สิว ฝ้า กระ


707 ผู้ชม


สิ่งแปลกปลอมบนใบหน้า สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของหนุ่มสาว   

สิว ฝ้า กระ

สิวแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.สิวไม่อักเสบ เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน (COMEDONE) แบ่งเป็น 2 ชนิด
1.1 สิวหัวปิด เห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ หัวขาว ๆ
1.2 สิวหัวเปิด หรือสิวหัวดำ
2.สิวอักเสบ คือสิวที่หัวแดง ๆ หรือ เป็นหนอง พวกนี้ก็คือ (COMEDONE) ที่มีการติดเชื้อ(BACTERIA) แทรกซ้อน
ดังนั้น ถ้าเป็นสิวอักเสบ การทำความสะอาด ใบหน้าด้วยสบู่อ่อน ๆ และการป้องกันไม่ให้มีการอุดตันที่รูขุมขน
(COMEDONE) โดยการใช้น้ำเปล่าล้างหน้าในตอนกลางวัน ก็พอจะช่วยให้สิวลดลงหรือป้องกันไม่ให้สิวใหม่เกิดขึ้น
แต่ถ้าเป็นสิวอักเสบ คงต้องปรึกษาแพทย์ เพราะต้องใช้ปฏิชีวนะ (กินหรือทาแล้วแต่ความรุนแรงของสิว)
สิวอักเสบควรจะต้องรีบรักษา ถ้าไปแกะหรือบีบหนองออก จะเป็นรอยแผลเป็น บุ๋มตลอดไป รักษายากมาก
การนอนดึกทำให้สิวเพิ่มขึ้น ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นสิวอักเสบ อาจเป็นเพราะ
1.ร่างกายอ่อนแอ เชื้อ Becteria ในสิวทำให้มีการอักเสบมากขึ้น
2.Hormone เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะใน ผู้หญิง ตัวอย่างเช่น บางคนประจำเดือน หรือขณะตั้งครรภ์
จะมีสิวเพิ่มขึ้น
การรักษาสิวมีหลักง่ายๆ 2 วิธี คือ
1. ถ้าเป็นสิวเม็ดเล็กๆ จำนวนไม่มาก ก็ทำความสะอาดผิวหนังและใช้ยาทารักษาสิวบ้างเป็นบางครั้ง
2. ถ้าเป็นสิวอักเสบเม็ดใหญ่ๆ หลายๆเม็ด ก็ต้องรับประทานยาแก้อักเสบร่วมด้วย
การจะใช้ยาทา หรือ ยารับประทานแบบไหนคงต้องปรึกษาแพทย์อีกครั้งหนึ่ง

ฝ้าแบ่งง่ายๆเป็น 2 ชนิด 
1. แบบตื้น (Superficial type) ลักษณะเป็นสีน้ำตาลขอบชัด ขึ้นเร็ว หายเร็ว รักษาโดยการใช้ยาทาฝ้าอ่อนๆและยากันแดด
สามารถหายได้
2. แบบลึก (Deep type) ลักษณะเป็นสีม่วงๆอมน้ำเงิน ขอบเขตไม่ชัด ไม่หายขาด
การทายาฝ้าอ่อนๆและยากันแดดพอทำให้ดีขึ้นได้
ข้อแนะนำ 
1. คนเป็นฝ้าไม่ควรใช้ยาเอง เพราะอาจได้รับยาฝ้าที่แรงเกินไป ทำให้เกิดผลข้างเคียง และเกิดการติดยา
หยุดยาไม่ได้
2. แสงแดดทำให้เป็นฝ้า และทำให้ฝ้าเห่อขึ้นได้ เพราะฉะนั้น คนเป็นฝ้าต้องใช้ยากันแดด (SPF > 15
เป็นอย่างน้อย และหลีกเลี่ยง แสงแดดเสมอ

ส่วนพวกที่ว่าหายแล้วเป็นใหม่แสดงว่าหายเพราะทายา พอหมดฤทธิ์ยา ก็กลับเป็นใหม่ พวกนี้เป็นชนิดที่ต้องใช้ยาทาไปเรื่อย ๆ ส่วนเรื่องฤทธิ์แทรกซ้อน จากการใช้ยาขึ้นอยู่กับใช้ยาชนิดใด บางชนิดใช้แล้วหน้าแดงและเป็นสิว ปัจจุบันมียาที่มีฤทธิ์แทรกซ้อนน้อยลง

สาเหตุของการเกิดฝ้า คือ

จากพันธุกรรม ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและสีผิว ชนชาติผิวขาว เช่น คนยุโรป ไม่ค่อยเป็นฝ้าส่วนคนผิวคล้ำ เช่น คนนิโกร คนอินเดีย ไม่พบปัญหาเรื่องฝ้า ถึงเป็นก็คงมองไม่เห็นเพราะผิวสีคล้ำอยู่แล้ว

เป็นผลจากฮอร์โมน ส่วนใหญ่เป็นในคนอายุกลางคน เลยวัยรุ่น ไปแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้นมีโอกาสที่เป็นมากขึ้น ผลจากฮอร์โมนที่เห็นได้ชัด คือการเกิดฝ้าในคนท้องหรือขณะกินยาคุม ภายหลังคลอดหรือ หยุดยา ฝ้าจะค่อย ๆ จางลง แต่มีบางรายถึงแม้สาเหตุหมดไปแล้วแต่ฝ้ายังคงอยู่

เป็นผลจากแสงแดด เนื่องจากแดดมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นเซลล์ ผิวหนังให้สร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น แสงแดดอาจไม่ใช่สาเหตุของฝ้าโดยตรง ผู้ที่ตากแดดจัดบางคนก็ไม่เกิดฝ้า แต่แสงแดดมีผล ทำให้ฝ้าเป็นมากขึ้น คือสีเข้มขึ้น

เป็นผลจากการใช้เครื่องสำอาง เครื่องสำอางบางชนิดมีสารที่ ทำให้ผิวดำเมื่อถูกแสง ได้แก่สารโซลาเรน สารดังกล่าวพบอยู่ใน น้ำหอมบางชนิด ในเครื่องสำอางสมุนไพร การรักษาฝ้าให้หายขาด จึงขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุ ถ้าเป็นฝ้าชนิดพันธุกรรมและ ฮอร์โมน จะเป็นชนิดที่รักษายาก ถ้าเป็นชนิดเกิดจากฮอร์โมนในหญิงมีครรภ์ ยาคุม แสงแดด และเครื่องสำอาง อาจรักษาให้หายขาดได้

หลักการรักษาฝ้า

ในปัจจุบันนิยมใช้ตัวยาฟอกสีผิวร่วมกับสารป้องกันแสงแดด ยาฟอกสีผิว มีหลายชนิด เช่น ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ กรดอาเซลิก กรดโคจิก บีเอชเอ เอเอชเอ สารเหล่านี้ทำให้ฝ้าจางลงแต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจมีฤทธิ์แทรกซ้อน มีหน้าแดงจัด ถ้ายิ่งโดนแดดจะกลับหน้าดำและเกิดจุดด่างขาวและมีสิวขึ้นสารบีเอช เอหรือเอเอชเอมีฤทธิ์ทำให้เซลล์ชั้นนอกของผิวหลุดลอกออก ทำให้ สีผิวจางลง ได้ผลดีชั่วคราวเมื่อหยุดฤทธิ์ยาก็จะกลับสภาพ เดิม ทำให้ต้อง ลอกบ่อย ๆ ถ้าใช้ความเข้มข้นสูงทำให้ระคายเคืองมาก

สมัยหนึ่งมีผู้นิยมใช้สารคอร์ติโคสตีรอยด์ซึ่งทำให้ฝ้าจางลงได้ก็จริง แต่เมื่อใช้ไปสักพักจะมีฤทธิ์แทรกซ้อนทำให้เกิดเป็นสิว ผิวหน้าบางลงจนเห็น เส้นเลือดเป็นร่างแหอยู่ใต้ผิวและมีขนขึ้นบริเวณที่ทายา เนื่องจากฤทธิ์แทรก ซ้อนดังกล่าว ยาตัวนี้จึงไม่ควรนำมาใช้บนใบหน้า การใช้สารป้องกันแดด เป็นการช่วยป้องกันฝ้าได้มาก

ผู้ที่เป็นฝ้าเล็กน้อยอาจใช้ยากันแดดอย่างเดียว ฝ้าจะจางลงได้ ขณะเดียวกันจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมีฝ้าขึ้นมาใหม่ การใช้ ยาลอกฝ้าที่มีฤทธิ์รุนแรงอาจทำให้ผิวเสียได้มาก ถ้ารักษาไม่หายอาจหันมา ใช้ วิธีปกปิดรอยฝ้าด้วยเครื่องสำอาง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาคุณภาพ จนใช้ ประโยชน์ได้ดีและไม่ทำลายผิวพรรณ 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1014

อัพเดทล่าสุด