มหันตภัย.. โรคร้าย หน้าฝน


1,267 ผู้ชม


รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้ เป็นช่วง 90 วันอันตรายได้สั่งให้สาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลทุกแห่งเฝ้าระวังเป็น พิเศษให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยละเอียด   

 
ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        รมว.สธ.เตือนคนไทยระวัง 15 โรคระบาดง่ายในฤดูฝน ชี้อันตรายไม่แพ้หวัด 09 ปลัดฯ สธ.เผยเดือนเดียวตายแล้ว 13 ราย  อธิบดีกรมควบคุมโรคแนะวิธีป้องกันตัวเบื้องต้น...
        
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้       สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                ช่วงชั้นที่ 2  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4 
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 13       เรื่อง  การป้องกันโรค
        สาระที่ 4                          การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 2            -  มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                              ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                              ของท้องถิ่น      
                                           -  รู้และเข้าใจผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ
                                              และการป้องกันโรค
                                                ช่วงชั้นที่ 2  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  5  
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 11       เรื่อง  การดูแลรักษาตนเองและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 1             -  วิเคราะห์ภาวะสุขภาพตนเอง
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 2             -   เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ                                                และการป้องกันโรค
                                                             
                                              ช่วงชั้นที่ 2  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 12     เรื่อง  ข่าวสารเพื่อสุขภาพผู้บริโภค
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 3            -  วิเคราะห์และเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพ
                                              ได้อย่างเหมาะสม
        
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 13      เรื่อง   การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 2            -  วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ
                                              และการป้องกันโรค
                                          -  มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                             ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญของ
                                             ท้องถิ่น   


        การระบาดของโรคไข้ หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเอ/เอช 1 เอ็น 1 ในไทยยังควบคุมไม่ได้มีผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์เช่นนี้ ทุกคนต้องดูแลตัวเองไม่ให้  ติดเชื้ออย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลฝ่ายเดียว ขณะเดียวกันในฤดูฝนนี้ ยังมีโรคอีกหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่าย รวดเร็ว และมีโอกาสทำให้คนป่วยเสียชีวิตเช่นเดียวกับไข้หวัด 2009

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        นาย วิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนทำให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะ 15 โรคสำคัญ
 ที่ต้องเฝ้าระวังช่วงนี้    เช่น โรคไข้เลือดออก ฉี่หนู ไข้หวัดใหญ่ มาลาเรีย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไข้สมองอักเสบเจอี เยื่อบุตาอักเสบ หรือ ตาแดง ปอดอักเสบและไข้หวัดนก
 นอกเหนือจากไข้หวัด 2009 ที่เป็นโรคอุบัติใหม่ 

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้ เป็นช่วง 90 วันอันตรายได้สั่งให้สาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลทุกแห่งเฝ้าระวังเป็น พิเศษให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยละเอียด  รวมทั้งโรคที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังต่อเนื่อง 2 โรค คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นโรคระบาดใหม่และไข้หวัด   นกที่มีแหล่งระบาดมาจากสัตว์ปีกหลังไม่พบติดเชื้อในคนมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว แต่ประมาทไม่ได้ 


ภาพจากอินเตอร์เน็ต
 

        นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรคได้ออกประกาศเตือนประชาชนป้องกันโรคติดต่อ ที่เกิดในฤดูฝนส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน โดยมี 5 กลุ่มรวม 15 โรค ได้แก่ 


ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ สาเหตุเกิดจากกินอาหารดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือกินอาหารสุกๆ ดิบๆ

ภาพจากอินเตอร์เน็ต


          2 เป็นโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ที่พบบ่อย คือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือ ไข้ฉี่หนู อาการเด่น คือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรงและตาแดง 


ภาพจากอินเตอร์เน็ต

         3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการเริ่มจากไข้ ไอ หายใจเร็วหรือ   หอบเหนื่อย


ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        4. กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค คือ ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน ไข้สมองอักเสบเจอี มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค และโรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหะนำโรค ทั้ง 3 โรคนี้ อาการเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบ อาจทำ
ให้พิการภายหลังได้  

ภาพจากอินเตอร์เน็ต 

        5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา 
 
        นอก จากนี้ นพ.ปราชญ์ ยังเปิดเผยถึงการเฝ้าระวัง 15 โรคที่เกิดในฤดูฝนตลอดเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา   มีผู้เสียชีวิตแล้ว 13 ราย เสียชีวิตจากปอดบวม 8 ราย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน 3 ราย ไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบ อย่างละ 1 ราย สถานการณ์โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ ขณะเดียวกัน ในช่วงหน้าฝนต้องระวังอีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุเกิดจากการแช่น้ำสกปรกนานๆ และอันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่อง ที่หนีน้ำมาอาศัยในบริเวณบ้าน


ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        ขณะ ที่นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าอาการนำของโรคติดเชื้อมีลักษณะเด่นหลักๆ คือ อาการไข้ ดังนั้น ช่วงนี้ หากมีไข้สูงและเช็ดตัวหรือกินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น
 หรือไข้ยังไม่ลดภายใน 3 วัน ต้องไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง โดยเฉพาะถ้าเป็นกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
        อธิบดี กรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่ายาลดไข้ต้องระมัดระวังการใช้กับโรคในฤดูฝน คือ ยาจำพวก   แอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับบางโรค ที่สำคัญ 3 โรคคือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ หวัดใหญ่ และโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าว ทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไปอีก จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ง่าย

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

        สำหรับ การป้องกันโรคในฤดูฝนนั้น นพ.มล.สมชาย กล่าวว่า ขอให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค รวมทั้งควรดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอมและล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้า ห้องน้ำ

อ้างอิงแหล่งข่าว     

       

   
         ประเด็นคำถาม 
        1. โรคร้ายที่มาพร้อมกับฤดูฝนมีโรคอะไรบ้าง
        2. สาเหตุและอาการของโรค ไข้หวัด 2009 
        3. นักเรียนจะมีวิธีป้องกันการเกิดโรคในฤดูฝนอย่างไร
        4. นักเรียนจะนำข้อมูลข่าวสารข้างต้นไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยวิธีใด 
        
        กิจกรรมเสนอแนะ   
        1. แนะนำนักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในเว็บไซด์ต่างๆ เช่น Sahavicha.com
        2. จัดรายการโรคหน้ารู้ เสียงตามสายของโรงเรียน 
        3. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอล์ดให้ความรู้ เรื่องโรคที่มักมากับฤดูฝน
          
         การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย       อ่านออกเสียง คัดไทย  สรุปบทความ  การวิเคราะห์บทความในข่าว
        2. สังคมศึกษา    สิทธิในการเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐ 
                                และรับรู้ข่าวสารอย่างเสรี  
        3. ศิลปะ             วาดภาพรณรงค์การป้องกันโรคที่มากับฤดูฝน                  
        4. วิทยาศาสตร์   เชื้อไวรัสและแบคทีเรียร้าย
        5. คณิตศาสตร์   สร้างโจทย์ปัญหา บวก ลบ คูณ หาร  การเสียชีวิตจากโรค
                               ที่มากับฤดูฝนตามข่าว
        6. สุขศึกษาและพลศึกษา(พลศึกษา) การออกกำลังกายเพื่อห่างไกลโรค
                                                                                              มหันตภัย.. โรคร้าย หน้าฝน

                                                                                       ขออภัย..ช้าไปหน่อย

                                                                                              คอมฯก็เก่า ครูก็แก่ มหันตภัย.. โรคร้าย หน้าฝนมหันตภัย.. โรคร้าย หน้าฝน

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1285

อัพเดทล่าสุด