https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คุณหมอเตือนอีกแล้ว....ผู้ที่เป็นรีดสีดวงทวาร.....ให้รีบรักษา MUSLIMTHAIPOST

 

คุณหมอเตือนอีกแล้ว....ผู้ที่เป็นรีดสีดวงทวาร.....ให้รีบรักษา


675 ผู้ชม


แพทย์เตือนผู้คนไข้ที่สงสัยเป็นริดสีดวงรีบรักษา ก่อนสายเกินไป....อาจนำไปสู่การเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะที่ 3 และ4   


ภาพจาก..lannaworld.com

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้         สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                         ช่วงชั้นที่ 4  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5
       
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11                           เรื่อง   การป้องกันโรค
        สาระที่ 4                                      การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1                                -   วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
                                                          สุขภาพและการป้องกันโรค
                                                      -   มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                                          ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                                          ของตนเอง

เนื้อหาสาระ

        นพ.ทรงศักดิ์ กรสุทธิโสภณ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเจ้าพระยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยเริ่มมีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป หลายๆคนไม่รับประทานผักผลไม้หรือบางคนดื่มน้ำน้อยมากในแต่ละวัน ประกอบกับความเครียดจากการทำงาน ภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัวและสังคม ส่งผลให้คนไทยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการท้องผูก และถ่ายผิดปกติหรือมีเลือดปนออกมา จนถึงขั้นเป็นโรคโลหิตจางจนต้องให้เลือดทดแทน
        ทั้งนี้อาการถ่ายเป็น เลือด เป็นอาการหนึ่งจากสภาวะท้องผูก หรือการถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง  ซึ่งมาจากพฤติกรรมในผู้ที่ไม่ค่อยรับประทานผัก และผลไม้หรือดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน รวมถึงภาวะความเครียดในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและตำแหน่งที่เลือดออกว่า มาจากส่วนใด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้องอก มะเร็ง หรือริดสีดวงทวารหนัก คือถ้ามีเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ส่วนล่างหรือบริเวณทวารหนัก ผู้ที่มีอาการจะเห็นเป็นเลือดสีแดงสดไหลหรือหยดหรือผสมกับอุจจาระที่ออกมา อาการเหล่านี้หากทิ้งไว้ในระยะยาวโดยไม่ทำการรักษา อาจนำไปสู่การเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะที่ 3 และ4  ได้ 
         นพ. ทรงศักดิ์ กล่าวว่า โรคริดสีดวงทวารหนักภายในระยะที่ 1 และ 2 ไม่ถือว่าเป็นอันตรายแก่ชีวิต แต่จะเป็นความลำบากสำหรับผู้ป่วยเองในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ด้วยความอายและไม่กล้าไปพบแพทย์ของผู้ป่วยบางราย ทำให้เรื้อรังจนลุกลามไปถึงระยะที่ 3 และ4 ซึ่งคุณหมอบอกว่าสมัยนี้ วิทยาการทางการแพทย์เกี่ยวกับการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักมีความก้าวหน้ามาก ขึ้น โดยผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะที่ 3 และ4 สามารถเลือกที่จะเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคด้วยเครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ (Stapled hemorrhoidectomy) หรือที่เรียกว่า PPH  (Procedure for prolapsed and hemorrhoid) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อยื่นออกมาในปริมาณมาก ซึ่งการรักษาด้วยเครื่องมือดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยลงและใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อย ไม่มีผลข้างเคียงหลังผ่าตัด รวมถึงผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
          การใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ หรือ PPH กับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะที่ 3 และ4 เป็นวิธีแก้ไขกลไกที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนักโดยตรง ซึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญในการผ่าตัดรักษาประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เครื่องมือสอดและถ่างทวารหนัก เครื่องมือช่วยเย็บ และเครื่องมือตัดเย็บ
หัวริดสีดวง โดยการตัดและเย็บนี้ จะกระทำตามแนวเส้นรอบวงโดยตลอด จึงสามารถตัดหัวริดสีดวงออกได้ทุกหัวและไม่ทำให้รูทวารหนักแคบลง อีกทั้งแนวการเย็บอยู่สูงกว่าเส้นเด็นเต็ท (dentate line) ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดน้อยลง 
          นพ. ทรงศักดิ์ กล่าวต่อว่า โดยทฤษฏีแล้วโรคริดสีดวงทวารหนักเกิดจากการเลื่อนตัวของเบาะรอง(cushion)ที่ อยู่ภายในทวารหนักออกมาภายนอก วิธีการผ่าตัดนี้จะดันเบาะรองกลับไปสู่ตำแหน่งเดิม และตัดเฉพาะส่วนเกินที่ยื่นออกมาเท่านั้น ไม่ตัดเบาะรองออกทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้วเบาะรองมีประโยชน์ในการทำให้ทวารหนักของคนเราปิดสนิทไม่ มีน้ำอุจจาระเล็ดออกมาได้ในระหว่างที่ไม่ได้ถ่ายอุจจาระ 
“ เพื่อป้องกันการเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก หากผู้ป่วยพบว่ามีอาการถ่ายเป็นเลือด ถ่ายลำบาก อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรังควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการรับประทานอาหาร  เน้นผักและผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอุปนิสัยเบ่งอุจจาระเวลาขับถ่าย ไม่ใช้ยาสวนอุจจาระพร่ำเพรื่อ ซึ่งหากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงเหล่านี้ ผู้ป่วยจะมีโอกาสห่างไกลจากโรคริดสีดวงทวารหนัก และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขโดยที่ไม่ต้องพบแพทย์” นพ.ทรงศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย 

ประเด็นคำถาม

        1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคมี ผลเสียอย่างไร
        2. นักเรียนทราบไหมว่าผู้หญิงกับผู้ชายอัตราการเป็นโรครีดสีดวงทวารเพศไหนมากที่สุด
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการเป็นโรค
รีดสีดวงทวารจะมีผลโดยตรงต่อเราอย่างไร
       
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรค
รีดสีดวงทวาร
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความ  การย่อความสรุป
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบอวัยวะในร่างกาย
        3. สังคมศึกษา   สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
แหล่งข้อมูลที่มา : 
 ไทยรัฐออนไลน์  โดย ทีมข่าวไลฟสไตล์  26 กรกฎาคม 2552, 16:50 น. 
                          นพ.ทรงศักดิ์ กรสุทธิโสภณ, โรงพยาบาลเจ้าพระยา, ริดสีดวงทวาร

อัพเดทล่าสุด