มีสถิติผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายหยุดยากหรือ "เหงื่อออกเป็นเลือดออกตามรูขุมขนของผิวหนัง" มี 66 คน ประเทศบราซิลพบ 4 คน จีนก็พบไม่มาก ยุโรปก็มี ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ค่อยได้และเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงอายุก่อนมีประจำเดือน
มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรมีพฤติกรรม การดูแลสุขภาพในระดับปานกลาง เกือบ 1 ใน 3
มีพฤติกรรม การดูแลสุขภาพในระดับสูง และมีเพียงเล็กน้อยที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับต่ำ ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับสูงมากกว่าเกือบ 2 เท่าของผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขต-เทศบาล(ร้อยละ 42.0 และร้อยละ 23.8 ตามลำดับ) ประชากรในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับสูง รองลงมา คือภาคใต้ ภาคกลาง (ไม่รวม กทม.) ภาคเหนือ และภาคตะวันออก-เฉียงเหนือมีสัดส่วนต่ำที่สุด 5 จังหวัดแรกที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับสูงมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี รองลงมาคือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดระนอง สำหรับจังหวัดที่มีสัดส่วนของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับต่ำ 5 จังหวัดแรกได้แก่จังหวัดหนองบัวลำภู รองลงมาคือจังหวัดแม่ฮ่องสอน จ ังหวัดเชียงราย จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัด ศรีสะเกษ แหล่งช้อมูล :www.nso.go.th
ช่วงชั้นที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 เรื่อง การป้องกันโรค
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มฐ.พ. 4.1 ข้อ 2 - วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
สุขภาพและการป้องกันโรค
- มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
ของท้องถิ่น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพเพื่อความปลอดภัย
มฐ.พ. 5.1 ข้อ 2 - รู้และเข้าใจอันตรายจากการใช้ยาในทางที่ผิด
และการใช้สารเสพติดที่มีผลต่อสุขภาพ
น้องแตม"เด็กเลือดออกตา-ปาก-จมูกถึงมือแพทย์ร.พ. ศิริราชแล้ว ระดมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ช่วยวิเคราะห์สาเหตุ และหาสิ่งผิดปกติในร่างกายเพราะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เบื้องต้นพบคล้ายกับโรค"เหงื่อออกเป็นเลือด" ในโลกนี้มีผู้ป่วยเพียง 66 ราย
ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ในเมืองไทยเจอก่อนหน้านี้ 1 รายเมื่อ 2 ปีก่อน เป็นเด็กสาววัย 14 ปี เคยมารักษาที่ศิริราชจนแทบหายขาดแล้ว หมอเผยอาการจะหนักกว่านี้เพราะมีเลือดออกเกือบทั้งตัว ให้ยาและตามดูอาการอย่างใกล้ชิดปัจจุบันเลือดไม่ออกอีกเลย พ่อน้องแตมมั่นใจลูกมีโอกาสหายจากโรคพิสดาร
เมื่อเวลา 09.20 น. วันที่ 2 ก.ค. ด.ญ.มันธนัน หรือน้องแตม อรุณจันทร์ภักดี อายุ 11 ขวบ
นักเรียนชั้นป.4 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร จ.สกลนคร บุตรสาว พ.ต.อ.จีรัฐติกุล อรุณจันทร์ภักดี ผกก. สภ.หนองหิน จ.เลย ป่วยเป็นโรคประหลาด มีเลือดไหลออกทางจมูก ตา ปาก และบางครั้งมีอาการตามองไม่เห็นและหมดสติ เดินทางมาถึงร.พ.ศิริราชเพื่อเข้ารับการรักษาตัวและตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ของอาการ
เมื่อน้องแตมมาถึงร.พ.พร้อมกับคุณพ่อนั้น น้องแตมมีสภาพร่างกายซีด อิดโรยเพลียๆ และบ่นว่าปวดศีรษะ โดยเดินทางมาที่ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี เพื่อทำประวัติและเข้าพบผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์ วีรกุล
หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา และรองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ร.พ.ศิริราช รวมทั้งคณะแพทย์เชี่ยวชาญแต่ละด้าน ที่ห้องตรวจชั้นล่างของตึก แพทย์ตรวจร่างกาย เจาะเลือด และซักประวัติถึงสาเหตุของอาการที่เป็นประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นได้ให้ไปนอนพักเพื่อสังเกตอาการ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 15
หัวหน้าสาขาโรคผิวหนัง ภาควิชากุมารเวชฯ ผศ.น.พ.ธีระ ฤชตระกูล สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ ร่วมกันแถลงข่าว
โดยศ.คลินิกน.พ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า ในนามของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อยากบอกว่า โรคที่น้องแตมเป็นนั้นไม่ได้ใหม่ เพราะที่ร.พ.ศิริราชเคยมีคนไข้กลุ่มอาการลักษณะคล้ายๆ กันเกิดขึ้นมาแล้วและรักษาตัวที่ร.พ.เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันอาการก็ดีขึ้นคิดว่าถ้าน้องแตมได้รับการตรวจอย่างละเอียดนั้นจะทำ ให้ทราบอย่างแน่นอนว่าเป็นโรคชนิดไหน หรืออาจจะคล้ายกับคนไข้ที่เราเคยดูแลมาแล้วก็ได้ ซึ่งผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญดูแลด้านเด็กและทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคเลือดจะดูแลเฝ้าสังเกตและติดตามอาการ ของน้องแตมอย่างใกล้ชิด
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลกล่าวอีกว่า อยากฝากบอกประชาชนทั่วไปว่าไม่ใช่เฉพาะโรคที่น้องแตมเป็นเท่านั้นโรคอื่นๆ ด้วยที่สามารถป้องกันได้ ยิ่งถ้ารู้แต่แรกสามารถรักษาให้หายขาด เช่น มะเร็งระยะแรก เป็นต้น จึงอยากให้ประชาชนดูแล ตรวจเช็กสุขภาพอยู่เสมอ
ด้านผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์กล่าวว่า เบื้องต้นเราพบน้องแตมมีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจเป็นเพราะว่านอนดึกตื่นเช้า รวมทั้งยังมีอาการซีด และวันนี้พบว่ายังไม่มีเลือดออกบริเวณใดเลย แต่มีอาการปวดศีรษะอยู่บ้าง แต่จากการตรวจอาการทั่วๆ ไปพบว่ายังไม่มีอาการผิดปกติที่รุนแรง
เช้านี้เราซักประวัติทั้งหมดอย่างละเอียดจากคุณพ่อ รวมทั้งมีคณะแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางแต่ละโรคมาดูอย่างใกล้ชิดหลายคน และเจาะเลือดเพื่อตรวจหาความผิดปกติการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเกล็ดเลือด น่าจะได้ผลเบื้องต้นบางประการ สำหรับโรคนี้ทางโรงพยาบาลมีประสบการณ์มาแล้วเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยผศ.พ.ญ.วาณี เป็นผู้ดูแลคนไข้ที่ถือว่าพบเป็นรายแรก
ส่วนน้องแตมมีอาการคล้ายๆ กันแต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคเดียวกันหรือไม่ ต้องรอตรวจเช็กอย่างละเอียดอีกครั้ง
ผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์กล่าวต่อว่า จากรายงานวารสารทางการแพทย์ต่างประเทศที่รวบรวมจากหลายๆ แห่งทั่วโลก พบว่า มีสถิติผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายหยุดยากหรือ "เหงื่อออกเป็นเลือดออกตามรูขุมขนของผิวหนัง" มี 66 คน ประเทศบราซิลพบ 4 คน จีนก็พบไม่มาก ยุโรปก็มี ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ค่อยได้และเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงอายุก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่มาจากฮอร์โมนก่อนมีประจำเดือนก็ได้ เพราะเด็กที่พบตั้งแต่อายุ 11-14 ปี ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเครียดใดๆ ก็ตามอาจจะมีผลต่อฮอร์โมน มีบางรายงานที่พบความผิดปกติที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นเกี่ยวกับฮอร์โมนก่อนมี ประจำเดือนแต่ก็ไม่ได้พบทุกราย อาจเป็นกลุ่มโรคที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น โรคไมเกรน ที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้ นอกจากนี้รายงานทางการแพทย์ยังไม่ระบุไว้ว่ามีเด็กหรือผู้ใหญ่เสียชีวิตจาก การเป็นโรคดังกล่าวไว้เลย
สาเหตุโรคนี้มีหลายกลุ่มและหลายเหตุ อาจเป็นเกี่ยวกับเส้นเลือด บางคนก็เป็นเรื่องฮอร์โมนบางคนก็เป็นจากยา ถ้าเป็นในผู้ใหญ่ก็มักจะเกิดจากยา ส่วนเลือดออกที่ตาก็มีพบกลุ่มเส้นเลือดผิดปกติตามร่างกาย สำหรับกรณีน้องแตมคงจะไม่ถึงกับต้องให้เลือด อาจจะใช้ยา ส่วนที่ถามว่าน้องแตมจะต้องอยู่ร.พ.อีกกี่วันนั้นเราคงต้องดูอาการไปเรื่อยๆ เมื่อผลเลือดออกแล้วคงต้องเอกซเรย์ดูอาการว่าเลือดออกเป็นอย่างไร อะไรก่อให้เกิดอาการ ผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์ กล่าว
เมื่อถามว่าครอบครัวของน้องแตมมีเรื่องเล่าว่าเลือดจะออกเฉพาะวันพระบ้างวัน โกนบ้าง
และเชื่อเรื่องของเวรกรรมในมุมมองทางหลักวิทยาศาสตร์นั้น ผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์กล่าวว่า
ในทางพุทธศาสนานั้นเชื่อว่าเรื่องเวรกรรมมีจริง แต่ในหลักวิทยาศาสตร์ต้องตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนต่อไป เพราะเมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล
ด้านผศ.พ.ญ.วาณีกล่าวว่า สำหรับคนไข้ที่เคยมารักษาตัวที่ร.พ.แล้วซึ่งมีอาการโรคคล้ายๆ กับน้องแตมนั้นเป็นเพศหญิง ปัจจุบันอายุ 16 ปี แต่ตอนที่มารักษาอายุ 14 ปี อยู่จ.เพชรบุรี เขาจะมีเลือดออกที่บริเวณผิวหนัง ฝามือ หนังศีรษะ ปาก ตา ฟัน คล้ายๆ กับน้องแตม โดยจะออกเป็นพักๆ ก่อนที่เลือดจะไหลออกมาคนไข้บอกว่ารู้สึกร้อนบริเวณต่างๆ ที่เลือดไหล ซึ่งโรคที่คนไข้เป็นนั้นในภาษาไทยเรียกว่า "โรคภาวะที่คนไข้เหงื่อออกเป็นเลือด" หรือศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า ฮีมาทิดรอซิส "Hematidrosis"
ผศ.พ.ญ.วาณีกล่าวต่อว่า เราจึงได้รับคนไข้คนนี้ไว้ในโรงพยาบาลซึ่งเราได้ตรวจร่างกายและตรวจเพิ่ม เติมอีกหลายอย่างก็ไม่พบความผิดปกติระบบใดระบบหนึ่ง หลังจากนั้นเราให้การรักษาดูแลคนไข้จนปัจจุบันอาการคนไข้เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีเลือดออกอีกเลยการรักษาจะใช้ยา ส่วนที่ถามว่าโรคนี้สามารถรักษาหายนั้นขอบอกว่าไม่แน่ใจว่ารักษาหายหรือว่า มันหายเอง อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีน้องแตม อยากบอกว่าอย่างน้อยเรามีแนวทางการรักษาตรวจวินิจฉัย ส่วนกรณีคนไข้รายนั้นเราตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่าไม่มีสิ่งผิดปกติในระบบเลือด แต่น้องแตมนั้นเราไม่รู้ว่าระบบเลือดเป็นอย่างไร ต้องขอเวลาในการตรวจสักระยะหนึ่งก่อนถึงจะบอกหรือระบุลงไปได้
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ผศ.พญ.วาณีกล่าวอีกว่า กรณีคนไข้รายเก่าเราระดมคุณหมอของร.พ.จำนวนมากเพื่อมาหาสาเหตุ ก็ตรวจไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน และคนไข้มีอาการดีขึ้นเอง ส่วนที่บอกว่าโรคนี้อาจจะมาจากสาเหตุของพันธุกรรมนั้น ดูจากรายงานหรือวารสารทางวิชาการทางการแพทย์ก็ไม่มีระบุไว้ชัดเจนว่าเกี่ยว ข้อง
คนไข้รายที่เราพบเป็นครั้งแรกนั้นพอทราบข่าวน้องแตมก็โทรศัพท์มาหา บอกว่าอยากจะมาพบน้องและให้กำลังใจว่าพี่เป็นมากกว่าน้องพี่ยังหายได้เลย จึงบอกว่าให้ใจเย็นๆ และบอกเขาว่าอาจจะให้มาหลังจากที่ทราบผลการตรวจพอสมควรแล้ว หรืออาจมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้ง" ผศ.พญ.วาณีกล่าว และว่า สำหรับการรักษานั้นไม่ใช่ว่าเรารักษา 2 ปีแล้วดีขึ้น แต่อาจเป็นเพราะเราให้ยา พอเราไม่ให้ยาเลือดก็ออกมาอีก เราก็ให้ยาต่อและคนไข้ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันคนไข้ก็ไม่มีเลือดออกอีกเลย อย่างไรก็ตาม สันนิษฐานเบื้องต้นจากการที่ฟังประวัติและประสบการณ์ที่เคยรักษามาคิดว่า กรณีน้องแตม เลือดอาจจะออกมาจากเยื่อบุจากหลายๆ บริเวณ เช่น ดวงตา ปาก จมูก เป็นต้น ลักษณะอาการทั่วไปจากประวัติที่เคยตรวจรักษามานั้นอาการคล้ายกันมาก
พ.ต.อ.จีรัฐติกุล บิดาของน้องแตม กล่าวว่า รู้สึกขอบคุณทุกๆ คนที่ให้กำลังใจตนและลูก การที่พาลูกมารักษาที่ร.พ.ศิริราชเพราะมั่นใจว่าลูกจะหาย และตอนนี้ก็ไม่หนักใจแล้ว จุดสุดยอดของตนคือมาถึงมือหมอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ไม่ได้หมายความว่าหมอที่รักษาก่อนหน้านั้นจะไม่เก่ง แต่อาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะก็ได้ ตอนนี้ถอดใจแล้วว่า ถ้าลูกจะหายหรือไม่หาย จะตายก็ถือว่าได้ทำหน้าที่ของพ่ออย่างดีที่สุดแล้ว ตอนนี้ผู้บังคับบัญชาทราบข่าวก็ให้กำลังใจและเห็นใจ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :วันที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6791 ข่าวสดรายวัน
ประเด็นคำถาม
1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคมีผลดีอย่างไร
2. ฉลากยาบอกอะไรนักเรียนได้บ้าง
3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการใช้ยาผิดจะมีผลโดยตรงต่อเราอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและยา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย การอ่านจับใจความ การสรุปบทความในข่าว
2. วิทยาศาสตร์ สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า
3. สังคมศึกษา สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1102
มีพฤติกรรม การดูแลสุขภาพในระดับสูง และมีเพียงเล็กน้อยที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับต่ำ ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับสูงมากกว่าเกือบ 2 เท่าของผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขต-เทศบาล(ร้อยละ 42.0 และร้อยละ 23.8 ตามลำดับ) ประชากรในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับสูง รองลงมา คือภาคใต้ ภาคกลาง (ไม่รวม กทม.) ภาคเหนือ และภาคตะวันออก-เฉียงเหนือมีสัดส่วนต่ำที่สุด 5 จังหวัดแรกที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับสูงมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี รองลงมาคือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดระนอง สำหรับจังหวัดที่มีสัดส่วนของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับต่ำ 5 จังหวัดแรกได้แก่จังหวัดหนองบัวลำภู รองลงมาคือจังหวัดแม่ฮ่องสอน จ ังหวัดเชียงราย จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัด ศรีสะเกษ แหล่งช้อมูล :www.nso.go.th
การเจ็บป่วยใครเลยที่อยากจะเป็น เมื่อเป็นแล้วก็ต้องยอมรับและหาทางรักษา
เพื่อให้ชีวิตอยู่ได้อย่างคนปกติ เช่นเดียวกับ น้องแตม คนนี้
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)เพื่อให้ชีวิตอยู่ได้อย่างคนปกติ เช่นเดียวกับ น้องแตม คนนี้
ช่วงชั้นที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 เรื่อง การป้องกันโรค
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มฐ.พ. 4.1 ข้อ 2 - วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
สุขภาพและการป้องกันโรค
- มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
ของท้องถิ่น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพเพื่อความปลอดภัย
มฐ.พ. 5.1 ข้อ 2 - รู้และเข้าใจอันตรายจากการใช้ยาในทางที่ผิด
และการใช้สารเสพติดที่มีผลต่อสุขภาพ
น้องแตม"เด็กเลือดออกตา-ปาก-จมูกถึงมือแพทย์ร.พ. ศิริราชแล้ว ระดมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ช่วยวิเคราะห์สาเหตุ และหาสิ่งผิดปกติในร่างกายเพราะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เบื้องต้นพบคล้ายกับโรค"เหงื่อออกเป็นเลือด" ในโลกนี้มีผู้ป่วยเพียง 66 ราย
ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ในเมืองไทยเจอก่อนหน้านี้ 1 รายเมื่อ 2 ปีก่อน เป็นเด็กสาววัย 14 ปี เคยมารักษาที่ศิริราชจนแทบหายขาดแล้ว หมอเผยอาการจะหนักกว่านี้เพราะมีเลือดออกเกือบทั้งตัว ให้ยาและตามดูอาการอย่างใกล้ชิดปัจจุบันเลือดไม่ออกอีกเลย พ่อน้องแตมมั่นใจลูกมีโอกาสหายจากโรคพิสดาร
เมื่อเวลา 09.20 น. วันที่ 2 ก.ค. ด.ญ.มันธนัน หรือน้องแตม อรุณจันทร์ภักดี อายุ 11 ขวบ
นักเรียนชั้นป.4 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร จ.สกลนคร บุตรสาว พ.ต.อ.จีรัฐติกุล อรุณจันทร์ภักดี ผกก. สภ.หนองหิน จ.เลย ป่วยเป็นโรคประหลาด มีเลือดไหลออกทางจมูก ตา ปาก และบางครั้งมีอาการตามองไม่เห็นและหมดสติ เดินทางมาถึงร.พ.ศิริราชเพื่อเข้ารับการรักษาตัวและตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ของอาการ
เมื่อน้องแตมมาถึงร.พ.พร้อมกับคุณพ่อนั้น น้องแตมมีสภาพร่างกายซีด อิดโรยเพลียๆ และบ่นว่าปวดศีรษะ โดยเดินทางมาที่ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี เพื่อทำประวัติและเข้าพบผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์ วีรกุล
หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา และรองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ร.พ.ศิริราช รวมทั้งคณะแพทย์เชี่ยวชาญแต่ละด้าน ที่ห้องตรวจชั้นล่างของตึก แพทย์ตรวจร่างกาย เจาะเลือด และซักประวัติถึงสาเหตุของอาการที่เป็นประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นได้ให้ไปนอนพักเพื่อสังเกตอาการ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 15
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ต่อมาเวลา 11.00 น. ศ.คลินิกน.พ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมด้วยคณะทีมแพทย์ประกอบด้วย ผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์, ผศ.พ.ญ.วาณี วิสุทธิเสรีวงศ์ หัวหน้าสาขาโรคผิวหนัง ภาควิชากุมารเวชฯ ผศ.น.พ.ธีระ ฤชตระกูล สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ ร่วมกันแถลงข่าว
โดยศ.คลินิกน.พ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า ในนามของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อยากบอกว่า โรคที่น้องแตมเป็นนั้นไม่ได้ใหม่ เพราะที่ร.พ.ศิริราชเคยมีคนไข้กลุ่มอาการลักษณะคล้ายๆ กันเกิดขึ้นมาแล้วและรักษาตัวที่ร.พ.เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันอาการก็ดีขึ้นคิดว่าถ้าน้องแตมได้รับการตรวจอย่างละเอียดนั้นจะทำ ให้ทราบอย่างแน่นอนว่าเป็นโรคชนิดไหน หรืออาจจะคล้ายกับคนไข้ที่เราเคยดูแลมาแล้วก็ได้ ซึ่งผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญดูแลด้านเด็กและทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคเลือดจะดูแลเฝ้าสังเกตและติดตามอาการ ของน้องแตมอย่างใกล้ชิด
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลกล่าวอีกว่า อยากฝากบอกประชาชนทั่วไปว่าไม่ใช่เฉพาะโรคที่น้องแตมเป็นเท่านั้นโรคอื่นๆ ด้วยที่สามารถป้องกันได้ ยิ่งถ้ารู้แต่แรกสามารถรักษาให้หายขาด เช่น มะเร็งระยะแรก เป็นต้น จึงอยากให้ประชาชนดูแล ตรวจเช็กสุขภาพอยู่เสมอ
ด้านผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์กล่าวว่า เบื้องต้นเราพบน้องแตมมีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจเป็นเพราะว่านอนดึกตื่นเช้า รวมทั้งยังมีอาการซีด และวันนี้พบว่ายังไม่มีเลือดออกบริเวณใดเลย แต่มีอาการปวดศีรษะอยู่บ้าง แต่จากการตรวจอาการทั่วๆ ไปพบว่ายังไม่มีอาการผิดปกติที่รุนแรง
เช้านี้เราซักประวัติทั้งหมดอย่างละเอียดจากคุณพ่อ รวมทั้งมีคณะแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางแต่ละโรคมาดูอย่างใกล้ชิดหลายคน และเจาะเลือดเพื่อตรวจหาความผิดปกติการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเกล็ดเลือด น่าจะได้ผลเบื้องต้นบางประการ สำหรับโรคนี้ทางโรงพยาบาลมีประสบการณ์มาแล้วเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยผศ.พ.ญ.วาณี เป็นผู้ดูแลคนไข้ที่ถือว่าพบเป็นรายแรก
ส่วนน้องแตมมีอาการคล้ายๆ กันแต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคเดียวกันหรือไม่ ต้องรอตรวจเช็กอย่างละเอียดอีกครั้ง
ผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์กล่าวต่อว่า จากรายงานวารสารทางการแพทย์ต่างประเทศที่รวบรวมจากหลายๆ แห่งทั่วโลก พบว่า มีสถิติผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายหยุดยากหรือ "เหงื่อออกเป็นเลือดออกตามรูขุมขนของผิวหนัง" มี 66 คน ประเทศบราซิลพบ 4 คน จีนก็พบไม่มาก ยุโรปก็มี ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ค่อยได้และเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงอายุก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่มาจากฮอร์โมนก่อนมีประจำเดือนก็ได้ เพราะเด็กที่พบตั้งแต่อายุ 11-14 ปี ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเครียดใดๆ ก็ตามอาจจะมีผลต่อฮอร์โมน มีบางรายงานที่พบความผิดปกติที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นเกี่ยวกับฮอร์โมนก่อนมี ประจำเดือนแต่ก็ไม่ได้พบทุกราย อาจเป็นกลุ่มโรคที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น โรคไมเกรน ที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้ นอกจากนี้รายงานทางการแพทย์ยังไม่ระบุไว้ว่ามีเด็กหรือผู้ใหญ่เสียชีวิตจาก การเป็นโรคดังกล่าวไว้เลย
สาเหตุโรคนี้มีหลายกลุ่มและหลายเหตุ อาจเป็นเกี่ยวกับเส้นเลือด บางคนก็เป็นเรื่องฮอร์โมนบางคนก็เป็นจากยา ถ้าเป็นในผู้ใหญ่ก็มักจะเกิดจากยา ส่วนเลือดออกที่ตาก็มีพบกลุ่มเส้นเลือดผิดปกติตามร่างกาย สำหรับกรณีน้องแตมคงจะไม่ถึงกับต้องให้เลือด อาจจะใช้ยา ส่วนที่ถามว่าน้องแตมจะต้องอยู่ร.พ.อีกกี่วันนั้นเราคงต้องดูอาการไปเรื่อยๆ เมื่อผลเลือดออกแล้วคงต้องเอกซเรย์ดูอาการว่าเลือดออกเป็นอย่างไร อะไรก่อให้เกิดอาการ ผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์ กล่าว
เมื่อถามว่าครอบครัวของน้องแตมมีเรื่องเล่าว่าเลือดจะออกเฉพาะวันพระบ้างวัน โกนบ้าง
และเชื่อเรื่องของเวรกรรมในมุมมองทางหลักวิทยาศาสตร์นั้น ผศ.พ.ญ.กวิวัณณ์กล่าวว่า
ในทางพุทธศาสนานั้นเชื่อว่าเรื่องเวรกรรมมีจริง แต่ในหลักวิทยาศาสตร์ต้องตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนต่อไป เพราะเมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล
ด้านผศ.พ.ญ.วาณีกล่าวว่า สำหรับคนไข้ที่เคยมารักษาตัวที่ร.พ.แล้วซึ่งมีอาการโรคคล้ายๆ กับน้องแตมนั้นเป็นเพศหญิง ปัจจุบันอายุ 16 ปี แต่ตอนที่มารักษาอายุ 14 ปี อยู่จ.เพชรบุรี เขาจะมีเลือดออกที่บริเวณผิวหนัง ฝามือ หนังศีรษะ ปาก ตา ฟัน คล้ายๆ กับน้องแตม โดยจะออกเป็นพักๆ ก่อนที่เลือดจะไหลออกมาคนไข้บอกว่ารู้สึกร้อนบริเวณต่างๆ ที่เลือดไหล ซึ่งโรคที่คนไข้เป็นนั้นในภาษาไทยเรียกว่า "โรคภาวะที่คนไข้เหงื่อออกเป็นเลือด" หรือศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า ฮีมาทิดรอซิส "Hematidrosis"
ผศ.พ.ญ.วาณีกล่าวต่อว่า เราจึงได้รับคนไข้คนนี้ไว้ในโรงพยาบาลซึ่งเราได้ตรวจร่างกายและตรวจเพิ่ม เติมอีกหลายอย่างก็ไม่พบความผิดปกติระบบใดระบบหนึ่ง หลังจากนั้นเราให้การรักษาดูแลคนไข้จนปัจจุบันอาการคนไข้เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีเลือดออกอีกเลยการรักษาจะใช้ยา ส่วนที่ถามว่าโรคนี้สามารถรักษาหายนั้นขอบอกว่าไม่แน่ใจว่ารักษาหายหรือว่า มันหายเอง อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีน้องแตม อยากบอกว่าอย่างน้อยเรามีแนวทางการรักษาตรวจวินิจฉัย ส่วนกรณีคนไข้รายนั้นเราตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่าไม่มีสิ่งผิดปกติในระบบเลือด แต่น้องแตมนั้นเราไม่รู้ว่าระบบเลือดเป็นอย่างไร ต้องขอเวลาในการตรวจสักระยะหนึ่งก่อนถึงจะบอกหรือระบุลงไปได้
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
คนไข้รายที่เราพบเป็นครั้งแรกนั้นพอทราบข่าวน้องแตมก็โทรศัพท์มาหา บอกว่าอยากจะมาพบน้องและให้กำลังใจว่าพี่เป็นมากกว่าน้องพี่ยังหายได้เลย จึงบอกว่าให้ใจเย็นๆ และบอกเขาว่าอาจจะให้มาหลังจากที่ทราบผลการตรวจพอสมควรแล้ว หรืออาจมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้ง" ผศ.พญ.วาณีกล่าว และว่า สำหรับการรักษานั้นไม่ใช่ว่าเรารักษา 2 ปีแล้วดีขึ้น แต่อาจเป็นเพราะเราให้ยา พอเราไม่ให้ยาเลือดก็ออกมาอีก เราก็ให้ยาต่อและคนไข้ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันคนไข้ก็ไม่มีเลือดออกอีกเลย อย่างไรก็ตาม สันนิษฐานเบื้องต้นจากการที่ฟังประวัติและประสบการณ์ที่เคยรักษามาคิดว่า กรณีน้องแตม เลือดอาจจะออกมาจากเยื่อบุจากหลายๆ บริเวณ เช่น ดวงตา ปาก จมูก เป็นต้น ลักษณะอาการทั่วไปจากประวัติที่เคยตรวจรักษามานั้นอาการคล้ายกันมาก
พ.ต.อ.จีรัฐติกุล บิดาของน้องแตม กล่าวว่า รู้สึกขอบคุณทุกๆ คนที่ให้กำลังใจตนและลูก การที่พาลูกมารักษาที่ร.พ.ศิริราชเพราะมั่นใจว่าลูกจะหาย และตอนนี้ก็ไม่หนักใจแล้ว จุดสุดยอดของตนคือมาถึงมือหมอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ไม่ได้หมายความว่าหมอที่รักษาก่อนหน้านั้นจะไม่เก่ง แต่อาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะก็ได้ ตอนนี้ถอดใจแล้วว่า ถ้าลูกจะหายหรือไม่หาย จะตายก็ถือว่าได้ทำหน้าที่ของพ่ออย่างดีที่สุดแล้ว ตอนนี้ผู้บังคับบัญชาทราบข่าวก็ให้กำลังใจและเห็นใจ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :วันที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6791 ข่าวสดรายวัน
ประเด็นคำถาม
1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคมีผลดีอย่างไร
2. ฉลากยาบอกอะไรนักเรียนได้บ้าง
3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการใช้ยาผิดจะมีผลโดยตรงต่อเราอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและยา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย การอ่านจับใจความ การสรุปบทความในข่าว
2. วิทยาศาสตร์ สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า
3. สังคมศึกษา สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1102