มุมมองหนึ่ง...ปัญหาทางเพศของคนวัยทอง


753 ผู้ชม


เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนหมดไปครึ่งหนึ่ง ความกำหนัดในหญิงวัยทองหลายๆคนก็จะลดลงไปด้วย เกิดความเฉื่อยชาทางเพศ ประกอบกับในหญิงวัยทองบางคน   

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้       สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)

        สอนระดับชั้น                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
        หน่วยการเรียนรู้ที่  1       เรื่อง  การดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้ใหญ่วัยทองและผู้สูงอายุ
        สาระที่ 2                      ชีวิตและครอบครัว
        มฐ.พ. 2.1                    เข้าใจและเน้นคุณค่าของตนเองครอบครัว  เพศศึกษา  และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

มุมมองหนึ่ง...ปัญหาทางเพศของคนวัยทอง

          การพัฒนาทางเพศของเด็กวัยรุ่นเริ่มต้นเมื่อรังไข่และอัณฑะเริ่มผลิตฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเพศหญิง "เอสโตรเจน" จากรังไข่จะทำให้เด็กผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงของสรีระจากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว มีการเจริญเติบโตของเต้านม สะโพกขยายไหล่แคบ ผมสลวย ผิวงาม เสียงเพราะ มีขนขึ้นแบบของสตรี มีการพัฒนาของอวัยวะเพศหญิง ในขณะที่ ฮอร์โมนเพศชาย "เทสโทสเตอโรน"จากอัณฑะจะจำแลงเด็กชายให้เป็นชายหนุ่ม มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ไหล่กว้าง ก้นปอด เสียงห้าว มีหนวดเคราและขนขึ้นแบบผู้ชาย หน้าผากเถิก และมีการพัฒนาของอวัยวะเพศชาย ทั้งสองเพศเริ่มมีความสนใจซึ่งกันและกัน เริ่มมีกำหนัดหรือความต้องการทางเพศอันเป็นผลของเทสโทสเตอโรน หรือ"ฮอร์โมนแห่งกำหนัด" ในผู้หญิงนั้นประมาณครึ่งหนึ่งของเทสโทสเตอโรนผลิตมาจากรังไข่ และอีกครึ่งหนึ่งมาจากต่อมหมวกไต รังไข่และอัณฑะจะเริ่มทำงานเมื่ออายุประมาณ 9-12 ปี และผลิตฮอร์โมนเต็มที่เมื่อ หญิงชายอายุระหว่าง 20-25 ปี       ในผู้หญิงนั้นหลังจากอายุประมาณ 40-45 ปี การทำงานของรังไข่ก็เริ่มลดประสิทธิภาพลง และเมื่ออายุประมาณ 50 ปี ในผู้หญิงส่วนมากรังไข่ซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและเทสโทสเตอโรนก็จะปิดสนิท เป็นการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงก็จะหมดไป ส่วนฮอร์โมนแห่งความกำหนัดหรือเทสโทสเตอโรนก็จะลดลงทันทีอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
      
        เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนหมดไปครึ่งหนึ่ง ความกำหนัดในหญิงวัยทองหลายๆคนก็จะลดลงไปด้วย เกิดความเฉื่อยชาทางเพศ ประกอบกับในหญิงวัยทองบางคนอาจมีอาการอื่นของการหมดประจำเดือนผสมเข้ามาอีก เช่น อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก นอนไม่หลับตลอดจนอาการทงประสาท เช่น ความเครียด ความหงุดหงิด วิตกกังวล เศร้าซึม ขาดความมั่นใจ อาจมีภาระการงานมากขึ้นด้วย ก็จะยิ่งทับถมปั่นทอนความรู้สึกทางเพศลงไปอีก
        เยื่อบุช่องคลอดซึ่งปกติเป็นเซลส์แผ่นกลมๆบางๆ เหมือนข้าวเกรียบปากหม้อซ้อนกันอยู่ 50-60 ชั้น มีการสร้างน้ำหล่อลื่นซึ่งหลั่งออกมาเมื่อเกิดอารมณ์เพศ ทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้อย่างมีความสุข  แต่เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนหมดไป  เยื่อบุช่องคลอดก็จะบางลงเหลือเซลล์อยู่เพียงไม่กี่ชั้น การสร้างน้ำหล่อลื่นก็จะงวดหมดไป ทำให้ช่องคลอดอักเสบ แห้ง เวลามีเพศสัมพันธ์จะเจ็บปวด จะยิ่งทำให้มีความเฉื่อยชาทางเพศมากขึ้นไปอีกหลายเท่าทวีคูณ

มุมมองหนึ่ง...ปัญหาทางเพศของคนวัยทอง

แหล่งที่มา: waithong.com
                 ข่าวสารจากแพทย์
                 เขียนโดย  ศ.นพ.นิกร ดุสิตสิน 
                 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเพศศาสตรศึกษา 
                 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


        ประเด็นคำถาม 
        1. อะไรที่บ่งบอกได้ว่าเป็น สตรีวัยทอง 
        2. วัยทองเกิดขึ้นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงอายุกี่ปีขึ้นไป
        3. ปัญหาสุขภาพทางเพศของสตรีวัยทองมาจากสาเหตุใด
        4. เมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง ควรปฏิบัติตนอย่างไร ไม่ให้ครอบครัวเกิดปัญหา
                 
        กิจกรรมเสนอแนะ   
        1. แนะนำกิจกรรมนันทนาการคลายเครียดให้นักเรียนลองไปปฏิบัติกับผู้ปกครอง                                     
        2. ให้นักเรียนไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ต
        3. จัดนิทรรศการ หรือ เชิญเจ้าหน้าที่กองสุขภาพมาให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุ 
            รวมทั้งการปฏิบัติตนเมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง 
          
         การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย                                อ่านออกเสียง คัดไทย  สรุปบทความ  การวิเคราะห์บทความในข่าว
        2. สังคมศึกษา และวัฒนธรรม           บทบาทของเยาวชนที่มีต่อผู้สูงอายุ
        3. ศิลปะ                                      วาดภาพผู้สูงอายุ ตามจินตนาการของนักเรียน
        4. วิทยาศาสตร์                             ความสำคัญของเซลล์และสิ่งมีชีวิต
        5. สุขศึกษาและพลศึกษา(พลศึกษา) การจัดกิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2334

อัพเดทล่าสุด