ในปัจจุบันนี้วัยรุ่นในเขตเมืองหรือชุมชนใหญ่ๆ มักจะรับประทานอาหารแบบชาวตะวันตกได้แก่ ขนมปัง แซนด์วิช และแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้จะให้คุณค่าอาหารไม่ครบทุกหมู่
ความอ้วนกับการควบคุมน้ำหนัก
คนเราทุกคนย่อมต้องการร่างกายที่เจริญเติบโตแข็งแรงสมวัยและรูปร่างที่ดี คือไม่อยากผอมไม่ยากอ้วนจนเกินไปนั่นเอง
เราสามารถทราบได้ว่าตนเองอ้วนหรือผอม ได้จากการคำนวณหาดรรชนีมวลกาย BODY MASS INDEX หรือเรียกว่า BMI โดยนำน้ำหนักตัวคิดเป็นกิโลกรัมแล้วหารด้วยส่วนสูงคิดเป็นเมตรยกกำลัง 2 ดังสูตร
ตัวอย่าง กัลยามีน้ำหนัก 52 กก. ส่วนสูง 154 ซม.
BMI = 52/1.54ยกกำลัง2
= 21.9
การแปลผล
มีค่าน้อยกว่า 18.5 ผอม
มีค่าระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักปกติ
มีค่าระหว่าง 25.0-24.9 น้ำหนักเกิน
มีค่ามากกว่า 30.0 โรคอ้วน
ปรากฎว่า กัลยามีนำ้หนักปกติ
ข้อเสนอแนะของคนที่มีน้ำหนักเกินหรือต้องการควบคุมน้ำหนัก
ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อควร
ให้ได้สารอาหารครบทุกหมู่และควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่นผักผลไม้ อย่างน้อย
วันละ 2 มื้อ
- รับประทานอาหารที่ให้พลังงานน้อยเช่นประเภทไข่
- รับประทานอาหารจำพวกปลาให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงไขมัน และเนื้อสัตว์
- ควรทำอาหารด้วยวิธีการปิ้ง ย่าง นึ่ง แทนการทอด
- ลดอาหารประเภทข้าว แป้ง น้ำตาล
ประเด็นคำถาม
1. อาหารที่ทำให้น้ำหนักเกิน
2. โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วน
3. การคำนวณค่าดรรชนีมวลกาย
4. ข้อปฏิบัติในการควบคุมน้ำหนัก
กิจกรรมเสนอแนะ
1. จัดตารางในการออกกำลังกาย
2. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
1. สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2. สาระการเรียนรู้พลศึกษา
(แหล่งข้อมูล..... จากแบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1)
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2190