คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่กำลังเห่อซื้อวิตามินมารับประทาน เพราะอยากมีสุขภาพดี ส่วน มากจะเข้าใจผิด คิดว่าวิตามินคือ "ยาบำรุง" กินเข้าไปแล้วร่างกายจะสดชื่น แข็งแรง อายุยืน ฉะนั้น มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าวิตามินคืออะไร
ภาพจากอินเตอร์เนต
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)
สาระที่ 5 : ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5. 1: ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด
และความรุนแรง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง
1.สามารถอธิบายและปฏิบัติการใช้สารอาหาร
2.สามารถอธิบายและเลือกใช้สารอาหารที่มีประโยชน์
เนื้อหาสาระ
วิตามินไม่ใช่ยา แต่เป็นสารสกัดจากสิ่งมีชีวิต (Organic) ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ช่วยทำให้การทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย ทำงานได้โดยถูกต้อง และช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ถ้าขาดวิตามินและแร่ธาตุ ร่างกายจะหยุดทำงาน
ถ้าคุณรับประทานตาม สูตรอาหารชีวจิต ก็ไม่จำเป็นจะต้องกินวิตามินหรือแร่ธาตุเสริม แต่เนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่และชีวิตประจำวันของคุณ ที่มักจะชอบกินอาหารจำพวกแป้ง พวกน้ำตาล (เช่น เค้ก ไอศกรีม น้ำอัดลม) และของหวานเป็นประจำ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมซึ่งเต็มไปด้วยมลพิษ หรือคุณมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป คุณอาจต้องการวิตามินและแร่ธาตุเสริมบ้าง
วิตามินและแร่ธาตุประเภทแอนติออกซิแดนท์ ที่แนะนำให้รับประทานเสริมบ้าง คือ
และควรเพิ่มแร่ธาตุกับอาหารเสริมคือ
วิตามิน B1Lecithin 1,200 มิลลิกรัม หรือ 19 grain
Zinc (ธาตุสังกะสี) 60 มิลลิกรัม
มีในธัญญพืช พวกข้าว ข้าวซ้อมมือ รำข้าว ถั่วต่างๆ งา ผัก ผลไม้ ยีสต์ นม ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ไข่ กะหล่ำปลี แครอท ถั่วงอก คะน้า ผักกาดหอม มะเขือ มะเขือเทศ กระเจี๊ยบ
ประโยชน์ต่อร่างกาย มีประโยชน์ช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้หัวใจทำหน้าที่ปกติ การหมุนเวียนโลหิตดี ช่วยสร้างเม็ดเลือด ทำให้อยากอาหาร การย่อยดี บำรุงประสาท และช่วยการเผาผลาญแป้ง และน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้สมบูรณ์
อาการขาดวิตามิน ประสาทจะเสื่อม มีความรู้สึกไวต่อความเจ็บปวด ความจำเสื่อม ท้องผูก เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็ว ถ้าขาด การเผาผลาญแป้ง น้ำตาล จะไม่สมบูรณ์จะเกิดกรด เมื่อสะสมในร่างกายก็จะเกิดโรคเหน็บชา และถ้าขาดมาก จะทำให้ร่างการแคระ บวม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บปวดตามน่อง
วิตามิน B2
มี ในถั่วลิสง รำ ถั่วเหลือง มะม่วง แอ๊ปเปิ้ล กล้วย แตง คะน้า ผักกาด ถั่ว ผักเขียว ฝรั่ง นม ยีสต์ ลูกเกด นอกจากนี้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่สามารถสังเคราะห์ได้ ความคงทน ในการทำอาหารจะสูญเสียเล็กน้อย
ประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในเซลล์ ช่วยให้ออกซิเจนแก่พวกแป้ง และกรดอมิโน นักโภชนาการบอกว่า ถ้ากินบี 2 กับแคลเซียม จะทำให้อายุยืนกว่าปกติ 10% และถ้ากินมากจะป้องกันโรคเท้าเนื่องจากเชื้อรา โรคผิวหนัง โรคแพ้ ผื่นแดง
อาการขาดวิตามิน การย่อยอาหารจะไม่ดี การสร้างโลหิตไม่สมบูรณ์ มีอาการแสบตา มุมปากแตก ตาไม่สู้แสง เท้าแสบ ลิ้นอักเสบ และตาจะแดงอยู่เสมอ หู จมูกอักเสบ น้ำตาไหล
วิตามิน B3
มีในรำข้าว ถั่วลิสง ยีสต์ ผักสด มันฝรั่ง ใบยอ
ประโยชน์ต่อร่างกาย กระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิตขยายหลอดเลือด บำรุงสมอง เยื่ออ่อน ผิวหนัง ช่วยในการเผาผลาญแป้งและน้ำตาล ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและบรรเทา อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง บำรุงไต
อาการขาดวิตามิน ตับจะทำงานผิดปกติ ประสาทผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ เกิดอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ท้องเดินผิวหนังเป็นจ้ำๆ สีม่วง
วิตามิน B6
มีในกะหล่ำปลี พวกข้าว รำ ยีสต์ พวกถั่วต่างๆ นม ข้าวโพด
ประโยชน์ต่อร่างกาย มีประโยชน์บำรุงผิว ช่วยร่างกายในการใช้ไขมัน โปรตีน และการสร้างเลือด บำรุงประสาทกล้ามเนื้อ ลดอาการแพ้ท้อง ช่วยไม่ให้ปลายประสาทอักเสบ
อาการขาดวิตามิน นอนไม่หลับ ผมร่วง เกิดโรคผิวหนัง และโลหิตจาง
วิตามิน B12
ไม่มีในพืช แต่มีในนม เนย ไข่ เนื้อสัตว์
ประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นตัวสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเม็ดโลหิตแดง
อาการขาดวิตามิน จะเป็นโรคโลหิตจาง โรคประสาท
วิตามิน B15
มีในยีสต์ พวกเมล็ดพืชต่างๆ ข้าวซ้อมมือ
ประโยชน์ต่อร่างกาย มีประโยชน์ต่อเส้นผม กล้ามเนื้อ ตับ สมอง และหัวใจ ช่วยย่อยไขมัน ทำให้ร่างกายใช้วิตามินอี รักษาโรคทางจิต แพทย์ใช้วิตามินนี้รวมกันรักษาเบาหวานและเส้นโลหิตอุดตัน
ประเด็นคำถาม 1. นักเรียนคิดว่าแต่ละวันจะเสริมวิตามินบี ประมาณเท่าไร
2. นักเรียนบอกได้ไหมว่าวิตามินบีมีความสำคัญอย่างไร
3. ประโยชน์ที่ได้รับต่อร่างกายอย่างไร และทำไมต้องมีความต้องการวิตามินบี
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดหรือตามวารสารสุขภาพ
2. จดบันทึกข้อมูลแนวทางการปฏิบัติการรักษาสุขภาพตนเอง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย การอ่านจับใจความ การสรุปเนื้อหาในบทความ
2. ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ การวาดรูปผลไม้ที่ให้วิตามินบี
3. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) การสร้างเสริมสุขภาพตนเองในชีวิต
4. วิทยาศาสตร์ ระบบต่างๆของร่างกายในการดูดซึมสารอาหาร
5. คณิตศาสตร์ ปริมาณ/จำนวนของแร่ธาตุที่เข้าสู่ร่างกาย
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
ที่มา: https://www.cheewajit.com/vitamin.aspx
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1151