ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่นมีแนวโน้ม ถูกทำลายเพิ่ม มากขึ้น ในขณะเดียวกัน
ททท.เพิ่งตื่น ปั้นยุทธศาสตร์รับมือโลกร้อน หวั่นถูกถอดจากการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในแผนที่โลก วางงบ กว่า 21 ล้านบาท ประกาศโครงการ “ปฎิญญา รักษาสิ่งแวดล้อม” ผุด 7 Green Project ดึงชุมชน เอกชน ร่วมทำงาน ลั่น สมุย ลันตา เป็นพื้นที่นำร่อง ประเดิมประกาศแผนสร้างภาพในงานประชุม พาต้า ซีอีโอ สัปดาห์นี้
นางศศิอาภา สุคนธรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้ใช้งบ 21.5 ล้านบาท เฉพาะปีงบประมาณ 2551 เพื่อ ดำเนินโครงการ “ปฎิญญารักษาสิ่งแวดล้อม” หรือเที่ยวไทยต้านภัยโลกร้อน โดยโครงการนี้จะเป็นโครงการต้อเนื่อง 3 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2551-2553 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรรษา ซึ่ง ททท. จะจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีให้แก่โครงการนี้ต่อไป สำหรับปฎิญญารักษาสิ่งแวดล้อมนี้ ททท.ได้กำหนด 7 แนวทางการท่องเที่ยวที่ตระหนักและสนใจต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน ภายใต้ชื่อ “ 7 Green Project” ได้แก่ กรีน ฮาร์ท กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ,กรีน ลอจิสติก การคมนาคมที่ช่วยลดโลกร้อน เช่น ปั่นจักรยาน การเดินเท้าระยะสั้น ,กรีน แอคทิวิตี้ กิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ,กรีน เซอร์วิส ที่พัก และร้าน อาหาร ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ,กรีน ดิติเนชั่น แหล่งท่องเที่ยวที่ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ,กรีนคอมมูนิตี้ การท่องเที่ยวในุมชนที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และ กรีน พลัส คือ กิจกรรมที่ร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว ตอบแทนสังคม
จุดประสงค์การดำเนินงาน เพื่อต้องการประกาศความชัดเจนของประเทศไทย ในเรื่องการ ตระหนัก ตื่นตัวรับมือกับสภาวะโลกร้อน โดย การร่วมมือกับระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ที่มีสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้ จะช่วยให้ประเทศไทย และ ททท. ใช้เป็นแบรนด์ ที่มี จุดขาย และจุดแข็ง ในการแข่งขันในเวทีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับโลก รวมทั้งขยายฐานตลาดใหม่ไปสู่กลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศ ที่ใส่ใจในการรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมการทำงานของครงการนี้ จะสร้างกระแสการรับรู้เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมการท่อง เที่ยว โดยรณรงค์ และกระตุ้น ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันดำเนินการเพื่อลดสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น โดยโครงการ จะแบ่งเป็น 3 เฟส ได้แก่ 1. จัดทำระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ ที่ได้มีการตื่นตัวรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การเข้าร่วมโครงการ ใบไม้เขียว เป็นต้น 2. ให้
ทท. ทั้ง 4 ภูมิภาค ทั่วประเทศ สร้างกิจกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม โดยเร่งหาพันธมิตรในพื้นที่ และ สร้างเส้นทางท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกันระหว่าง จังหวัด และ ภูมิภาคด้วย เน้นโฆษณาประชาสันพันธ์สร้างการรับรู้ ให้ข้อมูล ของการตื่นตัวรักษาสิ่งแวดล้อม 3.จัดทำแหล่งท่องเที่ยวตัวอย่าง ที่ ททท. ภาคเอกชน และ ชุมชน ได้มีส่วนร่วมกันฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม ล่าสุด ภายในปีนี้ จะประกาศ พื้นที่ ตัวอย่าง ที่ ททท. จะเข้าไปดำเนินการร่วมกับชุมชน ได้แก่ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ เกาะลันตา จ.กระบี่ วิธีการ คือ ททท. จะเข้าไปร่วมบริหารจัดการ ปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพื้นที่ของเขา โดยคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
“ปัจจุบัน ทั่วโลกตระหนักถึงพิษภัยของสภาวะโลกร้อน และ ร่วมกันรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง และใช้กลยุทธ์นี้เป็นยุทธศาสตร์ทางการแข่งขันในเวทีโลก เช่น ประเทศศรีลังกา ประกาศว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นปอดของโลก เป็นต้น เพราะจากนี้ไป นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเลือกเดินทางไปในประเทศที่ตระหนักใน เรื่องนี้ ดังนั้นจึงยังไม่ช้าไปที่ไทยจะเริ่มต้น เพราะหากเราไม่เร่งดำเนินการ และไม่ประกาศให้โลกได้รับรู้ ก็อาจถูกถอดออกจากแผนที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของโลกได้” ดังนั้น นอกจากการดำเนินงานแล้ว สิ่งที่ ททท.จะต้องดำเนินการอีกอย่างหนึ่ง คือ นำข้อมูลไปจัดประชุมสัมมนา โดยจะประกาศตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในงานประชุม PATA CEO ระหว่างวันที่ 28-30 เม.ย.นี้ ไทยก็จะหยิบยกโครงการนี้บอกเล่าในงานสัมมานาด้วย และ ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย เดือนมิถุนายนปีนี้ ก็จะจัดสัมมนาสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้ประกอบการเช่นกัน เป็นต้น
ที่มา: https://www.tei.or.th/hotnews/080428-globalwarming1-manager.htm
สาระที่ ๔ :การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ ๔.๑:เห็นคุณค่า และมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6
ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง
1.สามารถอธิบายปัญหาของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้
2.สามารถหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้
ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่นมีแนวโน้มถูกทำลายเพิ่ม มากขึ้น ในขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (ที่มนุษย์สร้างขึ้น) กลับเพิ่มมาแทนมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจาก ในปัจจุบันจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประดิษฐ์และพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ผลจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อ มนุษย์หลายประการ เช่น ปัญหาการแปรปรวนของภูมิอากาศโลกการร่อยหรอ ของทรัพยากรธรรมชาติภัยพิบัติมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น มลพิษสิ่งแวดล้อมขยายขอบเขต กว้างขวางมากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง ต่อการดำรงอยู่และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวทุกคนจึงต้อง ตระหนักถึง ปัญหาร่วมกัน โดยศึกษาถึงลักษณะของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการ ป้องกันเพื่อแก้ปัญหา
ผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยี คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยประโยชน์หากนำมาใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็จะส่งผล กระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในระยะที่ผ่านมามนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน แต่ในทางตรงกันข้าม ผลจากการใช้อย่างขาดสติก็ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ดังนี้
1. ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นปัจจัยสำคัญ ในการ ดำรงชีวิตของทั้ง มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวลถูกทำลาย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ
(1) การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่
- การสูญเสียทรัพยากรดิน เกิดปัญหาการพังทลายของดิน ดินเสื่อมคุณภาพ อันเป็นผลจากการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร การใช้สารเคมีในการเกษตร
- การสูญเสียทรัพยากรน้ำ เช่น แหล่งต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำเน่าเสีย การทิ้งสิ่งปฏิกูลที่ย่อยสลายได้ยาก และปล่อยสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ
- การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำลายป่าอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
- การสูญเสียทรัพยากรแร่ธาตุ และพลังงานจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการนำทรัพยากรแร่ธาตุมาใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะพลังงาน ปีหนึ่ง ๆ ต้องสูญเสีย งบประมาณในการ จัดหาพลังงานมาใช้เป็นจำนวนมหาศาล
(2) สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
หลังจากที่สิ่งมีชีวิตก่อกำเนิดขึ้นบนโลก จากนั้นได้วิวัฒนาการเพิ่มจำนวนและชนิดมากขึ้นเป็นลำดับ ต่อจากนั้น ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติทำให้สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มสูญพันธุ์อย่างช้า และมีการคาดการณ์ว่าสิ่งมีชีวิต จะมีอัตรา
การสูญพันธุ์ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1,000 เท่า
(3) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก กิจกรรมของมนุษย์หลายประการมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ดังนี้
การเกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) สาเหตุสืบเนื่องมาจากการสะสมของ ก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ เช่น ก๊าซคาร์บอน ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ที่เป็นซากสิ่งมีชีวิตและก๊าซมีเทนซึ่งเกิดจากการเน่าเปื่อยของสิ่งมีชีวิตเป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ระบบนิเวศจะเปลี่ยนแปลงจากภาวะปัจจุบันบรรยากาศโอโซนถูกทำลาย ในปัจจุบันได้เกิดภาวะที่รุนแรงขึ้นกับโลก และกำลังมี ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บนโลกทั้งบนบกและในทะเลคือการที่รังสีีอัลตราไวโอเลตส่องผ่าน ชั้นบรรยากาศลงสู่พื้นโลกมากเกินไปเนื่องจากบรรยากาศชั้นโอโซนถูกทำลาย
(4) เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
หมายถึง ของเสียหรือสิ่งแปลกปลอมที่ปนเปื้อน และก่อให้ เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยมลพิษจากแหล่งชุมชน มลพิษจากแหล่งอุตสาหกรรม และมลพิษ จากแหล่งเกษตรกรรม
2. ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้ว หากนำมาใช้อย่างไม่่ระมัดระวังก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ได้ เช่น
(1) ปัญหาการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ หากไม่มีการป้องกันหรือแก้ไข ในอนาคตก็จะเกิดปัญหาวิกฤติประชากรได้
(2) สูญเสียความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดจากความเจริญก้าวหน้า ด้านการคมนาคม ขนส่ง การสื่อสาร ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งคนรุ่นหลัง ไม่มีเวลาในการคัดเลือกสิ่งดี ของภูมิปัญญาดั้งเดิมมาปรับใช้
(3) สูญเสียความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม สถาบันต่าง ๆ
ทางสังคม เช่น ครอบครัว ชุมชนศาสนาการศึกษามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของสมาชิกในสังคมน้อยลง สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทำให้เกิด ปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม โสเภณี คอร์รัปชัน การว่างงาน
ประเด็นคำถาม
1. อธิบายปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมาให้เข้าใจ
2. อธิบายแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมาให้เข้าใจ
กิจกรรมเสนอเสนอแนะ
1. จัดป้ายนิเทศหรือนิทรรศการเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. รณรงค์การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน ชุมชน สังคม
3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์้ในการอ่านบทความ ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การอภิปราย โต้เวที เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อม
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1.ที่มา: https://images.google.co.th/images?
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1735