.ภูเก็ตว่า จากการตรวจสอบและเฝ้าระวังการแพร่บาดของโรคชิคุณกุนยาในพื้นที่ ขณะนี้พบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้ว 5 ราย โดยทั้งหมดทำสวนยางพารา โดยได้รับการรักษาแล้วทุกราย ซึ่งยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิด 
        น.พ.วิวัฒน์ กล่าวอีกว่า ทาง สสจ.ภูเก็ตได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน ให้ช่วยกันทำลายและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อรับมือป้องกันการระบาดของโรคดังกล่าว พร้อมทั้งได้ฉีดหมอกควัน เพื่อทำลายยุงลายบ้านและยุงลายสวน ซึ่งเป็นพาหนะของโรคชิคุนกุนยาด้วย (https://breakingnews.nationchannel.com/)
 

อันตราย….ชิคุนกุนยา ไวรัสที่มากับยุง

         โรคไข้เลือดออกเป็นโรคหนึ่งที่มีการระบาดอย่างมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งปกติแล้วไข้เลือดออกที่พบในบ้านเราจะเป็นเชื้อไวรัสแดงกี  ที่มากับยุงลาย ทำให้มีอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ โรคนี้ถ้าทำการรักษาช้า  ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตได้  

         แต่สำหรับเชื้อไวรัสชิคุนกุยา  มียุงลายเป็นพาหะนำโรค   

        ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก 
 อันตราย….ชิคุนกุนยา ไวรัสที่มากับยุง
ความแตกต่างระหว่างไข้เลือดออก กับการติดเชื้อ chikungunya 
 
          1. ใน chikungunya  มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน ไข้เลือดออกคนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า
           2. ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน chikungunya ได้บ่อยกว่าใน ไข้เลือดออกโดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน
           3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน ไข้เลือดออก
           4. ไม่พบ convalescent petechial rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya
           5. พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และ conjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี
           6. พบ  myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี
           7. ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกีถึง 3 เท่า
วิธีป้องกัน    ถึงแม้ทุกวันนี้ยังไม่ยาหรือวัคซีนตัวใดที่ใช้รักษาได้โดยตรงทั้งโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ดังนั้นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ถ้ามีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ หรือลดอาการปวดข้อ และพักผ่อนให้เพียงพอก็สามารถบรรเทาอาการไปได้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ต้องหมั่นตรวจดูที่เก็บกักน้ำ ไม่ว่าจะเป็น บ่อ กะละมัง เพราะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่ จึงจำเป็นต้องมีฝาปิด ที่ใดที่จำเป็นต้องมีน้ำขังอยู่ก็ให้ใส่ทรายอะเบทลงไปเพื่อป้องกันการวางไข่ และควรเลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะปลาจะกินลูกน้ำเป็นอาหาร
 แต่นอกเหนือจากการป้องกันการแพร่พันธ์ของยุงแล้ว ตัวเราเองก็ต้องป้องกันตัวเราไม่ให้ถูกยุงกัดด้วย ควรติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัดตอนกลางวัน และที่สำคัญต้องเฝ้าสังเกตคนในบ้านว่ามีไข้และอาการคล้ายกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ หากมีก็ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน
 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=385

อัพเดทล่าสุด