กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาที่เล่นได้งาย ขอให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอในการเล่นก็สามารถเล่นได้ แต่การจะเล่นตะกร้อให่เก่งและมีความสามารถนั้นนักกีฬาต้องมีทักษะพื้นฐานของกีฬาตะกร้อซึ่งสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนเป็นประจำ
เชื่อว่าหากจัดอันดับนักกีฬาที่โด่งดังในเมืองไทย ชื่อของ “โจ้” สืบศักดิ์ ผันสืบ จอมเสิร์ฟหลังเท้าจากกีฬาตะกร้อต้องติดอันดับด้วยแน่ ๆ ด้วยหน้าตาที่หล่อเหลาบวกกับฝีไม้ลายเท้าอันยอดเยี่ยม เขาจึงก้าวขึ้นมาเป็นขวัญใจของแฟน ๆ กีฬาไทยได้อย่างไม่ยากเย็น
นอกจากเราจะได้เห็นโจ้ในสนามแข่งตะกร้อแล้ว บางครั้งเรายังเห็นเขาที่หน้าจอโทรทัศน์โดยที่ไม่ใช่รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันตะกร้อด้วยเพราะโจ้ถือเป็นนักกีฬาที่ “เตะตา” สินค้าหลาย ๆ ชิ้นจนได้รับการทาบทามให้เป็นพรีเซนเตอร์มากมาย น่าสนใจแบบนี้เราน่าจะลองพูดคุยกับเขาดู
โจ้บอกว่าเขาเริ่มเล่นตะกร้อมาตั้งแต่ 10 ขวบแล้วด้วยเหตุว่า “รุ่ง” กว่าการเล่นฟุตบอลกีฬายอดนิยมนั่นเอง เขาเล่าว่า “ตอน 10 ขวบผมเตะฟุตบอลด้วย ตะกร้อด้วย คู่กันไป ที่เลือกตะกร้อเพราะพอเล่นไปพักนึงแล้วตะกร้อดูจะรุ่งกว่า ฟุตบอลตกรอบกีฬาอำเภอ ส่วนตะกร้อได้แชมป์เลยเล่นตะกร้อดีกว่า”
หากยังจำกันได้ สมัยก่อนนั้น “ลูกตะกร้อ” ใช้เป็นลูกที่สานจากหวาย โจ้บอกว่าเขาทันเล่นลูกหวายด้วยประมาณ 3 ปีสุดท้ายก่อนเปลี่ยนเป็นลูกพลาสติก (เหตุผลที่เปลี่ยนลูกเพราะว่า “ต้องการให้กีฬาตะกร้อเป็นสากลมากขึ้น ลูกที่ใช้แข่งจึงต้องหาซื้อได้ทั่วโลก ไม่ใช่ลูกหวายที่มีแค่ในแถบอาเซียนนี้เท่านั้น)
ความทรงจำเกี่ยวกับลูกหวายของโจ้คือ “ตะกร้อหวาย เสิร์ฟแต่ละลูกมีน้ำหนักมาก คนรับด้วยหัวก็แย่เหมือนกันเพราะน้ำหนักมันมาเต็ม ๆ เลยครับ” แน่นอนด้วยตำแหน่งที่โจ้เล่นคือ “แบ๊ค” หรือ “ตัวเสิร์ฟ” ที่ต้องสัมผัสกับตรงนี้โดยตรง ความทรงจำของเขาจึงแจ่มชัดเป็นพิเศษ…แต่ทำไมโจ้ถึงเลือกเล่นตำแหน่งนี้ล่ะหรือ?
“เล่นตำแหน่งตัวเสิร์ฟมาตลอดเลยครับ ที่เล่นเพราะด้วยรูปร่างที่สูงมาตั้งแต่เด็กมันเหมาะกับตำแหน่งนี้ครับ อย่างเราจะขึ้นฟาดหน้าเน็ทมันก็ไม่คล่องเท่าคนที่ตัวเล็กกว่าน่ะครับ ส่วนคนที่ตัวเล็ก ๆ กว่านั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมก็คือเล่นเป็นตัวชง” โจ้ตอบคำถาม
เพราะการเล่นเป็นตัวเสิร์ฟ นั่นทำให้เขาสร้าง “เอกลักษณ์” เป็นของตนเองได้ นั่นก็คือ “ลูกเสิร์ฟหลังเท้า” ที่ทรงประสิทธิภาพมาก ๆ ในการเล่น แต่ที่จริงแล้วโจ้ไม่ใช่คนแรกที่เล่นลูกเสิร์ฟหลังเท้าเพราะต้นตำรับที่แท้จริงคือรุ่นพี่ในทีมชาติอย่าง “กิตติภูมิ นามสุข”
“ตอนนั้นเก็บตัวร่วมกันในนามทีมชาติเลยขอคำแนะนำจากพี่เค้า ผมคิดว่ารูปร่างของผมสูงกว่าพี่เค้าก็น่าจะลองลูกใหม่ ๆ ดู พี่เค้าก็ให้คำแนะนำเราดี เพราะการเสิร์ฟหลังเท้านี่มันต้องใช้กล้ามเนื้อค่อนข้างจะพิเศษกว่าลูกเสิร์ฟข้างเท้าด้านในครับ” โจ้เล่า
เพราะการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อแบบ “Over Training” ในการเล่นลูกเสิร์ฟหลังเท้า (โจ้บอกว่าความจริงกีฬาตะกร้อมันก็ต้องใช้กล้ามเนื้อในแบบ “Over Training” อยู่แล้ว) น้อง ๆ ที่คิดจะเล่นลูกแบบนี้ โจ้แนะนำว่าต้องวอร์มร่างกายให้ถึงเสียก่อน ยืดกล้ามเนื้อทุกส่วนโดยเฉพาะหลังและตะโพก
ประสิทธิภาพของลูกเสิร์ฟหลังเท้านั้นโจ้บอกว่า “วงสวิงของการวาดเท้ามันกว้างกว่าการใช้ข้างเท้าด้านในเสิร์ฟไงครับ เสิร์ฟไป 10 ลูกนี่ข้ามไปได้ถึง 9 ลูกและแต่ละลูกโอกาสได้แต้มมีสูงเมื่อเทียบกับเสิร์ฟแบบข้างเท้าด้านในที่เสิร์ฟ 10 ลูก อาจจะข้ามไป 6-7 ลูกเท่านั้นเอง และข้ามไปแล้วก็หวังผลไม่ได้ 100%”
เบสิคของตะกร้อดูเผิน ๆ เหมือนกับฟุตบอล (จำได้ไหมว่าตอนโจ้เริ่มเล่นใหม่ ๆ เขาเล่นฟุตบอลไปด้วย) แต่ถ้าลงลึกไปจริง ๆ แล้ว การเดาะตะกร้อเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเล่นตะกร้อมากกว่าฟุตบอลเสียอีกเพราะฉะนั้น น้อง ๆ ที่คิดจะเอาดีทางตะกร้อ โจ้แนะนำได้คำเดียวว่า “เดาะไปเถอะครับ 100 ครั้ง 1,000 ครั้งก็ต้องเดาะ”
“ดูเผิน ๆ ทั้ง 2 กีฬาต้องมีเบสิคการใช้เท้าเหมือนกัน แต่ตะกร้อเราต้องเล่นลูกกลางอากาศครับ ทักษะของตะกร้อเลยบังคับให้เราต้องเดาะได้เยอะครับ หลังเท้า ข้างเท้าด้านใน ข้างเท้าด้านนอก เข่า หัว ต้องทำให้ได้ทุกท่า เริ่มเล่นแรก ๆ ก็ต้องเดาะอย่างเดียวเช้า-เย็น ทุกวัน” โจ้ว่า
ยุคนี้ถือได้ว่าเป็นยุคที่ไทยครองบัลลังก์ตะกร้ออยู่เพียงทีมเดียวเพราะพัฒนาการของทีมมาเลเซียหยุดชะงักลง สิ่งหนึ่งที่ต้องชื่นชมนอกจากตัวนักกีฬาจะเก่งแล้วก็คือ การทำงานเบื้องหลัง โค้ช จนถึงการนำจิตวิทยาการกีฬาเข้ามาใช้ก็มีผลตรงนี้ด้วย โจ้อธิบายว่า
“เรามี Doctor เข้ามาพูดคุยกับนักกีฬา มีการฝึกระบบการหายใจ การทำสมาธิที่เกี่ยวข้องกับกีฬาโดยตรง เราฝึกตั้งแต่เก็บตัวแรก ๆ จนถึงแข่งเลยทั้งการหายใจ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ไม่ให้เครียด ทำให้ความตื่นเต้น ความกดดันที่เกิดเวลาแข่งนั้น เราก็แค่หายใจเข้าสุด-ออกสุด ก็รู้สึกผ่อนคลายแล้ว”
ที่มา: https://www.homeandi.com/content/c1270.html
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)
สาระที่ ๓ : การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย เกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ ๓. ๑: เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ ๓.๒ : รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการเสิร์ฟตะกร้อได้
2.เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ทักษะการเสิร์ฟตะกร้อ
การเล่นเสิร์ฟตะกร้อ ผู้เล่นตำแหน่งเสิร์ฟตะกร้อเรียกว่าตำแหน่ง แบ๊ค หรือหลัง
คุณสมบัติที่สำคัญ ควรเป็นคนที่รูปร่างสูง วงสวืงช่วงขาที่ยาวจะได้เปรียบการแข่งขัน และกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง
หลักการเสิร์ฟตะกร้อ
1.ยืนอยู่วงกลมให้เท้าที่ไม่ถนัดอยู่ในวงกลม เท้าที่เสิร์ฟตะกร้ออยู่นอกวงกลม
2.จุดกระทบตะกร้อคือตาตุ่มของเท้าด้านในหรือบริเวณหลังเท้าถ้านักกีฬาที่มีความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อที่ดี
3.เมื่อคนโยนลูกตะกร้อโยนลูกตะกร้อมาตามทิศทางที่เรากำหนด โดยให้มือเป็นตัวกำหนดให้คนโยนตะกร้อโยนลูกมาตกตำแหน่งที่เรากำหนด
4.ให้เหวี่ยงลำตัวและวงสวิงของขาที่จะเสิร์ฟตะกร้อโดยให้แรงจากตะโพก กล้ามเนื้อขา ลูกตะกร้อจะสัมผัสที่ตาตุ่มของเท้าด้านในหรือบริเวณหลังเท้า
ที่มา: https://news.sanook.com/story_picture/m/60583_001.jpg
กิจกรรมเสนอเสนอแนะ
1.ก่อนการเล่นตะกร้อต้อง Warm Up ทุกครั้ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down
2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันตะกร้ออย่างเป็นประจะและต่อเนื่อง
3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นตะกร้อ
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การทักษะการเสิร์ฟตะกร้อ
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว จุดสัมผัสลูก
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1.ที่มา: https://www.homeandi.com/content/c1270.html
2.ที่มา: https://news.sanook.com/story_picture/m/60583_001.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1385