วารสารจิตวิทยา "ไซโคโลจิคัล ไซเอินซ์" ฉบับล่าสุดชี้ว่า นักวิจัยมหาวิทยาลัยซุนยัตเซน มินนิโซตา และฟลอริดา พบว่า การนับเงินช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
วันนี้ผมมีวิธีช่วยลดความเครียด ซึ่งมีการวิจัยและทดลองมาแล้วมีผลที่น่าเชื่อถือได้ว่า
น่าจะช่วยลดความเครียดได้จริง
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ช่วงชั้นที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 เรื่อง การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
มฐ.พ. 4.1 ข้อ 4 - รู้และเข้าใจผลระทบที่เกิดจากความเครียด
มฐ.พ. 4.1 ข้อ 4 - รู้วิธีป้องกันและแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาทางอารมณ์และความเครียด
ช่วงชั้นที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 เรื่อง การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
มฐ.พ. 4.1 ข้อ 4 จัดการกับอารมณ์และความเครียดเมื่อประสบปัญหา
วารสารจิตวิทยา "ไซโคโลจิคัล ไซเอินซ์" ฉบับล่าสุดชี้ว่า นักวิจัยมหาวิทยาลัยซุนยัตเซน มินนิโซตา และฟลอริดา พบว่า การนับเงินช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่เมื่อนึกถึงการใช้เงินความเครียดจะเพิ่มขึ้น
การศึกษาชิ้นนี้เน้นที่อำนาจเชิงสัญลักษณ์ของเงิน โดยเริ่มการทดลองชิ้นแรกกับนักศึกษาจีน 84 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกสั่งให้นับธนบัตร 80 ใบ ส่วนอีกกลุ่มให้นับกระดาษเปล่า 80 แผ่น หลังจากนั้นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดต้องเล่นวิดีโอเกมออนไลน์ ซึ่งเป็นเกมรับส่งลูกบอลที่จะต้องเล่นร่วมกับผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต แต่มีการตั้งโปรแกรมไว้ให้กลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งรับลูกบอลที่โยนมาไม่ได้หลังผ่านไปสิบลูก ขณะที่อีกกลุ่มยังรับได้อยู่
เมื่อจบเกมกลุ่มตัวอย่างที่ตกรอบต้องให้คะแนนความเครียดทางสังคมและความรู้สึกของตัวเอง ซึ่งผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้นับเงินก่อนมีระดับความเครียดทางสังคมต่ำกว่ากลุ่มที่นับกระดาษเปล่า อีกทั้งยังรู้สึกว่าเข้มแข็งและมีความพร้อมในตัวเองมากกว่าด้วย
นักวิจัยทดลองส่วนที่สองเพื่อดูว่าการนับเงินช่วยลดความเจ็บปวดทางร่างกายด้วยหรือไม่ โดยเปลี่ยนจากเกมออนไลน์เป็นการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกต้องจุ่มมือลงในน้ำอุ่น และกลุ่มที่สองจุ่มมือลงในน้ำร้อน พบว่ากลุ่มที่ได้นับเงินก่อนรู้สึกร้อนมือน้อยกว่า และเพื่อให้การศึกษาครบถ้วนสมบูรณ์จึงทดลองเพิ่ม ซึ่งพบว่าเมื่อใดที่คนเรานึกถึงการใช้เงินอย่างสิ้นเปลือง ที่ผ่านมาจะยิ่งเพิ่มความเครียด และถ้าพวกเขาถูกปฏิเสธจากสังคมและมัวแต่คิดถึงแต่ความไม่สะดวกสบายทางกายภาพก็จะกระตุ้นให้มีความต้องการเงินมากขึ้นและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่น้อยลง
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ประเด็นคำถาม
1. อาการของคนเครียดเป็นอย่างไร
2. ความเครียดที่เกิดกับตัวนักเรียนเอง มีสาเหตุจากอะไร
3. เมื่อเกิดความเครียดนักเรียนมีวิธีการจัดการกับความเครียดอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. แนะนำนักเรียนไปศึกษาการจัดการอารมณ์กับความเครียด
เพิ่มเติมในเว็บไซด์ต่างๆ เช่น Sahavicha.com
2. ให้นักเรียนทำกิจกรรมนันทนาการ เน้นความสนุกสนาน รื่นเริง
3. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอล์ดให้ความรู้ เรื่อง การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย อ่านออกเสียง คัดไทย สรุปบทความ การวิเคราะห์บทความในข่าว
2. สังคมศึกษา เงินตรา
3. ศิลปะ ออกแบบสมุดสะสม เงินสกุลต่างๆ
4. วิทยาศาสตร์ โลหะที่นำมาผสมเป็นเงิน
5. คณิตศาสตร์ สร้างโจทย์ปัญหา บวก ลบ คูณ หาร การใช้เงิน การเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างๆ
6. สุขศึกษาและพลศึกษา(พลศึกษา) การออกกำลังกายของเพื่อลดความเครียด
อ้างอิงข้อมูล : ข่าวสดรายวัน วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6829 หน้า 29
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1471