ทำไมต้องทราบปัญหาสาธารณสุขของไทย


624 ผู้ชม


นักวิจัยเร่งแก้ปัญหาหลังพบว่า เป็นต้นเหตุของมะเร็งท่อน้ำดีสูงที่สุดในประเทศและในโลก แนะป้องกันด้วยการงดกินปลาน้ำจืดดิบ...   
         นพ.วัชร พงศ์ พุทธิสวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าววันนี้ (20 ต.ค.) ว่า สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีสูงที่สุดในประเทศและในโลก ดังนั้นมะเร็งท่อน้ำดีจึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่จำเพาะและสำคัญของชาวอีสาน นับแต่อดีตจนถึงขณะนี้ เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้พบน้อยมากในชาวตะวันตก จึงทำให้การวิจัยและรายงานการศึกษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี ในระดับสากลมีน้อยและมีผู้สนใจในวงจำกัด
         ผอ.ศูนย์พยาธิใบไม้ตับและ มะเร็งท่อน้ำดีฯ ม.ขอนแก่น กล่าวต่อว่า แม้ว่ารายงานระบาดวิทยาของผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศ ตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่มะเร็งท่อน้ำดีที่เกิดขึ้นในคนไทย มีสมมติฐานของโรคที่แตกต่างจากคนในประเทศตะวันตก ในแถบเอเชีย ตะวันออก ดังนั้นข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในชนชาติอื่น จึงไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทยได้โดยตรง
        นพ.วัชรพงศ์ กล่าวอีกว่า การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งชาติ และได้เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการเรื่องพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จึงถือเป็นเวทีหนึ่งของประเทศไทย และเป็นเวทีที่สำคัญในการช่วยกันสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่มีการนำผลงานวิจัยจากห้องทดลอง ให้เข้าใกล้และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงในผู้ป่วยและชุมชน โดยเป็นเป้าประสงค์หลักของศูนย์วิจัยฯ เพราะจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักวิจัยไทย ต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และองค์ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งท่อน้ำดีในคนไทย
       ผอ.ศูนย์พยาธิใบไม้ ตับและมะเร็งท่อน้ำดีฯ ม.ขอนแก่น กล่าวด้วยว่า เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี เป็นปัญหาสาธารณสุขที่อยู่คู่กับคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาช้านาน แม้จะทราบมานแล้วว่า การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี และการงดกินปลาน้ำจืดดิบ เป็นหนทางหนึ่งที่จะป้องกันมะเร็งท่อน้ำดีได้ แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในภาคอีสานก็ไม่ได้ลดลงเลย

ที่มา: https://images.google.co.th/imgres?


สาระที่ ๔ :การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ ๔.๑: เห็นคุณค่า และมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5)
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.บอกปัญหาสาธารณสุขที่สำคุญของประเทศไทยได้
2.วิเคราะห์สาเหตุและอธิบายปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยได้
3.เสนอแนะการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ

หลักการที่สำคัญของการสาธารณสุขมูลฐานมี 4 ประการ คือ  


        1. การมีส่วนร่วมของชุมชน (People Participation = P.P หรือ Community Participation, Community Involvement = C.I) ซึ่งสำคัญตั้งแต่การเตรียมเจ้าหน้าที่ เตรียมชุมชน การฝึกอบรม การติดตามดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามาร่วมช่วยเหลืองานด้านสาธารณสุข ทั้งด้านกำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มิได้หมายถึงชุมชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการพัฒนา หากแต่หมายถึงประชาชนในชุมชนนั้นเป็นผู้ตระหนักถึงปัญหาของชุมชนของตนเป็นอย่างดี จึงเป็นผู้กำหนดปัญหาสาธารณสุขของชุมชนนั้นเอง เป็นผู้วิเคราะห์ปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน ทั้งนี้ โดยชุมชนมีความสามารถในการแยกแยะได้ว่าวิธีการแก้ปัญหาใดประชาชนในชุมชนสามารถแก้ไขได้ วิธีการใดอยู่นอกเหนือความสามารถของชุมชน ก็ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลหรือองค์กรภายนอกเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างของรูปแบบการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้แก่  
            -  การสำรวจและใช้ผลการสำรวจความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) 
          -  การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข
          -  การจัดตั้งศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.)
          -  การคัดเลือกและฝึกอบรม อสม. กสค. เป็นต้น  
    
        2. การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology = AT) เทคนิคและวิธีการที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน ควรเป็นเทคนิควิธีการที่ง่ายไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก เหมาะสมกับแต่ละสภาพท้องถิ่นและประชาชนสามารถปฏิบัติได้ เทคนิควิธีการซึ่งหมายรวมตั้งแต่วิธีการค้นหาปัญหา ขบวนการในการแก้ไขปัญหา จนกระทั่งถึงเทคนิคในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง เช่น การทำระบบประปาด้วยปล้องไม้ไผ่ การใช้สมุนไพรในชุมชน การใช้ระบบการนวดไทยเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย เป็นต้น เทคนิคเหล่านี้อาจเป็นภูมิความรู้ดั้งเดิมในชุมชน ที่ชุมชนมีการถ่ายทอดในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของตนเองมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เช่น การใช้ยาหรือแพทย์แผนไทยในการรักษาพยาบาลโรคบางอย่าง หรือการนวดไทย หรือเป็นภูมิความรู้ใหม่ที่ชุมชนได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่าเหมาะสมกับชุมชนในการแก้ปัญหา เช่น การใช้อาหารเสริมในการแก้ไขปัญหาโภชนาการ การจัดทำโอ่งน้ำเพื่อเก็บน้ำสะอาด เป็นต้น หากการเรียนรู้ไปยังอีกชุมชนหนึ่งในลักสณะที่ประชาชนถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชนด้วยกันเอง อาจจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือโดยการสนับสนุนช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ โดยวิธีการที่เรียกว่า การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างหมู่บ้าน หรือ TVDV (Technology cooperation among developing villages) จะทำให้ขบวนการเรียนรู้เหล่านี้เป็นไปโดยกว้างขวาง รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนในการแก้ไขปัญหาของเขาเองที่ประชาชนสามารถปฏิบัติได้  
    
        3. มีการปรับระบบบริการพื้นฐานของรัฐเพื่อรองรับการสาธารณสุขมูลฐาน (Reoriented Basic Health Service = BHS) หรือ Health Infrastructure ระบบบริการของรัฐ และระบบบริหารจัดการที่มีอยู่แล้วของรัฐ จะต้องปรับให้เชื่อมต่อและรองรับงานสาธารณสุขมูลฐานด้วย ทั้งนี้โดยมีความมุ่งหมาย ดังนี้ คือ 
         3.1 ต้องการให้เกิดการกระจายการครอบคลุมบริการให้ทั่วไป (Coverage)
          3.2  การกระจายทรัพยากรลงสู่มวลชน (Resource Mobilization)
          3.3 การจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ (Referal System) 
        ในช่วงเวลาที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข มีความพยายามที่จะปรับระบบบริการสาธารณสุขของรัฐให้เอื้อต่องานสาธารณสุขมูลฐาน ดังจะพิจารณาได้จากโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ  
                    -  โครงการบัตรสุขภาพ
                    -  โครงการพัฒนาระบบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค (พบส.)
                    -  คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)  
        เป้าหมายของการปรับเปลี่ยนระบบบริการสาธารณสุข ก็เพื่อที่จะทำให้ประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้ รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง การปรับเปลี่ยนระบบบริการจะต้องมีการดำเนินงานในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับสถานีอนามัยซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอ โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ในระดับจังหวัด รวมทั้งสถานบริการเฉพาะทางต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลอย่างต่อเนื่องเมื่อมีความจำเป็น  
    
        4. การผสมผสานกับงานของกระทรวงอื่น ๆ (Intersectoral Collaboration = IC) งานสาธารณสุขมูลฐานจะสำเร็จผลได้ต้องผสมผสานทำงานไปด้วยกันได้ ทั้งภายในกระทรวงและต่างกระทรวง แนวคิดที่สำคัญของการดำเนินงานในด้านนี้ คือ การประสานเพื่อให้หน่วยงานอื่นทำงานในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้น ๆ ในลักษณะที่ส่งเสริมหรือสอดคล้องกับการพัฒนาด้านสุขภาพ ไม่ใช่ขอให้บุคลากรของหน่วยงานอื่นมาร่วมกันปฏิบัติงานภาคสาธารณสุข ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การประสานงานระหว่างสาขาเป็นไปอย่างได้ผล คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ว่า การดำเนินงานเรื่องอะไร ของหน่วยงานใดจะมีส่วนในการส่งเสริมการมีสุขภาพดี เช่น การศึกษา การเกษตร การปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชน ฯลฯ  
        การประสานความร่วมมือต้องดำเนินการในหลายระดับ แต่ที่สำคัญนั้นหากสามารถสร้างให้เกิดความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาในชุมชนเป็นหลัก โดยให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดหรือตัดสินใจ ก็จะช่วยให้ความร่วมมือนั้นชัดเจนและมีประสิทธิภาพ รูปแบบสำคัญที่มีการศึกษาวิเคราะห์และมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการประสานงานระหว่างสาขา คือ การใช้ จปฐ. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งในแง่ของการส่งเสริมการประสานงานระหว่างสาขานั้นถูกเน้นหนัก คือ การประสานงานเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ยอมรับและร่วมกันใช้เป้าหมาย จปฐ. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตนเองเป็นเป้าหมายในการทำงานกับประชาชนในพื้นที่ หรือหากจะมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายและตัวชี้วัด จปฐ. ก็ต้องปรับเปลี่ยนโดยมุ่งวิเคราะห์ให้เห็นประโยชน์ต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน  

ที่มา:https://www.nakhonphc.go.th/learn_1-6.php


 ประเด็นคำถาม
1.จงอธิบายปัญหาสาธารณสุขที่สำคุญของประเทศไทยมาให้เข้าใจ
2.จงอธิบายสาเหตุและอธิบายปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยมาให้เข้าใจ
3.จงเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ

กิจกรรมเสนอเสนอแนะ

1.แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย ให้ศึกษาปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยจัดป้ายนิเทศหน้าห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
2.มอบหมายให้นักเรียนเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขโดยเขียนเป็นแผ่นกระดาษติดหน้าชั้นเรียน 
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิเคราะห์บทความการสาธารณสุขของประเทศไทย
2.สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในชุมชนแก้ปีญหาสาธารณสุข
3.สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  การเขียนกราฟแสดงลำดับปัญหาของสาธารณสุข
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1.ที่มา: https://images.google.co.th/imgres?
2.ที่มา:https://www.sema.go.th/files/Content/Healthiness/k4/0006/pkten/content12/solve1.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1770

อัพเดทล่าสุด