จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.....ทำไบโอดีเซลพลังงานทางเลือกที่เราสามารถทำใช้เองได้
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายชัยมงคล ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ในการเรื่องการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน โดยเฉพาะการใช้ไบโอดีเซล ที่ทรงดำรงให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการทั้งในระดับชุมชนและเชิงพาณิชย์ ความว่า “ เราทำแล้วก็หมายความว่าเราไม่เดือดร้อน ถึงเวลาเราอายุร้อยสิบแปด ถ้าอย่างไรเราก็ใช้น้ำมันปาล์มของเราเอง คนอื่นอาจจะไม่ได้ คนอื่นอาจจะไม่มี แต่ว่าเรามี เพราะเราขวนขวายหาวิธีที่จะทำเชื้อเพลิงทดแทนได้ ถ้าไม่ได้ทำเชื้อเพลิงทดแทน เราก็เดือดร้อน แล้วก็เป็นห่วง แต่เราไม่ต้องเป็นห่วง ถ้าคนอื่นเขาไม่ทำ เขาอาจจะไม่มีน้ำมันไบโอดีเซลใช้ แต่ว่าเรามี เราคือข้าพเจ้าทำเอง ”
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
ช่วงชั้นที่ 2ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การป้องกันโรค
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มฐ.พ. 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ
การป้องกันโรค และการ สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
การผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
จากสภาวะที่มีพลังงานมีน้อย ขณะที่มีความต้องการพลังงานสูงขึ้นเรื่อยๆ พลังงานที่ใช้ส่วนใหญ่จึงต้องรนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดีเซล ซึ่งในปัจจุบัน อัตราการใช้น้ำมันดีเซลในประเทศมีจำนวนสูงถึง 55 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศ เป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งราคาน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มที่จะขยับตัวสูงขึ้นตลอดเวลา แนวทางในการเสาะหาแหล่งพลังงานที่จะมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเหลือตัวเองและช่วยเหลือประเทศชาติในการลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ
ข้าพเจ้าจึงได้เริ่มศึกษาค้นคว้าโดยการสอบถามผู้รู้จากแหล่งต่าง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควรเพราะแต่ละคนจะไม่บอกความรู้และเคล็ดลับในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่ตัวเองมีอยู่ออกมาทั้งหมด ข้าพเจ้าจึงศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยการค้นหาจากอินเตอร์เน็ตและนำมาทดลองทำแบบลองผิดลองถูกจนสำเร็จและส่งทดสอบคุณภาพน้ำมันกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549
ผลจากการทดสอบคุณภาพน้ำมันที่ออกมา ข้าพเจ้าได้ทดลองใช้กับรถยนต์ของตนเองในการเดินทางมาปฏิบัติราชการที่โรงเรียนซึ่งอยู่ห่างจากบ้านพักเป็นระยะทาง 25 กิโลเมตรทุกวัน เป็นเวลา 3 ปีแล้ว และมีความมั่นใจว่าน้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตขึ้นใช้เอง สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ดีเซลไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ จึงเป็นที่รู้จักของชุมชนได้รับการติดต่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในการผลิตไบโอดีเซล ให้แก่นักศึกษาจากวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง วิทยากรในกิจกรรมการเรียนรู้การใช้พลังงานทดแทน(ไบโอดีเซล) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ข้าพเจ้าจึงเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเขาวิเศษ จัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่ออบรมนักเรียนและผู้ที่สนใจ ในปีการศึกษา 2551 และได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ มาศึกษาดูงานเป็นประจำ
โดยสรุปแล้ว การใช้น้ำมันไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดีเซลกับเครื่องยนต์ดีเซลสามารถใช้ได้ดี จึงควรมีการสนับสนุนให้คนทั่วไปหันมาใช้พลังงานทดแทนน้ำมันไบโอดีเซลให้มากขึ้นและส่งเสริมให้ผู้ที่สนใจสามารถที่จะผลิตใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดมลภาวะ เพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขั้นตอนการทดลองผลิตไบโอดีเซล
1. เทน้ำมันใส่ลงในบีกเกอร์ จำนวน 400 ซีซี
2. เตรียมสาร KOH/NaOH จำนวน 1% กรัมของน้ำมัน ( 4 กรัม)
3. เตรียมแอลกฮอลล์ (เมทานอล/เอทานอล) จำนวน 25% ของน้ำมัน ( 100 ซีซี )
4. ผสมแอลกอฮอลล์ และ KOH หรือ NaOH คนจนละลาย
5. ต้มน้ำมันด้วยตะเกียงแอลกอฮอลล์ ให้มีอุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส แล้วยกลง
6. เทน้ำมันใส่ขวด และสารละลายแอลกฮอลล์ กับ KOH หรือ NaOH ที่เราเตรียมไว้ลงไปแล้ว
เขย่าให้น้ำมันกับสารละลายทำปฏิกิริยากัน (ประมาณ 5 นาที)
7. ตั้งพักไว้ประมาณ 8 ชั่วโมง เพื่อให้กรีเซอลีนตกตะกอนแยกตัวออกจากน้ำมัน
8. จากนั้น นำเอาชั้นเมทิลเอสเตอร์(น้ำมัน)ไปผ่านกระบวนการล้างด้วยน้ำโดยใช้น้ำจำนวน 2
เท่า ของน้ำมัน ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง
9. นำน้ำมันไบโอดีเซล (เมทิลเอสตอร์ ) ที่ผ่านกระบวนการล้างซึ่งแยกตัวลอยอยู่บนน้ำ มาต้ม
ไล่น้ำและความชื้นอีกครั้ง ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น จะได้น้ำมันไบโอดีเซลซึ่งสามารถนำไปใช้
ทดแทนน้ำมันดีเซลได้เป็นอย่างดี
ประเด็นคำถาม
1. น้ำมันไบโอดีเซลมีผลดีและผลเสียอย่างไร
2. นักเรียนทราบไหมว่าการใช้น้ำมันทอดซ้ำมีโทษอย่างไรละก่อให้เกิดโรคอะไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอร์เน็ต
2. เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำมันทอดซ้ำ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. คณิตศาสตร์ อัตราส่วนในการผลิต
2. วิทยาศาสตร์ สารเคมีต่างๆ
3. สังคมศึกษา การทำงานร่วมกับคนอื่น
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา) การรักษาสุขภาพ
5. ศิลปะ วาดภาพขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล
แหล่งข้อมูลที่มา https://www.navy.mi.th/dockyard/biodesel.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2157