สร้างเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค ตอนที่ 4


863 ผู้ชม


“กระเทียม” สมุนไพรมหัศจรรย์!!   

สร้างเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค ตอนที่ 4

 “กระเทียม” สมุนไพรมหัศจรรย์!!

 
 สร้างเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค ตอนที่ 4

https://www.thaikacha.dk/UserFiles/Image/Garlic.jpg

      
 

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระบุว่า

กระเทียม (garlic) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn.

สร้างเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค ตอนที่ 4

https://learners.in.th/file/chaochaout/p5212986n1.jpg

กระเทียมมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า หอมเทียม (ภาคเหนือ)
 เทียม , หัวเทียม (ภาคใต้)
 กระเทียมขาว , หอมขาว (อุดรธานี) 
ปะเซว้า (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 
กระเทียม (ภาคกลาง) 
กระเทียมจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า หัว
ลำต้นสูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร หัวกระเทียมประกอบด้วยกลีบหลายกลีบรวมกัน 
โดยมีเปลือกหุ้มหลายชั้นสีขาวหรือขาวอมม่วง เนื้อกระเทียมจะมีสีขาว ใบจะมีสีเขียว 
ใบหนายาวแบน ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นแผ่นแบน ดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุก
ที่ปลายก้านช่อ ก้านช่อยาว กลีบดอกมี 6 กลีบ สีขาวหรือขาวอมชมพู

สำหรับกระเทียมโทนจะแตกต่างจากกระเทียมธรรมดาตรงที่ภายในหัวมีเพียงกลีบเดียว 
และหัวค่อนข้างกลม มีกลิ่นฉุน ขยายพันธุ์โดยใช้หัวฝังในดิน ควรเป็นดินร่วนซุยและอากาศเย็น 
จึงปลูกได้ดีในภาคเหนือ

ส่วนที่ใช้เป็นยาคือหัวกระเทียมที่มีอายุตั้งแต่ 100 วันขึ้นไป โดยมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า 
ภายในหัวกระเทียม ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.01-0.36 เปอร์เซ็นต์ 
ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยนี้จะประกอบด้วยสารอัลลิซิน อัลลิลโพรพิลไดซัลไฟด์ และ
ไดอัลลิลไตรซัลไฟด์ เป็นสารหลัก นอกจากนี้ยังมีสารประกอบของกำมะถันและสารอีกหลายชนิด

และสารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งสำคัญมากคือ อัลลิอิน ซึ่งเมื่อกระเทียมถูกทุบหรือบด
จะมีเอนไซม์อัลลิเนส ซึ่งจะเปลี่ยนสารจากอัลลิอินเป็นอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารที่กล่าวไว้ข้างต้น
และเป็นสารที่ทำให้กระเทียมมีกลิ่น สารสำคัญเหล่านี้จะเสื่อมสลายได้ถ้าถูกความร้อน 
ดังนั้นถ้าจะใช้กระเทียมเพื่อการรักษาควรใช้กระเทียมสด 
 

แทบทุกครัวเรือนรู้วิธีการเจียวกระเทียมในน้ำมันให้หอมก่อน แล้วจึงใส่เนื้อสัตว์หรือผัก 
เป็นวิธีดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ได้อย่างดี

สร้างเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค ตอนที่ 4

ภาพจาก https://www.ladysquare.com/uploads/punyarat23/2007-10-11_132643_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1.JPG 

สร้างเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค ตอนที่ 4

ภาพกุ้งนึ่ง  https://guide.kapook.com/tour/s010_files/m3.jpg 

ทั้งยังใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าอาหารอีกหลายอย่าง หรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ในเครื่องแกงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเป็นตัวช่วยแต่งกลิ่นและรสร่วมกับมะนาวในน้ำพริกกะปิ 
แม้แต่พริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มรสแซบก็จะลืมกระเทียมไปไม่ได้ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดๆ 
ยังเป็นผัก รวมถึงกระเทียมดองของอร่อย 
 
          กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของชาวบ้านมาโดยตลอด 
หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต 
กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ 
ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง 
 
          การศึกษาทดลองคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในระยะหลัง พบว่า 
กระเทียมมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายอย่าง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ผลอย่างจริงจัง
ยังจะต้องมีการศึกษาผลทางคลินิกวิทยาให้ถ่องแท้เสียก่อน
 
          โดยสรรพคุณต่างๆ ของกระเทียม มีดังนี้ 
 
          1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม 
 
          2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก 
              และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ 
              หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ 
 
          3. ลดความดันโลหิตสูง 
 
          4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล 
 
          5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว 
 
          6. ลดน้ำตาลในเลือด 
 
          7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน 
              ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด 
              โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย 
              นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน 
              รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
 
          8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง 
              คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม 
 
          9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ 
 
          10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ 
 
          11. รักษาโรคไอกรน 
 
          12. แก้หืดและโรคหลอดลม 
 
          13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย 
 
          14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ  
                และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
 
          15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงาน
                ทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี 
 
          16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายัง
                บริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น 
 
          17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย 
 
          18. ต่อต้านเนื้องอก 
 
          19. กำจัดพิษตะกั่ว 
 
          20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์
                ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย 
 
          ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง 
โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว 
โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า 
 
 
 เนื้อหานี้เหมาะสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา   ระดับช่วงชั้นที่ 3 และ 4
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค
                          และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
ประเด็นคำถาม
              1. โรคไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาอย่างไร
              2. กระเทียมสามารถใช้ป้องกันหรือรักษาโรคอะไรได้บ้าง
              3. กระเทียมมีวิธีใช้อย่างไร 
              
กิจกรรมเสนอแนะ   
              1. สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากเครือข่ายอินเตอร์เนต
              2. ค้นคว้า อภิปราย และนำเสนอ 
              3. ให้ทำโครงงานเกี่ยวกับเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและ            
                      การป้องกันโรคด้วยภูมิปัญญาไทย
                  
การบูรณาการ
      สามารถบูรณาการได้กับ       กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ศัพท์ภาษาอังกฤษ )
                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (โภชนาการ)

 

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.thaihealth.or.th/node/9547


https://bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=healthy&board=9&id=10&c=1&order=numtopic


https://images.google.co.th/imgres?imgurl=https://learners.in.th/file/chaochaout/p5212986n1.jpg&imgrefurl=https://learners.in.th/blog/5601-chaochaout/197379&usg=__6754B7fgAAzhLUOvu55U1vZPPms=&h=375&w=500&sz=38&hl=th&start=15&um=1&tbnid=gnqh_6ocKCmgsM:&tbnh=98&tbnw=130&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A1%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26rlz%3D1T4GGLL_thTH336TH337%26sa%3DN%26um%3D1

  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1433

อัพเดทล่าสุด