ภัยเงียบ...โรคมะเร็งในเด็ก


880 ผู้ชม


โรคมะเร็งเกิดขึ้นกับคนทุกวัยและกำลังมีผู้ป่วยที่เป็นเด็กเพิ่มมากขึ้น   

แพทย์เผยรอผลตรวจก่อนวางแนวทางรักษา'น้องนุ้ย'
 วันนี้(22 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงาน พ.อ.นพ.ทิพชาติ บุณยรัตพันธุ์ แพทย์สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า และแพทย์เจ้าของไข้ ด.ญ.สุจิรา รุ่งทอง หรือน้องนุ้ย วัย 7 ขวบ ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก และมีอาการบวมที่ต้นขาซ้าย เปิดเผยว่า ขณะนี้แพทย์ต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้งว่า เป็นมะเร็งกระดูกชนิดใด ระยะที่เท่าไร และต้องตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่บวมไปตรวจพิสูจน์ ทั้งนี้ จากการเอ็กซเรย์ปอด พบว่า ปอดปกติดี มะเร็งยังไม่ลุกลาม ซึ่งการรักษาได้เตรียมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูก กุมารแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการให้เคมีบำบัดในการดำเนินการรักษา อย่างไรก็ตาม คณะแพทย์จะประชุมร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการรักษาภายหลังจากการทราบผลการตรวจที่แน่ชัดในสัปดาห์หน้า ( แหล่งที่มา : น.ส.พ เดลินิวส์ )

เนื้อหา  วิชาสุขศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

สาระที่  4      การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

มะเร็งคืออะไร

มะเร็งเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต   กล่าวคือ เนื้องอกนี้เป็นส่วนของร่างกายที่มีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ เป็นก้อนเนื้อที่เป็นเซลล์ผิดปกติ ซึ่งทวีจำนวนขึ้นมากกว่าที่ควร ประกอบไปด้วยเซลล์ที่เพิ่มจำนวนผิดปกติ ไม่อยู่ในการควบคุมและสมดุลของร่างกาย เซลล์เนื้องอกควบคุมไม่ได้ ทำให้เซลล์เหล่านี้เจริญอย่างรวดเร็วลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ โดยที่มะเร็งจะส่งสิ่งที่มีลักษณะเหมือนหนวดออกไปรอบ ๆ ตัว และทำลายเนื้อเยื่ออื่น ๆ โดยตัดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณนั้น ทำให้เกิดเลือดออกหรือเป็นแผล

สัญญาณอันตราย 8 ประการ
อาการดังต่อไปนี้ อาจเป็นอาการเริ่มแรกของการเกิดโรคมะเร็ง 

  • มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
  • กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
  • มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
  • มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
  • มีแผลเรื้อรัง ซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
  • มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
  • มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
    มีอาการหูอื้อ หรือมีเลือดกำเดาไหลเป็นประจำ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

  • กัมมันตรังสีต่างๆ
  • สารเคมีต่างๆ สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดมะเร็ง แบ่งออกได้เป็นกลุ่ม คือ ไวรัส เมื่อเซลล์ปกติเกิดการติดเชื้อไวรัส จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของเซลล์ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซม
  • สาเหตุอื่นๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งอีกอย่างหนึ่ง คือ สิ่งแวดล้อม เช่น สภาพภูมิประเทศ แหล่งที่อยู่อาศัย สารพิษในอากาส บริโภคนิสัย ขนบธรรมเนียมประเพณี อาชีพการงาน อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งเชื้อชาติและกรรมพันธุ์ ภาวะการผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ ถุนยาสูบ กินหมาก กินอาหารร้อนๆ เป็นประจำ จะทำให้เกิดการระคายเคือง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น มะเร็งในช่องปากและบริเวณกระพุ้งแก้มของคนที่กินหมาก มะเร็งในหลอดคอของคนที่ชอบดื่มน้ำชาร้อนๆ หรือเครื่องดื่มร้อนๆ เป็นประจำทุกวัน

ภัยเงียบ...โรคมะเร็งในเด็ก
วิธีการรักษาโรคมะเร็ง
  สมัยก่อนจะทำการรักษาโดยการตัดชิ้นเนื้อตรวจดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่หากเป็นมะเร็งก็ตัดออกเพราะเชื่อว่าการรอเวลาจะทำให้มะเร็งแพร่กระจาย แต่จากการศึกษาพบว่าการรักษาที่เหมาะสมจะทำ 2 ขั้นตอนโดยการตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจเป็นบางส่วนหากผลออกมาเป็นมะเร็งจึงค่อยนัดมาผ่าตัด

การเจาะเลือดเพื่อตรวจหามะเร็ง
  การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคมะเร็งหรือที่เรียกว่า Tumor marker เป็นสารซึ่งอาจจะเจอในเลือด ปัสสาวะ เนื้อเยื่อต่างๆ มากกว่าปกติสารเหล่านี้ถูกสร้างโดยเนื้อมะเร็ง หรือปฏิกิริยาของร่างกายต่อมะเร็ง และจากเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง  การตรวจหาระดับของสารในเลือดอย่างเดียวไม่สามารถให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต้องอาศัยการตรวจอย่างอื่นประกอบด้วย เช่นการตรวจทางรังสี การตรวจด้วย ultrasound

"สแกนกระดูก" (Express Bone Scan)
โรคร้ายนี้บางรายอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระดูก ทำให้เกิดอาการปวดกระดูก กระดูกหักง่าย และหากปล่อยให้เข้าสู่ส่วนระบบประสาทอย่าง กระดูกสันหลังหรือส่วนคออาจทำให้เป็นอัมพาตได้ ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และขณะนี้มีเทคโนโลยี "สแกนกระดูก" (Express Bone Scan) เป็นอีกทางเลือกในการรักษา  กระบวนการสแกนกระดูก คือจะฉีดสารเภสัชรังสีเข้าสู่หลอดเลือดดำ จากนั้นสารนี้จะกระจายจับกับกระดูก และสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของกระดูกได้ เมื่อสแกนกระดูกตรวจดูบริเวณที่มีความผิดปกติ แพทย์จะวางแผนรักษาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนทางกระดูกที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำต่อไป สำหรับขั้นตอนการสแกนจะใช้เวลาประมาณ 4 ชม. โดยหลังจากการฉีดยา ผู้ป่วยจะต้องรอ 2-3 ชั่วโมงให้สารไปจับกับกระดูก  จากนั้นจะให้ผู้ป่วยนอนราบกับตัวเครื่องโดยเริ่มสแกนตั้งแต่ส่วนล่างไล่ไปจนถึงส่วนบน ข้อมูลจากการสแกนจะถูกแสดงผลทางหน้าจอ ซึ่งส่วนที่มีความผิดปกติจะขึ้นเป็นจุดสีดำบ่งบอกถึงความผิดปกติไว้ ช่วงทำการสแกนผู้ป่วยจะใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 30 นาที  ส่วนสารที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยจะถูกขับออกในรูปของปัสสาวะ เหงื่อ การหายใจ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ภัยเงียบ...โรคมะเร็งในเด็ก

"เครื่องสแกนกระดูก" (Express Bone Scan)

วิธีการรักษาโรคมะเร็ง
     1.การผ่าตัด ผ่าตัดอวัยวะส่วนที่เป็นมะเร็งออก
     2.ใช้รังสี เพื่อฆ่าหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปให้ 5 วันต่อสัปดาห์ติดต่อกัน 5-6 สัปดาห์      บางครั้งอาจให้รังสีรักษา เคมีบำบัด หรือให้ฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดเพื่อให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการผ่าตัด 
     3.เคมีบำบัด ใช้ยาฆ่ามะเร็งอาจเป็นยาฉีดหรือยากิน มักจะให้ระยะหนึ่งแล้วหยุดจุดประสงค์ของการให้คือ 
        •เพื่อป้องกันมะเร็งกลับเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด 
        •ลดขนาดของก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัด 
        •เพื่อควบคุมโรคในรายที่มะเร็งแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น 

ผลข้างเคียงของการรักษา
     1.การผ่าตัด 
        •เจ็บบริเวณที่ผ่าตัด 
        •อาจมีการติดเชื้อ หรือแผลหายช้า 
    2.รังสีรักษา 
       •อ่อนเพลีย 
      •ผิวหนังแห้ง แดง เจ็บ คัน 
      •ก่อนใช้เครื่องสำอางควรปรึกษาแพทย์ 
   3.เคมีบำบัด 
     •ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย 
     •ผมร่วง 
      •เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน 
     •เป็นหมัน 
     4.ฮอร์โมน  ยาจะยับยังไม่ให้ร่างกายใช้ฮอร์โมนแต่ไม่ยับยังการสร้างฮอร์โมนดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการ วูบวาบ ตั้งครรภ์ง่าย คันช่องคลอด น้ำหนักเพิ่ม ตกขาวควรตรวจภายในทุกปีและรายงานแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ
มาป้องกันมะเร็ง

      ยังไม่มีวิธีแน่นอนในการป้องกันมะเร็ง คุณสามารถป้องกันมะเร็งด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น
      •เปลี่ยนแปลงอาหาร เช่น ลดอาหารเนื้อแดง ลดอาหารมัน งดเกลือ 
      •เลือกรับประทานอาหารพวก ผักและผลไม้ 
     •ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 4 ชั่วโมงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ 
     •งดเว้นการสูบบุหรี่ และ แอลกอฮอล์

โรคมะเร็งกระดูก

เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยมาก แต่ถ้าเกิดเป็นแล้วอาการมักจะรุนแรง และกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้รวดเร็วมาก ส่วนใหญ่จะพบในคนอายุต่ำกว่า 35 ปี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 10-20 ปี พบได้มากที่สุดสาเหตุ

     ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีสาเหตุบางประการซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดมะเร็งของกระดูกได้ เช่น มะเร็งของกระดูกมักเป็นหลังจากกระดูกได้รับอันตราย เช่น หกล้มกระแทกถูกกระดูกบริเวณนั้นมาก่อน พอมาเอกซเรย์ก็จะพบว่าเป็นมะเร็งของกระดูก ซึ่งเชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงมาก่อนแล้ว แต่ยังไม่มีอาการอะไรแสดง ออกมา หรือในรายผู้ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีบางอย่าง เช่น เรเดียม สตรอนเซียม จะมีโอกาสเป็นมะเร็งของกระดูกได้มากกว่าคนธรรมดา เป็นต้น

อาการภัยเงียบ...โรคมะเร็งในเด็ก

     จะพบว่ามีก้อนแข็ง หรือปุ่มยื่นออกมาจากกระดูก และจะไม่เจ็บในระยะแรก ก้อนจะโตเร็วขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดอาการปวดกระดูก ผิวหนังที่หุ้มกระดูกบริเวณที่เป็นมะเร็งจะบวมขึ้น ตึง เส้นเลือดรอบ ๆ จะโป่งพอง และมีความร้อนสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ บางรายเมื่อเป็นมากขึ้น จะตามมาด้วยอาการกระดูกหักแตกได้ง่ายจากการกระทบกระเทือนเพียงเบา ๆ เล็กน้อย

การวินิจฉัย

     แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด มักต้องอาศัยเอกซ์เรย์ร่วมด้วย บางรายแพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูทาง พยาธิวิทยา เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ และวางแผนการรักษาต่อไป โดยสังเกตจากอาการดังกล่าว

  1. ถ่ายภาพเอกซเรย์
  2. ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
  3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค

การรักษา

     โดยทั่วไปอาศัยการผ่าตัดเป็นหลัก อาจใช้การฉายแสง หรือยาเคมีบำบัดร่วมด้วยในบางราย ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา การผ่าตัด โดยตัดเอากระดูกชิ้นที่เป็นมะเร็งออกทั้งอัน เช่น ผ่าตัดแขน หรือขาทิ้ง หรือตัดกระดูกขากรรไกรออกแล้วทำศัลยกรรมตกแต่งภายหลัง การรักษาด้วยรังสี หรือให้ยาเคมี เป็นวิธีรักษาในรายที่เป็นมะเร็งบริเวณกระดูก ซึ่งไม่สามารถตัดได้ เช่น มะเร็งของกระโหลกศีรษะหรือในราย ที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นเป็นการรักษาเพื่อประคับประคอง ทุเลา ความเจ็บปวด ลดขนาดของมะเร็งลง การรักษาโดยการผสมผสานกันหลาย ๆ วิธี เช่นการผ่าตัดร่วมกับฉายรังสี หรือการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมี ทั้งนี้ตามความเหมาะสม ซึ่งแพทย์จะ พิจารณาเป็นราย ๆ ไป

การป้องกันภัยเงียบ...โรคมะเร็งในเด็ก

      เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งกระดูก การป้องกันที่สามารถทำได้คือ การป้องกันสาเหตุเสริม ซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคมะเร็งกระดูก คือ ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดกับกระดูก เช่น หกล้ม การเล่นกีฬา ฯลฯ พยายามหลีกเลี่ยงหรือหาทางป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสารกัมมันตรังสีต่าง ๆ


 หัวข้อข่าว : สทน.พัฒนาสำเร็จ ยามะเร็งกระดูก ไม่พบผลข้างเคียง

รายละเอียด : 

วันนี้ (27 เม.ย.) นายสมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกหันมาวิจัยและพัฒนากระบวนการทางนิวเคลียร์เพื่อใช้ประโยชน์ ด้านสาธารณสุขจำนวนมาก โดยเฉพาะการใช้รังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ล่าสุด นักวิจัย สทน. ประสบความสำเร็จในการพัฒนายากำจัดเซลล์มะเร็งกระดูก โดย พัฒนาสารรังสีเบต้าชนิด RHENIUM-188? มีคุณสมบัติทำลายเซลล์มะเร็ง? นักวิจัยได้นำมาปรุงเป็นยาโดยอาศัยสารเคมีที่เรียกว่า HEDP? เป็นสารประกอบฟอสเฟต ทำหน้าที่ในการนำส่งสารรังสีดังกล่าวเข้าสู่เซลล์มะเร็งกระดูก เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยไม่กระทบต่อเนื้อกระดูกรอบข้าง / นายสมพร กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้ทำการทดลองในผู้ป่วยมะเร็งกระดูกจำนวน 30 รายที่ศูนย์มะเร็ง จ.ลพบุรี และที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เบื้องต้นผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ แต่จะมีการสรุปผลการทดสอบที่ชัดเจนอีกครั้งในเดือนก.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ตัวยาดังกล่าว ถือเป็นตัวยาที่กำลังได้รับความสนใจจากวงการแพทย์อย่างมาก โดยถูกผลิตขึ้นจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของ สทน. คุณสมบัติของตัวยานี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสามารถค้นหาและรักษา มะเร็งในร่างกายได้โดยทันที แต่ระยะเวลาของการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน ที่สำคัญค่ารักษาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ? ครั้งละไม่เกินหมื่นบาทเท่านั้น / ผู้ป่วยมะเร็งกระดูกระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้ จำเป็นต้องมียาเพื่อบรรเทาอาการปวด สทน. มีการพัฒนายาในส่วนนี้เช่นกัน เรียกว่า SM-153- EDPMP หลักการทำงานคล้ายๆ กับตัวยา RHENIUM-188 แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า โดยไม่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ แต่จะบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง? เป็นการรักษาตามอาการเท่านั้น" นายสมพร กล่าว (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ; https://www.thairath.co.th)

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=452

อัพเดทล่าสุด