แพทย์"มศว"เจ๋ง-วิจัย"ยามะเร็ง" ช่วยผู้ป่วยเบาหวานไม่ตัดอวัยวะ


1,400 ผู้ชม


ผศ.นพ.ณรงค์ชัย กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 4 ล้านคน หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานนานๆ จะเกิดภาวะแทรกซ้อน จะเกิดการตีบตันของเส้นเลือดแดง เป็นสาเหตุให้ปลายประสาทเสื่อม ส่งผลให้เกิดอาการชาที่ปลายเท้า ปลายมือ อาการชาที่ปลายเท้า และปลายมือ เมื่อเก   

  ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        การควบคุมดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ จึงนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น อาหารแต่ละชนิดที่รับประทานเข้าไปไป ล้วนส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ข้อมูลหลักอันว่าด้วยเมนูนานาอาหารจานเด็ดในเล่ม จึงพรั่งพร้อมด้วยคุณประโยชน์และพลังงาน ที่ผ่านการคำนวณอย่างพิถีพิถันจากนักโภชนาการว่าไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน โดยมีตารางระบุพลังงานของอาหารแต่ละหมวดเพื่อให้การรับประทานเป็นไปอย่างปลอดภัย หากขณะเดียวกันก็สามารถอิ่มอร่อยได้ภายใต้การดูแลและใส่ใจในรายละเอียดที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หรือเหลือบ่ากว่าแรงมากนัก

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        ศูนย์ การแพทย์"มศว"เจ๋ง วิจัยต่อยอดการใช้ยามะเร็งรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยไม่ต้องตัดนิ้วมือ -เท้า-แขน-ขาสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก เผยวิธีใช้ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่แผลให้แข็งแรง กินเชื้อโรค-เนื้อที่ตาย พร้อมสร้างให้งอกขึ้นใหม่ ทำให้แผลหายใน 2 เดือน
       ผศ.นพ.ณรงค์ชัย ยิ่งศักดิ์มงคล แพทย์ศัลยกรรมทั่วไป ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)และหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องวิธีใหม่ในการรักษาแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบา หวาน เปิดเผยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ที่พัทยา จ.ชลบุรี ได้นำเสนองานวิจัยในโครงการวิจัยเพื่อหาแนวทางใหม่ในการรักษาแผลที่เท้าผู้ ป่วยเบาหวาน โดยการใช้ยา "อิมมูโนไคน์" (IMMUNOKINE) หรือ WF 10 มาใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวานไม่ต้องถูกตัดนิ้วเท้า ตัดเท้า หรือตัดขาได้สำเร็จ ถือเป็นการวิจัยโดยใช้ยาอิมมูโนไคน์รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นครั้งแรกของ โลก เพราะยังไม่เคยมีประเทศใดทำมาก่อน แม้แต่ประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นผู้ผลิตยาชนิดนี้ และเร็วๆ นี้ งานวิจัยดังกล่าวจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ

ภาพจากอินเตอร์เน็ต
      

        ผศ.นพ.ณรงค์ชัย กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 4 ล้านคน หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานนานๆ จะเกิดภาวะแทรกซ้อน จะเกิดการตีบตันของเส้นเลือดแดง เป็นสาเหตุให้ลายประสาทเสื่อม ส่งผลให้เกิดอาการชาที่ปลายเท้า ปลายมือ อาการชาที่ปลายเท้า และปลายมือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุไปเหยียบ หรือไปแตะสิ่งของ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัว แม้เกิดบาดแผลก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีแผล อีกทั้ง เส้นเลือดที่ตีบไปเลี้ยงปลายเท้าปลายมือได้น้อยลง ทำให้อวัยวะส่วนนั้นได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่วนภูมิคุ้มกันร่างกายที่เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรค คอยเก็บกินเชื้อโรค และเนื้อที่ตายแล้ว ไม่สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ ภาวะเช่นนี้จะเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดอาการอักเสบ เป็นแผลลามไปเรื่อยๆ มีเนื้อตาย เป็นหนอง และลาม รักษายากมาก ผู้ป่วยจำนวนมากรักษาแผลเป็นปีๆ ก็ยังไม่หาย สุดท้ายต้องตัดนิ้วเท้า นิ้วมือ และถ้าแผลลามไปเรื่อยๆ ก็ต้องตัดไปเรื่อยๆ แต่ละปีในไทย มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องตัดนิ้วมือ ตัดมือ ตัดแขน ตัดนิ้วเท้า ตัดเท้า และตัดขา เกือบ 4 หมื่นคน รวมทั่วโลกปีละเกือบ 1 ล้านคน อีกทั้ง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจากทั่วโลกจะกลัว และวิตกกับภาวะแทรกซ้อนอย่างมาก


ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        ค่อยๆ ดีขึ้น - สภาพแผลของผู้ป่วยโรคเบาหวานในแต่ละช่วงการทดสอบหลังจากใช้ยาอิมมูโนไคน์ (IMMUNOKINE หรือ WF 10) ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งมารักษา ทำให้สภาพแผลดีขึ้นเรื่อยๆ จนไม่ต้องตัดอวัยวะเหมือนที่ผ่านมา
        ผศ. นพ.ณรงค์ชัยกล่าวต่อไปว่า จากความทุกข์ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้คิดโครงการวิจัยเพื่อหาแนวทางใหม่ในการรักษาแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบา หวานขึ้นมา โดยทดลองกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 100 คน ซึ่งได้ผลดี โดยใช้ยาอิมมูโนไคน์ผสมในน้ำเกลือ ฉีดเข้าสู่เส้นเลือดภายใน 4-6ชั่วโมง โดยฉีดวันละครั้ง ติดต่อกัน 1 คอร์ส ซึ่งใช้เวลา 5 วัน จากนั้นจะดูผลประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็ให้ยาเป็นคอร์สที่ 2 อาการจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายใช้ยาคอร์สเดียวจะมีอาการดีขึ้น บางรายอาจต้องใช้ถึง 2 คอร์ส อาการดีขึ้นของผู้ป่วยจะเริ่มจากภาวการณ์อักเสบดีขึ้น ภาวะเนื้อที่ตายเริ่มดีขึ้น มีเนื้อที่งอกขึ้นใหม่เพิ่มขึ้น จุดเด่นของการให้ยาอิมมูโนไคน์ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นแผลเรื้อรังเมื่อให้ยาผู้ป่วยไปสู่เนื้อเยื่อ ตัวยาจะแตกตัวเป็นออกซิเจน ไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่อยู่บริเวณบาดแผลให้เริ่มเข็งแรงขึ้น เมื่อเม็ดเลือดขาวบริเวณแผลแข็งแรงขึ้น จะเก็บกินเชื้อโรคและเนื้อที่ตาย ทำให้แผลเริ่มหายจากอาการอักเสบติดเชื้อ มีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ตัวยาดังกล่าวยังไปกระตุ้นเซลล์ที่สร้างหลอดเลือด และกระตุ้นเซลล์ที่สร้างเนื้อเยื่อ แผลที่ลึกๆ จะตื้นขึ้น มีเนื้อแดงงอกขึ้นมาใหม่ และแผลจะค่อยๆ หายภายใน 2 เดือน

 
ภาพจากอินเตอร์เน็ต

   "เรานำยา ตัวนี้เข้ามาจากเยอรมนี หลายคนอาจกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องเดินทางไปทำแผลทุกวัน เป็นเดือน เป็นปี ล้วนแล้วแต่เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น นี่ไม่นับการซื้อยาชนิดอื่นๆ มารักษา ถ้าอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะตัดสินใจตัดอวัยวะส่วนที่เป็นแผลออก ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไข้กลัว และมีความทุกข์มาก แต่ถ้ารักษาโดยให้ยาอิมมูโนไคน์ ผู้ป่วยจะมีค่าใช้จ่าย 2 หมื่นบาทต่อ 1 คอร์ส ส่วนผลข้างเคียงเมื่อใช้อาจมีภาวะเลือดจางบ้างเล็กน้อย"ผศ.นพ.ณรงค์กล่าว

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        ผศ. นพ.ณรงค์กล่าวด้วยว่า งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีรักษาเผลเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้ยาอิมมูโน ไคน์ ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกของโลก เพราะยังไม่เคยมีใคร และประเทศใดทำมาก่อนเพราะโดยปกติจะใช้ในผู้ป่วยที่เกิดอาการอักเสบเรื้อรังในผู้ที่ป่วยด้วยโรค มะเร็ง และฉายแสง ปัจจุบันมีการนำตัวยาตัวนี้ไปใช้ร่วมกับเคมีบำบัดในการรักษาผู้ป่วยที่เป็น โรคมะเร็งตับอ่อนและมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนการนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเป็นแผลเรื้อรังนั้น ยังไม่มีใครทำ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สนใจ และต้องการรักษาด้วยวิธีใช้ยาดังกล่าว ติดต่อที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โทร.0-3739-5085-6 ต่อ 11215
อ้างอิงแหล่งข้อมูล มติชนรายวัน วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11446  

         
        เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้       สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                             ช่วงชั้นที่ 2  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4 
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 13       เรื่อง  การป้องกันโรค
        สาระที่ 4                           การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 2             -  มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                          ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                          ของท้องถิ่น      
                                             -  รู้และเข้าใจผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการ
                                          ส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค
                                             ช่วงชั้นที่ 2  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  5  
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 11       เรื่อง  การดูแลรักษาตนเองและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 1            -  วิเคราะห์ภาวะสุขภาพตนเอง
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 2            -  เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ
                                         และการป้องกันโรค
                                                             
                                            ช่วงชั้นที่ 2  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 12      เรื่อง  ข่าวสารเพื่อสุขภาพผู้บริโภค
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 3            -  วิเคราะห์และเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพ
                                         ได้อย่างเหมาะสม
        
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 13      เรื่อง   การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 2           -  วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ
                                         และการป้องกันโรค
                                          -  มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                         ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                         ของท้องถิ่น   
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 17     เรื่อง   ยาและสารเสพติดให้โทษ
        มฐ.พ. 5.1  ข้อ 2          - รู้และเข้าใจอันตรายจากการใช้ยาในทางที่ผิด
                                         และการใช้สารเสพติดที่มีผลต่อสุขภาพ และผลกระทบ
                                         ต่อครอบครัวและสังคม
      
         ประเด็นคำถาม 
        1. นักเรียนรู้จักโรคเบาหวานจากแหล่งข้อมูลใด
        2. โรคเบาหวานมีสาเหตุมาจากอะไร
        3. นักเรียนจะมีวิธีป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้อย่างไร   
        4. เมื่อมีญาติป่วยเป็นโรคเบาหวาน นักเรียนจะแนะนำผู้ป่วยได้อย่างไรบ้าง 
        5. นักเรียนจะนำข้อมูลข่าวสารข้างต้นไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยวิธีใด 
        
        กิจกรรมเสนอแนะ   
        1. แนะนำนักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในเว็บไซด์ต่างๆ เช่น Sahavicha.com
        2. จัดรายการโรคหน้ารู้ เสียงตามสายของโรงเรียน 
        3. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอล์ดให้ความรู้ เรื่องโรคเบาหวาน
          
         การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย      อ่านออกเสียง คัดไทย  สรุปบทความ  การวิเคราะห์บทความในข่าว
        2. สังคมศึกษา    สิทธิในการเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐ  
                               และรับรู้ข่าวสารอย่างเสรี  
        3. ศิลปะ            วาดภาพรณรงค์การป้องกันโรคเบาหวาน
        4. วิทยาศาสตร์   ความก้าวหน้าของวงการแพทย์
        5. คณิตศาสตร์    สร้างโจทย์ปัญหา บวก ลบ คูณ หาร  จากค่ารักษาพยาบาลโรคเบาหวาน  
        6. สุขศึกษาและพลศึกษา(พลศึกษา) การออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1221

อัพเดทล่าสุด