ระบบต่อมไร้ท่อ


597 ผู้ชม


ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่สำคัญอย่างยิ่งของร่างกาย หน้าที่หลักคือการสร้างฮอร์โมน   
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่สำคัญอย่างยิ่งของร่างกายในการควบคุมการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร 

 ระบบต่อมไร้ท่อ  เรียกว่า The endocrine system  เป็นระบบที่สำคัญอย่างยิ่งของร่างกายในการควบคุมการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งประสานขบวนการทำงานระดับเซลให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นระเบียบถูกต้อง อวัยวะที่สำคัญของระบบนี้ล้วนเป็น "ต่อม" ซึ่งทำหน้าที่หลักในการสร้างฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย  ฮอร์โมนเป็นสารที่ร่างกายสร้างออกมาแล้วแพร่กระจายออกสู่กระแสเลือดไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมาย   กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนทุกชนิดเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับระบบสืบพันธุ์ ไต ทางเดินอาหาร ตับ และไขมันในร่างกายอีกด้วย
 ฮอร์โมนทั้งหมดในร่างกายอาจแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 5 กลุ่ม 
1.  ฮอร์โมนออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย 
2.   ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ 
3.  ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเซล 
4.  ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมดุลต่างๆภายในร่างกาย 
5.  ฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นจากภาวะภายนอกร่างกายเช่นจากความเครียดหรือภยันตรายต่อเซลเป็นต้น

ต่อมไร้ท่อในร่างกายของเรามีดังนี้ 
 1. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกายมีหน้าที่สร้าง ฮอร์โมนที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุม การเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูกและสร้าง
ฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ และการบีบตัวของมดลูกใน เพศหญิงขณะคลอดด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ เช่นต่อมไทรอยด์ต่อมหมวกไต ต่อมพาราไทรอยด์ ระบบสืบพันธุ์ ควบคุมการตกไข่ และสร้าง ตัวอสุจิ(สเปิร์ม) 
 2. ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณด้านบนของไตซึ่ง  แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมน           อะดรีนาลีน (Adrenalin ) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนสารที่หลั่งจาก ปลาย
ประสาทอัตโนมัติ จะกระตุ้นร่างกายทุกส่วนให้เตรียมพร้อม ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุม การเผาผลาญอาหาร (Cortisol) ควบคุมการดูดซึมเกลือทีไต (Aldosterone) และสร้างฮอร์โมน แอนโดรเจน ( Androgen ) และเอสโตรเจน ( Estrogen ) ได้บ้าง เมื่อเกิดเหตุการณ์ตึงเครียด โกรธ ตื่นเต้น ดีใจ ตกใจ หรือในภาวะฉุกเฉิน ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งบางที่เรียกว่า ฮอร์โมนฉุกเฉินเมื่อหลั่งออกมากแล้วจะมีผลไปกระตุ้นตับให้ปล่อยน้ำตาลกลูโคสออกมาสู่กระแสเลือดทำให้เกิดมีพละกำลังเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ                                                     3. ต่อมไทรอยค์ (Thyroid gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับกล่องเสียงและหลอดลม ต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นตามอายุ จะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทร็อกซิน (Thyroxin) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย 
4. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็กอยู่ติดกับ ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน พาราฮอร์โมน ( Parathormone ) มีหน้าที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียม และรักษาความ
เป็นกรดเป็นเบส ในร่างกายให้เหมาะสม 
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (Islet of langerhan) เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมน อินซูลิน ( Insulin ) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน    เพราะ
ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในกล้ามเนื้อหรือในตับ 
6. รังไข่ (Ovary) ในเพศหญิง และ อัณฑะ (Testis) ในเพศชาย ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศโดยสร้างฮอร์โมน แอนโดรเจน ในเพศชาย และเอสโตรเจน ในเพศหญิงซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบ
คุมของต่อมใต้สมองอีกทอดหนึ่ง ต่อมนี้มีหน้าที่ควบคุมการเจริญ เติบโตของลักษณะทางเพศ เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน ลูกกระเดือกแหลม มีขนขึ้นบริเวณหน้าแข้ง รักแร้ และอวัยวะเพศ ฯลฯ ในเพศชาย และการมีเสียงเล็กแหลม สะโพกผาย การขยายใหญ่ของอวัยวะเพศ และเต้านม ฯลฯ ในเพศหญิง ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะแสดงออกในช่วงวัยรุ่น มีผลทำให้เด็กหญิงเติบโตเป็นหญิงสาว และ เด็กชายเติบโตเป็นชายหนุ่ม การทำงานหรือการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่วของร่างกาย เกิดจากการทำงาน ร่วมกันของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และระบบโครงกระดูก ซึ่งสมองจะสั่งงานผ่านทาง เส้นประสาทบังคับให้กล้ามเนื้อและกระดูกเคลื่อนที่ ส่วนการจะเคลื่อนที่ได้คล่องแคล่วว่องไว เพียงใดนั้นขึ้นกับประสบการณ์ที่ฝึกมา การควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและต่อมไร้ท่อที่ทำงานร่วมกัน การทำงานของระบบประสาทนั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมี เส้นประสาทที่เชื่อมโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึงทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นอย่างรวดเร็ว แต่การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะเป็นอย่างช้าๆ เพราะต่อมไร้ท่อไม่มีทางขนส่งลำเลียงฮอร์โมนไปยังเป้าหมายโดยตรงต้องอาศัยไปกับกระแสหมุนเวียนของโลหิต ซึ่งจะต้องผ่านอวัยวะอื่น ๆ ก่อนจะถึงเป้าหมาย แล้วค่อยไหลเข้าสู่เป้าหมาย ซึ่งการทำงานของร่างกายจะมีข้อดีที่ว่า ถ้าไม่ใช่อวัยวะซึ่งเป็นเป้าหมายของฮอร์โมนแล้วอวัยวะนั้น ๆจะไม่ถูกกระตุ้น ดังนั้นการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจึงเป็นไปอย่างช้า ๆ และค่อนข้างนาน เช่น กระบวนการควบคุมการเจริญเติบโตของเด็ก กระบวนการเมทาบอลิซึมของร่างกาย เป็นต้น

ประเด็นคำถาม 
   การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยรุ่นทั้งชายและหญิง เกี่ยวข้องกับต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ
   ให้นักเรียนสรุปความคิดรวบยอดเรื่องต่อมไร้ท่อ นำเสนอด้วยโปรแกรม Power Point  ในคาบเรียนหน้า

ที่มาของข้อมูล
       www.vcharkarn.com/
       www.th.wikipedia.org
       www.thaigoodview.com
       
www.rbru.ac.th

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2266

อัพเดทล่าสุด