โรคมะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma)


645 ผู้ชม


โรคมะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma) พบ ได้ในวัยเด็กมากที่สุด ประมาณ 1 ราย ต่อเด็กเกิดใหม่ 15,000-20,000 ราย และเด็กที่เป็นโรคนี้ มีโอกาสเป็นมะเร็งทั้งสองตาได้ประมาณร้อยละ 15-25 โรคมะเร็งจอประสาทตาเป็นได้ตั้งแต่แรกเกิด มักพบในเด็กอายุระหว่าง 2-5 ปี   


ภาพจาก...sukson.com

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้         สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                         ช่วงชั้นที่ 3  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
       
หน่วยการเรียนรู้ที่  5                          เรื่อง   การป้องกันโรค
        สาระที่ 4                                     การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
        มฐ.พ. 4.1                                -  วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการส่งเสริม
                                                          สุขภาพและการป้องกันโรค
                                                      -  มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการ
                                                          ป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสำคัญ
                                                          ของตนเอง

เนื้อหาสาระ
โรคมะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma)

        และจะพบได้น้อยมากที่เริ่มเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาหลังอายุ 7 ปีไปแล้ว โรคมะเร็งจอประสาทตาเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กตาบอดมากถึงร้อยละ 5 ของทั้งหมด แต่ผู้ป่วยโรคมะเร็งจอประสาทตา ถ้าได้รับรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ตาจะไม่บอดมากถึงร้อยละ 85 
ปัจจัยทางพันธุกรรม 
        ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งจอประสาทตา เกิด จากปัจจัยทางพันธุกรรม โรคมะเร็งจอประสาทตามักเป็นกับเด็กเล็ก อายุน้อยละ 2 ปี อาจเป็นข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ กรณีที่เป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาข้างเดียว มักไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม และเป็นกับเด็กโต ส่วนกรณีที่เป็นทั้งสองข้าง ทั้งหมดเกิดจากพันธุกรรม เด็กที่เป็นโรคมะเร็งจอประสาทตา มักจะเกิดโรคมะเร็งชนิดที่สองเกิดขึ้นในภายหลัง ความเสี่ยงสูงขึ้นในกรณีโรคมะเร็งจอประสาทตาเกิดจากพันธุกรรม และเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง หรือได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คตลอดชีวิต สำหรับโรคมะเร็งจอประสาทตาที่เป็นโรคข้างเดียว ต่อมาอาจเกิดขึ้นใหม่อีกข้างหนึ่งได้ จำเป็นต้องติดตามอาการอยู่เป็นระยะๆ ภายหลังการรักษา 
        โรคมะเร็งจอประสาทตาเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ถ้า มีลูกคนแรกเป็นและมีประวัติเป็นมะเร็งชนิดนี้ในครอบครัว ลูกคนต่อไปจะมีโอกาสเป็นมะเร็งจอประสาทตาได้ประมาณร้อยละ 45 แต่ถ้าไม่มีประวัติมะเร็งชนิดนี้ในครอบครัวหรือไม่มีความผิดปกติทางพันธุ กรรม แต่มีลูกคนแรกเป็นโรคนี้ ลูกคนถัดไปจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาได้ร้อยละ 4 
อาการและสิ่งตรวจพบ 
        อาการที่สำคัญและพบได้บ่อยที่สุดของผู้ป่วยโรคมะเร็งจอประสาทตา คือ มองเห็นจุดขาวในตาดำ หรือมองเห็นตาวาวๆ ในตอนหัวค่ำ หรืออาจสงัเกตเห็นได้จากจากภาพถ่าย หากผู้ปกครองสังเกตเห็นลูกมีตาสีออกวาวๆ คล้ายตาแมว ควรรีบพาไปพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจให้ละเอียดต่อไป ลักษณะที่ผิดปกติของรูม่านตาดังกล่าวที่พบในโรคมะเร็งจอประสาทตา เรียกว่า leukocoria 

อาการอื่นๆ ของโรคมะเร็งจอประสาทตาที่อาจพบ ได้แก่ 
       ตาเหล่ 
       ตาอักเสบ 
       ต้อหิน 
       มีเลือดออกในช่องหน้าลูกตา 
       กระบอกตาอักเสบ 
       ลูกตาสั่น 

การวินิจฉัยโรค 
       ทารกแรกเกิดที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตา ควร ได้รับการตรวจตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ทุกราย ส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะสังเกตเห็นความผิดปกติที่รูม่านตา และพาลูกมารับการตรวจเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล ซึ่งจักษุแพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด หลังจากขยายรูม่านตาแล้ว การตรวจจอประสาทตาด้วยการส่องกล้อง ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวเรียกว่า indirect ophthalmoscope จะสามารถเห็นก้อนเนื้องอกได้อย่างชัดเจน ซึ่งการใช้ indirect ophthalmoscope จะสามารถตรวจได้ละเอียดและชัดเจนกว่ากล้องชนิดธรรมดา hand-held direct ophthalmoscope เนื่องจากกำลังขยายมากกว่า มองเห็นภาพของจอประสาทตาได้ชัดเจนกว่า จากนั้นแพทย์จะทำการบันทึกภาพถ่ายไว้เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคมะเร็งจอ ประสาทตา ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ และการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะช่วยในการวินิจฉัยโรค และช่วยให้เห็นว่าโรคมีการกระจายไปยังตำแหน่งอื่น ๆ อีกด้วยหรือไม่ เป็นการประเมินความรุนแรงของโรคที่ดีที่สุด 
        การวินิจฉัยโรคมะเร็งจอประสาทตาในระยะแรกเริ่มของโรค และการวางแผนรักษาในทันที จะ ช่วยให้สามารถรักษาประสาทการมองเห็นไว้ได้ ทำให้เด็กไม่ตาบอด และช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นมาก ปัจจัยสำคัญคือ โรคลุกลามไปมากน้อยเพียงใด ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าโรคมะเร็งชนิดนี้ในเด็กเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ อัตราการอยู่รอด 5 ปี ของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 90 ในทางตรงกันข้าม หากทิ้งไว้และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะทำให้เด็กเสียชีวิต และโอกาสที่จะเกิดโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ตามมาภายหลังสูงมาก เด็กที่เป็นมะเร็งจอประสาทตาและมีชีวิตเติบโตจนเป็นผู้ใหญ่ มีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดอื่นได้ด้วย เช่น มะเร็งที่กระดูก มะเร็งที่ผิวหนัง หรือมะเร็งที่เนื้อเยื่อต่างๆ โดยมีความเสี่ยงประมาณร้อยละ 40 ภายใน 40 ปี 
แนวทางการรักษา
        การรักษาโรคมะเร็งจอประสาทตา ขึ้น กับว่าโรคเป็นข้างเดียวหรือสองข้าง, ความรุนแรงของโรคมากน้อยขนาดไหน, เด็กยังมองเห็นอยู่หรือไม่ แพทย์สามารถป้องกันไม่ให้เด็กตาบอดได้หรือไม่ และประการสุดท้าย โรคมะเร็งลุกลามออกไปแล้วหรือยัง มากน้อยขนาดไหน 
        ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่ เนื้องอกเป็นข้างใดข้างหนึ่ง และไม่สามารถรักษาสภาพการมองเห็นได้แล้ว หลัก การรักษาคือ การผ่าตัดเอาลูกตาออก เรียกว่า enucleation ถือเป็นการผ่าตัดที่ไม่ยาก และแพทย์สามารถใส่ลูกตาปลอมให้เด็กได้ภายใน 3-6 สัปดาห์หลังผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้จะทรมานจิตใจทั้งผู้ปกครองและแพทย์ผู้รักษามากจนบาง ครั้งผู้ปกครองบางคนปฏิเสธการรักษา และเปลี่ยนไปรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือนำเด็กกลับไปอยู่บ้านเฉย ๆ และกลับมาพบแพทย์อีกทีเมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปมาก จนอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้ามะเร็งเป็นมากจนมีข้อบ่งชี้ว่าต้องผ่าตัดควักดวงตาออก ก็ควรจะควักออก เพื่อที่จะรักษาชีวิตของเด็กเอาไว้ ส่วนเรื่องที่ไม่มีดวงตานั้น แพทย์สามารถใส่ตาปลอมที่เป็นพลาสติกแทนได้ ทำให้เด็กไม่มีปัญหาเรื่องความสวยงาม ที่สำคัญอย่าพาเด็กไปอยู่บ้านเฉยๆ เพราะเด็กจะเป็นมากจนเสียชีวิตได้ แทนที่จะเสียดวงตาเท่านั้น 
        ถ้าเนื้องอกเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง แต่ แพทย์คิดว่ายังสามารถรักษาประสาทการมองเห็นไว้ได้ในตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง แพทย์จะแนะนำให้เลือกรักษาโดยวิธีอนุรักษ์ดวงตา conservative treatments ซึ่งได้แก่ การรักษาด้วยวิธีการฉายแสง Radiation หรือการรักษาให้ยาเคมีบำบัด chemotherapy เพื่อให้ก้อนเนื้องอกยุบลงเสียก่อน จากการศึกษาวิจัยพบว่า การรักษาเฉพาะที่โดยวิธีฝังสารกัมมันตรังสีชนิด brachytherapy หรือการรักษาโดยใช้วิธีการยิงเลเซอร์ photocoagulation หรือวิธีการจี้ด้วยความเย็น ที่เรียกว่า cryotherapy ล้วนได้ผลดีในผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งเป็นการกำจัดเนื้องอกและสามารถรักษาประสาทการมองเห็นของเด็กไว้ได้ 
        การฉายแสงรังสีรักษาจะเป็นวิธีที่ได้ผลดีมากในผู้ป่วยบางราย โดย ทั่วไปถือว่าโรคมะเร็งจอประสาทตาเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่ตอบสนองต่อการรักษา โดยการฉายแสง อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการรักษาโดยการฉายแสงที่สำคัญ คืออาจทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง ก่อให้เกิดเป็นต้อกระจกในภายหลังได้ และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อจอรับภาพภายในลูกตาได้เช่นกัน นอกจากนี้ การฉายแสงจะมีผลต่อการเจริญของเนื้อเยื่อกระดูกที่อยู่ใกล้ ๆ ลูกตา อาจทำให้เกิดมะเร็งของเนื้อเยื่ออื่น ๆ ขี้นมาใหม่ได้ การฉายแสงทำได้สองวิธี วิธีแรกเรียกว่า external beam radiation หมายถึง การฉายแสงจากแหล่งกำเนิดภายนอกร่างกาย วิธีที่สอง เรียกว่า brachytherapy หมายถึงการฝังสารกัมมันตรังสีไว้ที่ตำแหน่งก้อนมะเร็งหรือบริเวณใกล้เคียง 
        สำหรับการรักษาโดยการยิงเลเซอร์ หรือที่เรียกว่า Photocoagulation เป็น การรักษาโดยใช้ลำแสงเลเซอร์ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อมะเร็ง ส่วนการรักษาด้วยวิธีการจี้ความเย็น เรียกว่า Cryotherapy เป็นการรักษาโดยใช้ความเย็นทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีการจี้ความเย็นใช้ได้กับเนื้องอกที่มีขนาดเล็กเท่านั้น และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรจี้หลายๆ ครั้ง ที่สำคัญคือไม่ควรเลือกใช้วิธีนี้ หากตรวจพบมะเร็งจำนวนหลายก้อน 
        การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด อาจพิจารณาใช้ยาชนิดเดียว หรือให้ยาหลายชนิดร่วมกันส่วน ใหญ่เป็นยาฉีดเข้าเส้นเลือด โดยทั่วไปโรคมะเร็งจอประสาทตาจะไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แต่ในบางรายจะได้ผลดี เมื่อใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อทำให้ก้อนเนื้องอกมีขนาดเล็กลง แล้วตามด้วยการยองเลเซอร์ หรือจี้ความเย็น หรือฝังสารกัมมันตรังสีไว้ที่ก้อนเนื้องอก จะช่วยทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จมากขึ้น ในกรณีที่มะเร็งกระจายออกไปนอกลูกตา อาจพิจารณาใช้ยาเคมีบำบัดร่วมในการวางแผนการรักษาด้วย 

ประเด็นคำถาม
        1. การศึกษาแหล่งที่มาหรือสาเหตุของโรคมะเร็งมีผลเสียอย่างไร
        2. นักเรียนทราบไหมว่าผู้หญิงกับผู้ชายอัตราการเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตามากที่สุด
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่า อันตรายจากการเป็นโรค
มะเร็งจอประสาทตาจะมีผลโดยตรงต่อเราอย่างไร
       
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
        2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับโรค
มะเร็งจอประสาทตา
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบอวัยวะภายนอกร่างกายที่สำคัญ
        3. สังคมศึกษา   สิทธิการเข้ารักษาโรคในโรงพยาบาลของรัฐ
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการออกำลังกาย
        5. ศิลปะ           วาดภาพอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย

แหล่งข้อมูลที่มา https://www.super-optical.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1856

อัพเดทล่าสุด