ยืนยันการเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพิ่มอีก 1 คน ส่งผลให้ยอดรวมการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 3 คนแล้ว นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงที่
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
จากกรณีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) แพร่ระบาดไปทุกทวีปทั่วโลก จนมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้ว กว่า 59,814 ราย ใน 113 ประเทศ เสียชีวิต 263 ศพ โดยองค์การอนามัยโลก (ฮู) ต้องประกาศยกระดับการเตือนภัยการแพร่ระบาดขึ้นสู่ระดับ 6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ในรอบ 41 ปี
ในส่วนประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุข ประกาศขึ้นทะเบียนผู้ป่วยทั่วประเทศแล้ว
ถึง 1,289 รายใน 38 จังหวัด โดยล่าสุดมีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สังเวย เสียชีวิตไปแล้ว 3 ศพ
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
ช่วงชั้นที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 เรื่อง ข่าวสารเพื่อสุขภาพผู้บริโภค
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มฐ.พ. 4.1 ข้อ 3 - วิเคราะห์และเรียกใช้ข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพได้
อย่างเหมาะสม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
มฐ.พ. 4.1 ข้อ 2 - วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
สุขภาพและการป้องกันโรค
- มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
ของท้องถิ่น
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
มี ผู้ป่วยยืนยันการเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพิ่มอีก 1 คน ส่งผลให้ยอดรวมการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 3 คนแล้ว นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงที่ สธ.เมื่อสายวันที่ 29 มิถุนายน ว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 3 ของประเทศ เป็นชายอายุ 21 ปี นักเรียนจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา รักษาที่โรงพยาบาล (รพ.) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.สัตหีบ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ และเสียชีวิตเวลา 08.45 น. ใน วันเดียวกันนี้
นพ. ปราชญ์แถลงว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 เพิ่มอีก 41 ราย เป็นนักเรียน 29 ราย เดินทางมาจากต่างประเทศ 4 ราย อยู่ระหว่างติดตาม 8 ราย
รวมยอดผู้ป่วยสะสม 1,330 ราย หายเป็นปกติแล้ว 1,309 ราย ยังพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอีก 18 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย เป็นชายอายุ 47 ปี
ไม่มีโรคประจำตัว แต่มีพฤติกรรมเสี่ยงเกี่ยวข้องกับสุราและบุหรี่ ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำลง ประกอบกับทำงานหนัก พักผ่อนน้อย อาการล่าสุดมีปอดบวม ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่ไข้ลดลงแล้ว
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 11 กรมการแพทย์ สธ. กล่าวว่า อัตราผู้เสียชีวิตของไทย อยู่สัดส่วนผู้ป่วย 1,000 คน เสียชีวิต 2 คน
ต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาที่ผู้ป่วย 1,000 คน เสียชีวิต 4 คน สำหรับผู้ป่วยที่เสียชีวิต รายที่ 3 มีปัจจัยเสี่ยงคือ เป็นโรคอ้วนมีน้ำหนักตัวเกิน 100 กิโลกรัม ซึ่งทางการแพทย์พบว่า
โรคอ้วนเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาวะการทำงานของปอดต่ำกว่าปกติ เหมือนคนเป็นโรคปอดเรื้อรัง เพราะคนอ้วนต้องใช้ออกซิเจนเลี้ยงร่างกายมากกว่าคนปกติ ทำให้ปอดทำงานหนัก ปัจจัยสำคัญอีกประการคือ การออกกำลังกาย หากมีการฝึกในช่วงที่เริ่มป่วยอาจทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น ปอดทำงานหนักมากขึ้น ทำให้อาการทรุด
ขณะนี้พบว่าในสหรัฐเป็นช่วง ฤดูร้อน การพบเชื้อร้อยละ 99 จะเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่ในประเทศไทย เข้าสู่ฤดูฝนซึ่งมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลร่วมด้วย ซึ่งแต่ละปีจะพบการรายงานอัตราตาย 320 คนต่อปี แต่คาดว่าจะมีการเสียชีวิตจริง 3,000-4,000 คน ทำให้พบเชื้อทั้งตัวเก่า ตัวใหม่ ซึ่งแยกจากกันได้ยาก
เพราะความรุนแรง อาการของโรคใกล้เคียงกันมาก รวมถึงวิธีการรักษาที่เหมือนกัน ส่วนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะเพิ่มเติมเพียงมีการให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดการกระจายของโรค
ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสามารถให้ยาในหญิงตั้งครรภ์ได้ เพราะมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ เนื่องจากการให้ยาทุกชนิดในหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงทั้งสิ้น" รศ. (พิเศษ) นพ.ทวีกล่าว
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
โดยไม่ยอมไปหาหมอ จากนั้นไปยิงปืนในวันที่ 17 มิถุนายน จนทำให้อาการแย่ลง ต้องไปหาหมอในวันที่ 19 มิถุนายน จากนั้นได้นำตัวส่งโรงพยาบาลอาพากร จนเมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงส่งตัวไปยังโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ หลังเข้าตรวจที่ห้องไอซียู พบว่า ทหารดังกล่าวติดเชื้อในปอด ทางโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ติดต่อแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราชให้มา ช่วยรักษา ซึ่งเรื่องนี้ทาง ผบ.ทร.ได้สั่งการให้ดูแลเป็นพิเศษแต่ ปรากฏว่าพลทหารดังกล่าวมีอาการติดเชื้อในปอดอย่างรุนแรงจนกระทั่งหัวใจเกิด ล้มเหลวและเสียชีวิตเมื่อเวลา 08.45 น.ของวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา
ขณะนี้พลทหารจำนวนกว่า 500 นาย มีอาการน้ำมูกไหล แต่ไม่มีไข้แล้วทางเราได้เฝ้าดูอาการอยู่ โดยได้กักบุคคลที่มีอาการไว้เป็น 7 วัน เพราะไม่ต้องการให้ไปแพร่เชื้อ
ซึ่งพลทหารทั้งหมดจำนวน 4,200 คน ไม่มีใครเป็นไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 เพียงแต่ขณะนี้แยกออก มาเพื่อเฝ้ารอดูอาการ คาดว่าอีก 2 วันจะกลับมาฝึกใหม่ได้" น.อ.นพดลกล่าว
ทั้ง นี้ น.อ.นพดลมอบเงินช่วยเหลือมารดาของ พลทหารที่เสียชีวิต 1 แสนบาท ส่วนพลทหารใหม่ที่ติดเชื้อ 200 กว่านายนั้น ทั้งหมดไม่มีอาการไข้แล้ว โดย 2-3 วันนี้
จะพ้นจากการควบคุมเฝ้าดูอาการของแพทย์แล้ว
น.อ.สุรพล ชัชวาลวานิช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ แถลงว่า จากการตรวจพบว่ามีเชื้อติดปอดอย่างรุนแรงทั้ง 2 ด้าน หัวใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา และให้ยาต้านไวรัสอย่างเต็มที่ ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นสลับกับเลวลงเป็นระยะและเสียชีวิตในเวลา 08.45 น.
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ทางด้านนาง ทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวล่าสุดได้รับรายงานว่าครูโรงเรียนประชานิเวศน์ ฝ่ายมัธยม อายุ 35 ปี เสียชีวิตจากอาการปอดติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยเข้ารักษาตัวตามแพทย์นัดเพื่อขูดมดลูก ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่แพทย์พบว่ามีอาการไอมาก จึงตรวจร่างกายเพิ่มพบว่ามีอาการ ปอดติดเชื้อ จึงให้นอนพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ. รามาธิบดี กระทั่งเสียชีวิต เมื่อวันที่
27 มิถุนายน
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ในประเทศออสเตรเลียเพิ่มอีก 2 ราย เป็นชายอายุ 50 ปี และ 85 ปี ซึ่งมีอาการป่วยด้วยโรคอื่นอยู่ก่อนแล้วก่อนที่จะมาติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และเสียชีวิตลงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาในรัฐวิคตอเรียของออสเตรเลียทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ในประเทศออสเตรเลียที่มีแล้วทั้งสิ้น 7 รายนั้น พบว่า ทุกรายมีอาการป่วยของโรคอื่น ที่หนักอยู่ก่อนแล้วนอกจากการติดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ อย่างไรก็ดี ทางการออสเตรเลียยังไม่พบว่าไวรัสสายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตโดยตรง ของผู้เสียชีวิตทั้ง 7 รายนี้
แต่อย่างใด อ้างอิง : นสพ.มติชน 30 มิ.ย.52
ประเด็นคำถาม
1. นักเรียนบอกได้ไหมว่า ไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นโรคติดต่อ เพราะอะไร
2. การปฏิบัติตนอย่างไร ที่นักเรียนคิดว่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ
ไข้หวัดใหญ่ 2009
3. นักเรียนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวไข้หวัดใหญ่ 2009
ได้จากที่ไหน
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย การอ่านจับใจความ การสรุปบทความในข่าว
2. คณิตศาสตร์ เขียนโจทย์และสัญลักษณ์ วิธีบวกและลบ เกี่ยวกับผู้ป่วย
โรคไข้หวัดใหญ่ 2009
3. สังคมศึกษา สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1046