ไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ ต่างก็เป็นโรคที่แพร่ระบาดโดยไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมาก ไวรัสเหล่านี้เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วจนยากต่อการควบคุมพวกมันมักมีกลเม็ดเด็ดพรายในการแพร่เชื้อสู่คน และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเราก็เอื้อให้พวกมันปฏิบัติการได้ง่ายขึ้น
ไวรัสฆาตกรร้ายตัวจิ๋ว
ตอนที่ 1
ไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ ต่างก็เป็นโรคที่แพร่ระบาดโดยไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมาก ไวรัสเหล่านี้เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วจนยากต่อการควบคุมพวกมันมักมีกลเม็ดเด็ดพรายในการแพร่เชื้อสู่คน และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเราก็เอื้อให้พวกมันปฏิบัติการได้ง่ายขึ้นเสียด้วยสิ ต่อไปนี้คือรูปร่างลักษณะของไวรัสต่างๆ ตลอดจนการแพร่ระบาด และการป้องกันอันตรายจากไวรัสเหล่านี้
โครงสารงของไวรัส
สายพันธุกรรม บรรจุข้อมูลที่จำเป็นต่อการสร้างไวรัส้อาไว้ ถ้าเชื้อโรคต้องการเพิ่มจำนวน มันจะต้องส่งสารพันธุกรรมไปยังเซลล์ที่มีความสามารถในการอ่านสารพันธุกรรม กฏข้อนี้แสดงให้เห็นลักษณะการใช้ชีวิตของไวรัสที่เป็นปรสิตคอยพึ่งพิงอาศัยอยู่กับสิ่งมีชืวิตอื่น
โมเลกุลเครื่องมือ ช่วยเหลือไวรัสโดยการไปกระตุ้นเซลล์ให้สามารถอ่านสารพันธุกรรมออก
แคปชิด(Capsjd) เป็นขั้นที่ประกอบไปด้วยโปรตีนช่วยปกป้องสารพันธุกรรมจากแสงอัลตร้าไวโอเลต ความร้อนหรือความหนาวเย็น เมื่อไวรัสอยู่ภายนอกของร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เปลือกหุ้ม มีไขมันเป็นส่วนประกอบ ใกล้เคียงกับที่ห่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์ พบในไวรัสบางชนิดเท่านั้น
โปรตีนบนพื้นผิว เป็นเครื่องมืสำคัญสำหรับไวรัส โปรตีนชนิดนี้ช่วยให้มันเจอกับเซลล์เป้าหมาย(เม็ดเลือด เซลล์ประสาท) และช่วยให้มันแทรกตัวเข้าไปได้
ไวรัสรูปทรงเรขาคณิต
แบคเทอริโอฟาจ(Bacteriophage)
มีตะขอและหางสำหรับฉีดสารพันธุกรรม เหมือนกับเข็มฉีดยา ไวรัสชนิดนี้ไม่จะแพร่พันธุ์สู่เซลล์ร่างกายโดยตรง แต่จะแพร่เชื้อเข้าสู่แบคที่เรียเท่านนั้น จึงเป็นที่มาของชื่อ "แบคเทอริโอฟาจ" มันสามารถเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้ทุกชนิด รวมถึงพืช สาหร่าย และเห็ดรา
ไวรัสเปลือย
ไม่มีเปลือกหุ้ม ไวรัสชนิดนี้อยู่ในอากาศได้นานพอสมควร เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของหูด เปลือกตาอักเสบ หรือโรคโปลิโอที่ทำให้เป็นอัมพาต มันมีชีวิตอย฿ในน้ำได้นานหลายสัปดาห์ และเป็นอันตรายต่อผู้ที่ดื่มเข้าไปครับ
ไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม
การที่มีเปลือกหุ้มบางๆทำให้ไวรัสพวกนี้อ่อนแอกว่าพวกอื่นๆ เมื่อเกาะอยู่ที่อ่างในห้องน้ำ หรือกลอนประตู ไวรัสชนิดนี้จะมีอันตรายอยู่นานไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่นาทีเท่านั้น กรณีนี้หมายถึงไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้า โรคเอดส์ หรือฝีดาษ
ไวรัส คืออะไรกันแน่
แด็กคิวลา หรือผีดิบซอมบี้ยังต้องชิดซ้าย เมื่อบนโลกนี้ยังมีสิ่งที่ประหลาดและเหี้ยมโหดกว่า พวกมันคือไวรัส มีมากกว่า 2,000 สายพันธ์บนโลก แต่มีเพียงประมาณ 200 สายพันธ์เท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ในจำนวนนี้ เราพบไวรัสที่เป็นสาเหตุของหูดและไข้หวัด รวมถึงพวกที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า (ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกปีละ 50,000 ราย) โรคไข้หวัดใหญ่ (มีผู้เสียชืวิตปีละ 5 แสนถึง 1 ล้านคน) หรือโรคเอดส์ (มีผู้เสยชีวิตเมื่อปี ค.ศ.2003 ถึง 3 ล้านคน)
ชื่อไวรัสมาจากภาษาลาตินที่มีความหมายว่า ยาพิษ ไม่ไช่พวกมันวางยาพิษจนเราไม่สบาย แต่เพราะพวกมันพากันบุกรุกเข้ามาอาศัยอยู่ในร่างกายของเราต่างหาก ในการแพร่พันธ์นั้นพวกมันจำเป็นต้องแทรกตัวเข้าไปในเซลล์ต่างๆของเรา จากนั้นจะเปลี่ยนเซลล์ในร่างกายให้เป็นโรงงานแม่พิมพ์ เพื่อคัดลอกไวรัสที่มีหน้าตาเหมือนกันทุกประการออกมามากกว่าพันล้านตัว ทำให้เซลล์ต่างๆไม่สามารถทำงานได้ นี่จึงเป็นระยะเริ่มแรกของโรค
ที่ประหลาดที่สุดคือ ไวรัสไม่ใช่สัตว์ เพราะพวกมันไม่มีชีวิต "เมื่ออยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์ พวกมันไม่กิน ไม่แพร่พันธ์ แต่เป็นเพียงโมเลกุลขนาดใหญ่คล้ายกับผลึกแก้ว" ฟิลิปป์ เดอ มิคโก นักไวรัสวิทยาแห่งเมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส กล่าวยืนยัน โครงสร้างของไวรัสไม่ได้ซับซ้อนอะไร (ดูภาพประกอบ) แต่พวกไวรัสสามารถแทรกผ่านเข้าสู่ร่างกายของเราเปลี่ยนรูปจนคล้ายกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กได้ พวกมันจึงเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
ไวรัสกับแบคทีเรีย แตกต่างกันอย่างไร
เรามักจัดให้พวกมันอยู่ในพวกเดียวกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ไวรัสและแบคทีเรียมีสิ่งที่คล้ายกันน้อยมาก
แบคทีเรียเป็นเซลล์ที่มีชีวิตและอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง แต่ไวรัสไม่ใช่
ไวรัสจะแพร่จำนวนอยู่ภายในเซลล์เท่านั้น แต่แบคทีเรียจะแพร่พันธ์ภายนอกเซลล์ อยู่ใน เลือด ปอด หรือลำไส้
ไวรัสไม่สะทกสะท้านต่อยาปฏิชีวนะ ต่างจากแบคทีเรียที่ทนต่อยาประเภทนี้แทบไม่ได้
แบคทีเรียสามารถสร้างสารพิษออกมาได้ แต่ไวรัสทำไม่ได้
ไวรัสที่เล็กสุดมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียถึง 300 เท่า
นี่คือไวรัสที่มาโจมตีเม็ดเลือขาว
แบคทีเรียคลอสทริเดียม โบทูลินัม(Clostridiuym botulinum) จะปล่อยสารพิษออกมาทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคโบทูลิซึม(Botulism)
ประเด็นคำถาม
1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคมีผลดีอย่างไร
2. ไวรัสจัดเป็นพวกพืช หรือสัตว์ และเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่
3. ไวรัสกับแบคทีเรีย แตกต่างกันอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากไวรัสและการป้องกันรักษา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย การอ่านจับใจความ การสรุปบทความในข่าว
2. วิทยาศาสตร์ ไวรัส และแบคทีเรียเป็นเชื้อโรคที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า
3. สังคมศึกษา สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) การศึกษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ และการป้องกันรักษา
แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ
นิตยสาร GoGenius ปีที่ 5 ฉบับที่ 50 มิถุนายน 2552
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1103