การตรวจหา CBC...ของเม็ดเลือดต่างๆ


584 ผู้ชม


การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และเป็นค่ามาตรฐานเพื่อจำเป็นต้องให้เคมีบำบัด   


ภาพจาก..www.nstlearning.com

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้         สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                         ช่วงชั้นที่ 4  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-5-6
       
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7                           เรื่อง   การป้องกันโรค
        สาระที่ 4                                     การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1                                -  วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
                                                          สุขภาพและการป้องกันโรค
                                                      -   มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                                          ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                                          ของตนเอง

เนื้อหาสาระ

การตรวจ CBC ของเลือด

      หรือ complete blood count เป็นการตรวจที่บ่อยที่สุดโดยการตรวจวัดเซลล์ต่างๆในเลือดได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดโดยอาจจะตรวจด้วยเครื่องหรือโดยการส่องกล้องซึ่งจะตรวจ

เกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงแพทย์จะตรวจ

  • จำนวนเม็ดเลือดแดง Red blood cell (RBC) count 
  • ความเข็มของเลือด Hematocrit 
  • Hemoglobin
  • MCV
  • MCH
  • MCHC

เกี่ยวกับเม็ดเลือดขาวแพทย์จะตรวจ

  • เม็ดเลือดขาว White blood cell
  • อัตราส่วนเม็ดเลือดขาว Differential blood count (Diff) 

เกี่ยวกับเกร็ดเลือด

  • จำนวนเกร็ดเลือด Platelet count 
การตรวจเม็ดเลือดแดง
  1. จำนวนเม็ดเลือดแดง Red blood cell (RBC) count 

เป็น การนับจำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด ถ้าจำนวนน้อยก็คือภาวะโลหิตจาง (anemia ) ถ้าจำนวนมากเกินไปเรียก ( polycythemia) ปกติจะมีปริมาณ 4.2 - 5.9 million cells/cmm นอกจากจะดูจำนวนแล้วยังดูขนาดของเม็ดเลือดแดง ความเข็มของ Hemoglobin ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีโลหิตจางเนื่องเสียเลือดจากประจำเดือน

  1. ความเข็มของเลือด Hematocrit 

เป็นการวัดความเข็มข้นของเลือดอีกแบบหนึ่งโดยเปรียบเทียบปริมาตรของเม็ดเลือดต่อปริมาตราของเลือด ถ้าต่ำกว่า 30%ถือว่ามีภาวะโลหิตจาง

hematocrit ต่ำพบได้ในภาวะ

  • โรคโลหิตจาง
  • เสียเลือด
  • bone marrow failure (e.g., due to radiation, toxin, fibrosis, tumor)
  • destruciton of red blood cells
  • leukemia
  • malnutrition or specific nutritional deficiency
  • multiple myeloma
  • rheumatoid arthritis

hematocrit สูงพบได้ในภาวะ

  • ขาดน้ำจาก
    • ไฟไหม้
    • ท้องร่วง
  • erythrocytosis (excessive red blood cell production)
  • polycythemia vera

สาเหตุของภาวะโลหิตจาง Anemia

  1. ขาดธาตุเหล็ก Iron deficiency anemia 
  • ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากเสียเลือดเช่น เสียเลือดจากประจำเดือน เสียเลือดจากแผลในกระเพาะ เสียเลือดจากรีดสีดวงทวาร เป็นต้น
  • ในเด็กเกิดจากขาดธาตุเหล็กในอาหาร
  1. เสียเลือดเป็นจำนวนมาก เช่นเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร เสียเลือดจากอุบัติเหตุ
  2. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรค thalassemia
  1. Hemoglobin เป็น ส่วนประกอบสำคัญในเม็ดเลือดแดงทำหน้าที่นำ oxygen จากปอดไปยังเนื้อเยื่อและนำ Carbodioxide จากเนื้อเยื่อไปฟอกที่ปอด ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 12-16 gram%พบว่าถ้ามีน้อยถือเป็นภาวะโลหิตจาง สาเหตุเหมือนกับภาวะโลหิตจาง 

  2. MCV เป็นการวัดขนาดของเม็ดเลือดแดง เป็นอัตราส่วนระหว่า Hct และเม็ดเลือดแดงค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 86-98 femtoliters
  3. Mean cell hemoglobin (MCH). เป็นการวัดปริมาณ hemoglobin ในแต่ละเซลล์ของเม็ดเลือดแดงหรือเป็นการคำนวณระหว่างปริมาณ hemoglobin และปริมาณเม็ดเลือดแดงค่าปกติ 27 - 32 picograms
  4. Mean cell hemoglobin concentration (MCHC). เป็นการวัดความเข็มข้นของ hemoglobin ซึ่งคำนวณได้จาก hemoglobin และ Hct
ประเด็นคำถาม
        1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของเลือดมีผลดี ผลเสียอย่างไร
        2. นักเรียนทราบไหมว่าความเข้มข้นของเลือดแตกต่างกันอย่างไร
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการขาดเลือดจะมีผลโดยตรงต่อเราอย่างไร
       
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับเลือดของมนุษย์
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความ การย่อประเด็น
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบการไหลเวียนของเลือด
        3. สังคมศึกษา   สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการออกกำลังกาย
แหล่งข้อมูลที่มา : www.siamhealth.net

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1345

อัพเดทล่าสุด