อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่างเช่นจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียเชื้อรา โปรโตซัว หรือหนอนพยาธิ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการได้รับยาหรือสารพิษบางอย่างด้วย แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้
ภาพจาก...healthcare.blogspot.com
ช่วงชั้นที่ 4 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 เรื่อง การป้องกันโรค
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มฐ.พ. 4.1 - วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
สุขภาพและการป้องกันโรค
- มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
ของตนเอง
เนื้อหาสาระ
โรคตับอักเสบ
อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่างเช่นจากการติดเชื้อ ไวรัส แบคทีเรียเชื้อรา โปรโตซัว หรือหนอนพยาธิ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการได้รับยาหรือสารพิษบางอย่างด้วย แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้ โรคตับอักเสบมี 2 ชนิด
โรคตับอักเสบเฉียบพลัน [acute hepatitis]
หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต
โรคตับอักเสบเรื้อรัง [chronic hepatitis]
หมายถึงตับอักเสบที่เป็นนานกว่า 6 เดือนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆเป็นและไม่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถที่จะทำให้ตับมีการอักเสบมาก chronic active hepatitis มีการอักเสบของตับ และตับถูกทำลายมากและเกิดตับแข็ง
อาการ
ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่าร้อยละ 5-10 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 85 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่จะมีการทำลายเซลล์ตับไปเรื่อยๆจนเกิดตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับในที่สุด
สาเหตุ
ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่าร้อยละ 5-10 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 85 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่จะมีการทำลายเซลล์ตับไปเรื่อยๆจนเกิดตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับในที่สุด
คำแนะนำ
1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ โดยเฉพาะในเด็ก
2. ควรแยกอุปกรณ์เครื่องใช้กับผู้ที่ติดเชื้อ เช่น แก้วน้ำ จาน ช้อนซ่อม เป็นต้น
3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วงที่มีการอักเสบของตับ แต่การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในตับอักเสบ เรื้อรังสามารถทำได้
4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างพอเพียง ไม่ต้องดื่มน้ำหวานมากๆ เพราะทำให้ไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขึ้น
1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคตับอักเสบมีผลเสียอย่างไร
2. นักเรียนทราบไหมว่าผู้หญิงกับผู้ชายอัตราการเป็นโรคตับอักเสบเพศไหนมากที่สุด
3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการเป็นโรคตับอักเสบจะมีผลโดยตรงต่อเราอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรคตับอักเสบ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย การอ่านจับใจความ การสรุปบทความในข่าว
2. วิทยาศาสตร์ ระบบอวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ
3. สังคมศึกษา สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการออกำลังกาย
5. ศิลปะ วาดภาพอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
แหล่งข้อมูลที่มา : www.herlichuan.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1260