มาเรียนรู้ทักษะกรีฑา ตอนจบ


680 ผู้ชม


ร.ร.ชลประทานผาแตก สร้างสถิติประเทศไทยใหม่ล่าสุดแชมป์วิ่ง 31 ขา สามัคคี ปี 5   

             โดยในปีนี้ทีมโรงเรียนชลประทานผาแตก จากจังหวัดเชียงใหม่ สามารถสร้างสถิติการวิ่ง 31 ขาสามัคคี ใหม่ล่าสุดให้กับประเทศไทย ด้วยเวลา08.53 วินาที คว้าถ้วยรางวัลเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พร้อมทุนพัฒนาทีม50,000 บาทไปครอง

               นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า"กีฬาวิ่ง 31 ขา สามัคคี เป็นกีฬาที่ต้องอาศัย 3S นั่นคือ Synchronization ความประสานกลมเกลียวกันของนักกีฬารุ่นเล็กทั้ง 30 คน บวกกับ Strength พละกำลัง และ Speed ความเร็ว ซึ่งทั้ง 3S นี้จะต้องอาศัยการฝึกฝนร่วมกันของทั้งทีม และเมื่อทั้ง 3 สิ่งนี้มารวมกันก่อให้เกิด S ที่ 4 คือ Sportsmanship ความมีน้ำใจนักกีฬา ฝึกเรื่องความมีวินัยให้กับเด็กนักเรียน ซึ่ง สพฐ.มีความภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกีฬาวิ่ง 31 ขา สามัคคี และยินดีที่จะเดินหน้าสนับสนุนกีฬาวิ่ง 31 ขา เพื่อให้เด็กไทยทั่วประเทศได้มีโอกาสได้เล่นกีฬาชนิดนี้"

           ทีมโรงเรียนชลประทานผาแตกรั้งอันดับที่ 25 ในการแข่งขันรอบคัดเลือก จากทีมที่เข้ารอบทั้งหมด 30 ทีมด้วยสถิติ 09.53 วินาที และสามารถสับขาสูงเข้าสู่เส้นชัยในรอบชิงแชมป์ด้วยสถิติ 08.53 วินาที ซึ่งอาจารย์อรุณ นำโชคชัยเจริญกุล ครูผู้ฝึกสอนทีม กล่าวว่า

           "ส่งทีมลงแข่งปีนี้เป็นปีที่ 3 ตอนแรกไม่คิดว่าจะเข้ารอบระดับประเทศ เพราะทีมยังไม่พร้อม มีเวลาซ้อมก่อนลงแข่งระดับภูมิภาคเพียงไม่กี่วัน แต่หลังจากเข้ารอบมาแล้วก็ฝึกซ้อมเด็กทุกวัน ซึ่งสถิติ 08.53

           ที่ทำได้ถือเป็นเวลาที่ดีที่สุด เพราะตอนฝึกซ้อมจับ เวลาได้ที่ 08.63 วินาที ต้องขอบคุณเด็กๆ ทุกคนที่ตั้งใจฝึกซ้อมและมุ่งมั่นจนมาถึงวันนี้ รวมถึงผู้ปกครองทุกคนที่ให้การสนับสนุนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และกำลังใจที่มอบให้กับเด็กๆ รางวัลที่ได้รับนับเป็นความภาคภูมิใจของโรงเรียน และเด็กทุกคน ผมเชื่อว่าถ้าเป็นการแข่งขัน ด้านกีฬาและออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นกีฬาชนิดไหนก็เป็นประโยชน์กับตัวเด็กทุกคน ทั้งด้านการสร้างเสริมพลานามัยที่แข็งแรง และยังเป็นผลงานสำหรับโอกาสทางการศึกษาของเด็กในอนาคตอีกด้วย"

            การแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทยเป็นการแข่งขันที่รวบรวมสุดยอดนักกีฬาจากทุกสารทิศทั่วไทยจำนวน 30 ทีมที่ทำสถิติเวลาได้ดีที่สุดผ่านเข้ามาเป็นทีมตัวแทนจากแต่ละภูมิภาค โดยนักกีฬาจะมีโอกาสวิ่งเพียง 1 รอบเท่านั้น เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณปล่อยตัวนักกีฬาทั้ง 30 ชีวิตจะต้องกอดคอรัดขา และพุ่งตัวไปข้างหน้าอย่างพร้อมเพรียงกัน หากมีเพื่อนร่วมทีมคนใดคนหนึ่งล้มลง หรือสายรัดข้อเท้าหลุด นักกีฬาทั้งทีมจะต้องหยุดและตั้งต้นวิ่งไปพร้อมกันอีกครั้งหนึ่ง

ที่มา:https://www.ryt9.com/s/bmnd/788635

กลุ่มสาระการเรียนรู้   สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)

สาระที่ 3 :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ 3.2: รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณ ในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง
      1.สามารถอธิบายกติกากรีฑาได้
      2.สามารถปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันกรีฑาได้

กติกากรีฑา

         หลักเกณฑ์ในการแข่งขันตามกติกา ดังนี้ ประเภทลู่
1. ประเภทวิ่ง 100ม.,200ม.,400ม.,ข้ามรั้ว 100ม.,ข้ามรั้ว 110ม
2. ประเภทวิ่ง 400ม.,800 ม.,วิ่งผลัด 4x100ม.,วิ่งผลัด 4x400ม
3. ประเภท 1,500ม
4. ประเภท 3,000ม.,วิ่งวิบาก 3,000ม
5. ประเภท 5,000 ม
6. ประเภท 10,000ม
  
การแข่งขันวิ่งผลัด
1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20ม. โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนัก
กีฬา
2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x200ม. นักกีฬาคนที่ 1และ2  จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3
จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด (เส้นโค้งแรกประมาณ 120 ม.)
3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x400 ม. คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตน
เองจนระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น 
เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 ม.ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่ง
เรียงตามลำดับออกมา
4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเองหรือภายใน
เขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4x100 ม.,4x400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีมให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว
แล้วตัดเข้าช่องในได้

การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว

        นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด 10 รั้ง ตลอดระยะทางการแข่งขัน สิ่งต้องห้าม - วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม

การแข่งขันประเภทลาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การแข่งขันประเภทกระโดด - กระโดดสูง,เขย่งก้าวกระโดด,กระโดดสูง,กระโดดค้ำถ่อ
2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง - ทุ่มน้ำหนัก,ขว้างจัก,ขว้างฆ้อน,พุ่งแหลน

กติกาการแข่งขันกระโดดไกล
        การแข่งขัน นักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคน จะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอ กันของอันดับที่ 1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น
        
กติกาการแข่งขันเขย่งก้าวกระโดด

          ประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบกระดานลงสู่พื้น
      
กติกาการกระโดดสูง
          จะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่ง
ขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ

กติกาการแข่งกระโดดค้ำถ่อ
         หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้งถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บ
การแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ    

กติกาการแข่งขันทุ่มน้ำหนัก
         นักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน การแข่งขันคนละ 3 ครั้ง ผู้ทำสถิติดีที่สุดทำการแข่งขัน รอบสุดท้ายถ้าไม่เกิน 8 คน คนละ 6 ครั้ง ทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลม ลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคาง และมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนักออกไป
         การฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมเพื่อทำการทุ่มแล้วสัมผัสภายนอกวงกลมหรือขอบบนของไม้ขวางหรือขอบบนไม้ขวางหรือขอบบนของวงกลมจะต้องวางอุปกรณ์ไว้ด้านนอกหรือภายในวงกลมแล้วเดินออกด้านหลัง ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บห้ามสวมถุงมือและสามารถใช้สารทามือได้ สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้ ห้ามฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า ลูกน้ำหนักต้องอยู่ภายในเส้นรัศมี และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกว่าลูกทุ่มน้ำหนักจะตกถึงพื้น

กติกาการขว้างจักร
       จักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมี ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้ว ต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้ จักรที่ขว้างออกไปแล้ว ห้ามขว้างกลับมาให้ถือกลับมาที่วงกลม ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรถึงเส้น

กติกาการขว้างฆ้อน
      ฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2ครั้ง การขว้างเริ่มจากในวงกลม เมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน หรือขอบของวงกลมจะไม่ถือว่าฟาล์ว แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือ
       ขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลม ห้ามสัมผัสพื้นดินนอกหรือขอบวงกลมจะถือว่าฟาล์ว
ถ้าเกิดหลุดหรือขาดกลางอากาศไม่ถือว่าฟาล์ว และถ้าเสียหลักจนเกิดการฟาล์ว 
       การประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกันตัวฆ้อนต้องตกภายในรัศมี ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าฆ้อนจะตกถึงพื้นอุปกรณ์ที่ขว้างไปแล้วห้ามขว้างกลับให้ถือกลับมา

กติการพุ่งแหลน
       ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน ห้ามใช้วิธีเหวี่ยง หรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆของแหลนถือว่าการแข่งขันไม่มีผล
       ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลายของส่วนโค้งถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล
หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่ แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ

กติกาการแข่งขันเดิน
     ลักษณะการเดินที่ถูกต้อง ก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำ ต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้า เมื่อเท้าหน้านำ สัมผัสพื้นแล้วต้องตึงชั่วขณะจนกว่าจะอยู่แนวตั้งฉากกับลำตัว

กติกาการแข่งขันประเภทรวม
ชาย (ปัญจกรีฑา,ทศกรีฑา)
1. ปัญจกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 ประเภท โดยทำการแข่งขันวันเดียวดังนี้ 
กระโดดไกล,พุ่งแหลน,วิ่ง 200ม.,ขว้างจักรและวิ่ง 1,500 ม
2. ทศกรีฑา 10 ประเภท จัดทำการแข่งขัน 2 วันติดต่อกัน
วันแรก วิ่ง 100ม.,กระโดดไกล,ทุ่มน้ำหนัก,กระโดดสูง,วิ่ง 400 ม
วันที่สอง วิ่งข้ามรั้ว 110 ม.,ขว้างจักร,กระโดดค้ำ,พุ่งแหลน,วิ่ง 1,500 ม.

หญิง (สัตตกรีฑา)
มีการแข่งขัน 5 ประเภท แข่ง 2 วันโดยมีดังนี้
วันแรก วิ่งข้ามรั้ว 100ม.,กระโดดสูง,ทุ่มน้ำหนัก,วิ่ง 800ม
 
ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการแข่งขันถ้าไม่เข้าแข่งขันหรือไม่ทำการประลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ถือว่าเลิกการแข่งขัน

ที่มา:https://dek-d.com/board/view.php?id=947090


ประเด็นคำถาม     
       1. จงอธิบายกติกากรีฑาประเภทลู่มาให้เข้าใจ
       2. จงอธิบายกติกากรีฑาประเภทลานมาให้เข้าใจ
               
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรืออินเตอร์เน็ต
        2. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอร์ดเกี่ยวการกติกากรีฑา

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความ 
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบการไหลเวียนโลหิตและการเต้นของหัวใจ
        3. คณิตศาสตร์   การคำนวณเวลาในอดีตจนถึงปัจจุบัน
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)  อาหารและโภชนาการที่มีผลต่อการแข่งขันกรีฑา

"สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องปฏิบัติเองครับ"

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2009

อัพเดทล่าสุด