กีฬาฟุตซอล...กติกาข้อที่ 2


733 ผู้ชม


ฟุตซอล(Futsal)... กติกาข้อ 2 ลูกบอล (The Ball)   


ภาพจาก..kroobannok.com

กลุ่มสาระการเรียนรู้                    สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3)
                         สาระที่ 3 :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
                         มาตรฐาน พ 3.1:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
                         มาตรฐาน พ 3.2: รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ 
                                                 อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณ
                                                 ในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง

      1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะตามกติกา
      2.สามารถรู้และปฏิบัติตามกฎกติกาฟุตซอล

เนื้อหาสาระ

กติกาข้อ 2 ลูกบอล (The Ball) 
คุณลักษณะและหน่วยการวัด (Qualities and Measurements) 
ลูกบอลต้อง เป็นทรงกลม 
ทำด้วยหนัง หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสม 
เส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 62 เซนติเมตร และไม่เกินกว่า 64 เซนติเมตร 
ขณะเริ่มการแข่งขันน้ำหนังไม่น้อยกว่า 400 กรัม และไม่มากกว่า 440 กรัม 
ความดันลม 0.4-0.6 ระดับบรรยากาศ (400-600 กรัมต่อตารางเซนติเมตร) ที่ระดับน้ำทะเล 
การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุด (Replacement of a Defective Ball) 
ถ้าลูกบอลแตกหรือชำรุดในระหว่างการแข่งขันจะดำเนินการดังนี้ 
การแข่งขันต้องหยุดลง 
เริ่มเล่นใหม่โดยการปล่อยลูกบอล (Dropped Ball) ณ ที่ลูกบอลตก (ชำรุด) 
ถ้าลูกบอลเกิดแตกหรือชำรุดในขณะบอลอยู่นอกการเล่น ให้เริ่มเล่นใหม่โดยการเตะเริ่มเล่น การเล่นลูกจากประตู การเตะจากมุม การเตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการเตะเข้าเล่น 
การเริ่มเล่นให้เป็นไปตามกติกาในขณะแข่งขันการเปลี่ยนลูกบอลจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน 
ข้อตกลง (Decisions) 
    ในการแข่งขันระหว่างชาติไม่อนุญาตให้ใช้ลูกบอลที่ทำด้วยสักหลาด การทดสอบลูกบอลให้ปล่อยจากความสูง 2 เมตร โดยวัดจากการกระดอนครั้งแรกต้องกระดอนจากพื้นไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร และไม่สูงกว่า 65 เซนติเมตร ในการแข่งขันลูกบอลที่ใช้ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการทางเทคนิคอย่างน้อยที่สุดตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 2 เท่านั้นจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้ ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติและการแข่งขันภายในความรับผิดชอบดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ต้องมีสัญลักษณ์ 3 อย่าง ดังนี้

  • ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA APPROVED)
  • ได้รับการตรวจสอบจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA INSPECTED)
  • ลูกบอลมาตรฐานใช้ในการแข่งขันระหว่างชาติ (INTERNATIONAL MATCH BALL STANDARD)

     สัญลักษณ์ที่มีอยู่จะชี้บอกว่าลูกบอลที่มีสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้ถูกทดสอบอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และการแข่งขันภายในความรับผิดชอบดูแลของสมาพันธ์ต่าง ๆ ลูกบอลที่ใช้ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการทางเทคนิคอย่างน้อยที่สุดตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 2 เท่านั้นที่จะอนุญาตให้ใช้ได้ การยอมรับลูกบอลที่ใช้ดังกล่าวข้างต้น จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นบนลูกบอลว่าเป็นไปตามความต้องการทางเทคนิคดังกล่าว 
     สมาคมฟุตบอลแห่งชาติ สามารถออกกฎบังคับการใช้ลูกบอลที่มีสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งจากเงื่อนไข 3 ประการ สำหรับการแข่งขันภายในประเทศ หรือการแข่งขันอื่น ๆ ทุกรายการลูกบอลจะต้องเป็นไปตามกติกาข้อ 2 
     ในกรณีที่สมาคมฟุตบอลแห่งชาติ บังคับใช้ลูกบอลที่มีสัญลักษณ์ได้รับการรับรองจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA APPROVED) และได้รับการตรวจสอบจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA INSPECTED) แต่สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสามารถอนุญาตให้ใช้ลูกบอลมาตรฐานใช้ในการแข่งขันระหว่างชาติ (INTERNATIONAL MATCHBALL STANDARD) ก็ได้ 
     ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติและในรายการแข่งขันที่อยู่ภายในการดูแลของสมาพันธ์ และสมาคมฟุตบอลแห่งชาติ ไม่อนุญาตให้ทำการโฆษณาสินค้าบนลูกบอล ยกเว้นสัญลักษณ์ของการแข่งขันและผู้จัดตั้งการแข่งขัน หรือสัญลักษณ์การค้าที่ได้รับอนุญาตจากกฎเกณฑ์ของการแข่งขัน และอาจจะจำกัดขนาดและจำนวนของเครื่องหมายเหล่านั้น


ประเด็นคำถาม
        1. เส้นรอบวงของลูกฟุตซอล มีขนาดอย่างไร
        2. นักเรียนคิดว่าการออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตซอลให้ประโยชน์ต่อร่างกายคนเราอย่างไร
        3. นักเรียนบอกได้ไหมว่าการรักษาความปลอดภัยกับเล่นกีฬาประเภทอื่นอย่างไหนถึงจะดี..
       
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรืออินเตอร์เน็ต
        2. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอร์ดเกี่ยวกับกีฬาฟุตซอล
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบการไหลเวียนโลหิตและการเต้นของหัวใจ
        3. คณิตศาสตร์   การคำนวณเวลาในการออกกำลังกาย
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)  อาหารและโภชนาการสนองต่อการอออกำลังกาย
แหล่งที่มา...สำนักงานพัฒนากีฬาและนันทนาการ

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1953

อัพเดทล่าสุด