โรคกระเพาะ


621 ผู้ชม


โรคกระเพาะเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง บางท่านอาจเรียกโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาการปวดท้องที่เป็นมักสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร ความหมายของโรคกระเพาะนั้น โดยทั่วไปหมายถึงโรคแผลในกระเพาะอาหาร แต่ที่จริงแล้วโรคกระเพาะยังหมายรวมถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็ก, โรคกระเพาะอาห   

โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง บางท่านอาจเรียกโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาการปวดท้องที่เป็นมักสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร ความหมายของโรคกระเพาะนั้น โดยทั่วไปหมายถึงโรคแผลในกระเพาะอาหาร แต่ที่จริงแล้วโรคกระเพาะยังหมายรวมถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็ก, โรคกระเพาะอาหารอักเสบ และโรคลำไส้อักเสบอีกด้วย
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารนั้นมีมากมาย ซึ่งแต่ละสาเหตุจะทำให้เกิดภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป เช่นการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ในขณะท้องว่าง การรับประทานยาแก้อักเสบหรือแก้ปวดจำพวกยาที่ใช้กันในโรคกระดูกและข้อ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการตรวจพบว่ามี bacteria ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคนเราได้ bacteria ตัวนี้พบว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้

อาการโรคกระเพาะที่พบบ่อยคือ มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ แต่บางคนอาจมีอาการแน่นท้องบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ผลข้างเคียงของโรคกระเพาะที่มีอันตราย ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ และกระเพาะอาหารที่เป็นแผลทะลุทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงได้

ในกรณีที่ท่านมีอาการปวดท้องและสงสัยว่าจะเป็นโรคกระเพาะ ท่านควรรับคำปรึกษาจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากสาเหตุของการปวดท้องมีมากมาย หากยังไม่มีความแน่ใจ ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์จะซักประวัติของท่านอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น มีการตรวจร่างกายเพื่อว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริง แพทย์อาจให้การรักษาโดยให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก หรือในบางกรณีอาจมีการตรวจเพิ่มเติม โดยแพทย์อาจพิจารณาใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารหนือให้กลืนแป้งแล้วเอ็กซเรย์ เพื่อดูให้เห็นร่องรอยของแผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็กส่วนต้น จะทำให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น

่การรักษาที่สำคัญที่สุด ของโรคกระเพาะคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะนั่นเอง โดยท่านต้องรับประทานให้ตามเวลา การหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่และการระมัดระวังการรับประทานยาที่อาจมีผลต่อการทำให้มีกรดในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการระมัดระวังเรื่องความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วยเช่นกัน

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1012

อัพเดทล่าสุด