กระบี่กระบอง จัดเป็นการเล่นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่จัดให้มีท่าไม้รำประเภทต่าง ๆ นักเรียนจะต้องศึกษาและฝึกทักษะการรำให้ได้
ภาพจาก..www.suriyothai.ac.th/node
สาระที่ 3 : การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย เกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1: เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ 3.2: รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำ
อย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณ
ในการแข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง
1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการรำไม้รำที่ 3
2.สามารถตระหนักและปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหวการรำไม้รำที่ 3
เนื้อหาสาระ
ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง ( เดินตรง )
• ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
• มือซ้ายรำหน้า
• วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายมาจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังทางขวา
• หมุนข้อมือ บิดไปทางขวา ให้โกร่งกระบี่อยู่นอกกระบี่เฉียงลง 45 องศา แขนขวาชิดข้างหู งอแขนเล็กน้อย หน้าก้ม โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
• หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ขณะที่ยกเท้าขวาอยู่โดยใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก วางเท้าขวาลง
• ลดกระบี่ลงอยู่ข้างเอวทางซ้าย ฝ่ามือซ้ายทาบกระบี่ โกร่งกระบี่หัน ลงสู่พื้น ปลายกระบี่ชี้ลง โล้ตัวไปข้างหน้า
• วางเท้าขวาลง วาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา มือซ้ายจีบไว้ที่อก อยู่ในท่าคุมรำ
ประเด็นคำถาม
1. การสร้างเสริมสุขภาพทางกายในการเล่นกระบี่กระบองมีผลดีอย่างไร
2. นักเรียนคิดว่าท่ารำของกระบี่กระบองให้ประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร
3. นักเรียนบอกได้ไหมว่าการเล่นกระบี่กระบองมีผลกระทบกับร่างกายดีอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรืออินเตอร์เน็ต
2. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอร์ดเกี่ยวกับท่าไม้รำของกระบี่กระบอง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย การอ่านจับใจความ การสรุปบทความ
2. วิทยาศาสตร์ ระบบการไหลเวียนโลหิตและการเต้นของหัวใจ
3. คณิตศาสตร์ การคำนวณเวลาในขณะเคลื่อนไหวของท่าไม้รำ
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) อาหารและโภชนาการสนองต่อการอออกำลังกาย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1826