อาหารตามท้องตลาดหรือตลาดนัด อย่าซื่อเพราะราคาถูก สาเหตุเพราะกระบวนการผลิตยังมิได้มาตรฐาน เพียงแต่ขายเอามากและราคาถูก
ภาพจาก Google
1. ขนมปังปี๊บ
วางขายทั่วไปตั้งแต่ร้านโชห่วยจนถึงซูเปอร์สโตร์เลยทีเดียว หลายคนชะล่าใจว่าวางขายในห้างแล้วจะปลอดภัยกว่าร้านขายของชำ จะบอกว่าวางขายที่ไหนก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้น เพราะกระบวนการผลิตขนมปังบรรจุปี๊บบางแห่งไม่มีคุณภาพ แถมบางรสอย่างเช่น ไส้สับปะรด แท้จริงแล้วผู้ผลิตบางเจ้าใช้มันแกวหรือพืชอื่นๆ กวนใส่น้ำตาลแทนสัปปะรดจริง แล้วใส่กลิ่นกับแกนสัปปะรดไปนิดหน่อย เพื่อลดต้นทุนอย่างน่าเกลียด
2. เชอรี่บนขนมเค้กราคาถูกตามตลาดสด
เชอรี่สีแดงสีเขียว วางประดับเหนือครีมสีขาวบนขนมเค้ก เราเห็นทั่วไปตั้งแต่ร้านเบเกอรี่จนถึงร้านขายของชำที่ชอบรับมาขายจากแหล่ง ที่บางครั้งก็ไม่ระบุที่มา หากเป็นเชอรี่เชื่อมของจริงผลจะมีสีแดงเข้ม รสชาดหวานอมเปรี้ยวจากผลไม้แท้ๆ แต่บางเจ้ากลับนำมะเขือเปาะฟอกสีจนใสเป็นวุ้น แล้วย้อมสีแดง ซึ่งก็คือผงฟอกสีทำให้เกิดภาวะเสื่อมในไต
ขนมหวานของหวานบางอย่างที่ไม่น่าเชื่อว่ายังจะใช้สารฟอกสีไปทำไม แต่ก็ใช้ไปแล้ว ก็อย่างเช่น มะม่วงกวน (แผ่นใสๆ) หรือยอดมะพร้าวขาวๆ ฉะนั้นต้องดูให้ดี
3. ซูชิในตลาดนัด
อาหารพื้นๆ สัญชาติญี่ปุ่น แต่ดันมาขายดิบขายดีในเมืองไทย และเมื่อแพร่ขยายมาถึงตลาดนัด ซึ่งผู้ขายจะนำมาจากแหล่งผลิตใด วัตถุดิบคืออะไร ก็ไม่มีใครทราบ แต่พอถึงเวลาขายก็เอาออกจากกล่องพลาสติกมาวางกลางอากาศร้อนๆ แถมในตลาดนัดรู้กันอยู่ว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค เมื่อของสดบวกกับความร้อนและเชื้อแบคทีเรียในอากาศ ผู้ที่ซื้อไปรับประทานก็จะมีอาการท้องร่วงท้องเสียตามมา
4.. เอแคลร์-ลูกชุบ
หรือขนมอะไรที่ต้องมีการปั้นๆ ถูๆ ต้องพึงระวังสุขอนามัย รวมถึงสีที่ใช้ซึ่งหลายเจ้าไม่้ได้ใช้สีผสมอาหาร ใครทานเข้าไปก็เตรียมใจรับสารตะกั่ว ควรซื้อกับร้านค้าที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงเท่านั้น
5. ลูกอมสีประหลาด
ขึ้นชื่อว่าลูกอมก็ไม่ใช่ของที่น่ารับประทาน เพราะรู้กันมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าทานมากก็ทำให้ฟันผุและมีน้ำตาลสูง แต่ถ้าเจอลูกอมสีแปลกๆ เช่น ฟ้า เขียว ม่วง สีจัดๆ สีเหล่านี้พ่อค้าแม่ค้าชอบนำมาขายเพราะเก็บไว้นาน สีไม่ซีด แต่อันตรายจากสีในลูกอมนั้นเต็มไปด้วยสารตะกั่วและโลหะหนัก ....แต่ทางที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงลูกอมทุกสี ทุกรส เพือ่สุขภาพที่ดีของปากและฟันเป็นดีที่สุด
6. อาหารทะเลปลายฤดูร้อน
ผู้หลักผู้ใหญ่เึคยบอกไว้ว่าช่วงปลายหน้าร้อนเข้าหน้าฝนอย่าหาของทะเลกิน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะสภาพอากาศที่มีฝนแรกตกชะฝุ่นบนพื้นดินลงทะเล ซึ่งสัตว์ทะเลจะกินฝุ่นดินนี้เข้าไป ก็จะทำให้มีเชื้อไวรัส แบคทีเรีย มากกว่าปากติ ฉะนั้นโอกาสท้องเสียจึงมีสูง หากจะทานก็ควรล้างน้ำเกลือให้สะอาด เพื่อชะล้างฝุ่นดินโคลนออกเสีย
7.อาหารสำเร็จรูปไมโครเวฟ
อาหารแพ็คสำเร็จรูปเดี๋ยวนี้มีวางขายหลากหลายยี่ห้อ ตอบสนองพฤติกรรมการกินของคนรุ่นใหม่ที่รีบเร่งและเน้นสะดวก หลายคนยังมีแก่ใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม ยอมเอาบรรจุภัณฑ์พลาสติกใส่อาหารล้างสะอาดเก็บไว้ใช้ต่อ แต่พลาสติกชนิดนี้ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำกลับเข้าไมโครเวฟมากกว่า 1 ครั้ง เพราะเคมีในพลาสติกจะซึมสลายปะปนกับอาหาร สะสมในร่างกาย
8. โยเกิร์ตตามซูเปอร์มาร์เก็ต
จะมาเดี่ยวๆ หรือมาเป็นแพ็ค แต่สังเกตกันบ้างหรือไม่ว่าโยเกิร์ตสมัยนี้ทำไมจึงผลิตออกมาได้มากมาย หลายรส หลายกลิ่น และทำไมหลายคนกินแล้วมีแต่อ้วนขึ้น! ก็เพราะผู้ผลิตบางเจ้าเติมแป้งลงไปเพื่อให้ได้ปริมาณและความข้น ขณะที่ผลไม้เชื่อมที่ใช้ก็ถูกสลายเกลือแร่และวิตามินซีไปนานแล้ว สิ่งที่ได้คือแป้งแต่งกลิ่นนมเปรี้ยว เติมสีและรสสังเคราะห์ ทำให้โยเกิร์ตมีราคาถูกนั่นเอง วิธีทดสอบง่ายๆ ลองหยดทิงเจอร์ไอโอดีนตามการทดลองวิทยาศาสตร์ตอนเด็กๆ ดู หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน แปลว่าคุณเจอโยเกิร์ตแป้งเข้่าแล้ว
การทานโยเกิร์ตให้ได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากนม จึงควรเลือกแบบโฮมเมด มีรสและกลิ่นตามธรรมชาติของนม และรสธรรมชาติทานคู่กับผลไม้สด เมล็ดธัญญาหาร หรือน้ำผึ้ง จะได้รับประโยชน์เต็มๆ กว่า
9. น้ำปลาเปิดขวดแล้ว
ควรมีอายุการใช้ไม่เกิน 1 เดือน เพื่อป้องกันการวางไข่ของแมลงวัน และเชื้อโรคตามอากาศที่ปะปนอยู่ในขวด
10. ขวดซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ที่เปิดใช้แล้ว
แม้จะเก็บไว้อย่างดีในตู้เย็น แต่หากเปิดใช้เหลือเกินกว่าวันที่ฉลากระบุ ก็ต้องจัดการทิ้งถังขยะ เพราะเชื้อราตามคอขวดซอสเหล่านี้ เติบโตเร็ว
11. กระดาษหนังสือพิมพ์
แม้จะมีการลดจำนวนการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ในการห่ออาหาร แต่บางครั้งเราก็ยังเห็นแม่ค้านำมาห่อผักสด เข่งปลา วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป สารพิษจากหมึกจะปนเปื้อนในอาหารได้ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะนำไปห่อผักแช่ตู้เย็น
12. อาหารกระป๋อง
ถ้าใช้ไม่หมดควรเอาออกจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นแช่ตู้เย็น เพราะอากาศจะเร่งปฏิกิริยาให้อาหารปนเปื้อนสารจากกระป๋องได้ง่าย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2026