มาเรียนรู้ระบบย่อยอาหารกันเถอะ


754 ผู้ชม


ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์มีลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์เป็นท่อทางเดินอาหารขนาดยาวตลอดระบบ มีการขยายทางเดินอาหารออกเป็นช่วงๆ เป็นอวัยวะต่างๆ อาทิ กระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็ก เป็นต้น ในชายจะมีความยาวของระบบทางเดินอาหารกว่า 5 เมตร   

           นักวิจัยและนักวิชาการในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมรับฟังผลงานวิจัย โครงการ การศึกษาระบบการจัดการอาหารนำเข้า และยาในภาคเหนือของไทย ที่ ดร.นวลศรี รัก อริยะธรรม ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหา วิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษาหลังพบวิกฤติด้านความปลอดภัยอาหารนำเข้า ทั้งพบ สารเมลามีนปนเปื้อน ยาฆ่าแมลงตกค้างในผัก ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในผักแห้งเป็น ต้น ซึ่งเห็นว่าคนไทยมีโอกาสสัมผัสกับสารพิษในอาหารสูง เมื่อสะสมในร่างกายนานทำ ให้เกิดเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง โดยทำการวิจัยภายใต้กรอบ 3 ด้านคือ ด้านระบบตรวจสอบ ควบคุม ดูแล พบปัญหาเชิงโครงสร้างและสายงานบังคับบัญชาขาดการติดต่อสื่อสาร ประสานงานระหว่างหน่วยงานในกระทรวง ด้านมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพอาหาร นำเข้า พบด่านอาหารและยาไม่มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลการตรวจวิเคราะห์และห้อง ปฏิบัติการมีน้อย ชุดทดสอบยังไม่เหมาะสมกับงานด่าน อย. ด้านกฏหมาย พบว่าใบ อนุญาตนำเข้าและการต่ออายุใบอนุญาตนำเข้าบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ทำให้การแก้ไขปรับ ปรุงได้ยาก กฏหมายไม่ชัดเจนเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ อีกทั้งกฏหมาย / ประกาศ / ข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานและเงื่อนไขคุณภาพสินค้าอาหารนำเข้ายังขาด ความชัดเจน ไม่สอดคล้องมาตรฐานสากล โดยผลงานนี้ จะนำไปเสนอให้หน่วยงานสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปปรับปรุงระบบ การจัดการอาหารนำเข้า เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อประชาชน 
ที่มา:  https://region3.prd.go.th
กลุ่มสาระการเรียนรู้   สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5)

สาระที่ 1 :  การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุาย์
มาตรฐาน พ 1.1: เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุาย์ 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง
      1.สามารถอธิาบายการทำงานของระบบย่อยอาหารได้
      2.เสนอแนวทางในการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของระบบย่อยอาหารได้
        1.ปาก(mouth) เป็นส่วนต้นสุดของท่อทางเดินอาหารและมักจะทำงานสัมพันธ์ควบคู่ไปกับช่องปาก(oralcavity)ซึ่งอาหารเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกลดขนาดลงที่ช่องปากนี้ โดยมีส่วนของฟันและลิ้นเป็นตัวช่วยในการทำงาน ให้มีการผสมผสานกับน้ำลาย กลายเป็นก้อนอาหาร (bolus) ที่พร้อมสำหรับการกลืนต่อไป
       2.ฟัน(teeth) จะทำงานเป็นตัวลดขนาดของอาหารลงด้วยการบดเคี้ยวฉีกตัดซึ่งในสัตว์บางชนิดพบว่าฟันนอกจากจะใช้ในระบบย่อยอาหารแล้วยังใช้ในการต่อสู้ป้องกันอันตรายให้กับตัวเอง หรือแม้กระทั่งใช้ในการล่าเหยื่อเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารดำรงชีพตัวฟัน มี 4 รูปแบบ เมื่อแบ่งตามหน้าที่และตำแหน่งที่มันวางตัวอยู่คือ 
         1). ฟันตัด (incisor = Di,I) เป็นฟันด้านหน้าสุดวางตัวอยู่บนกระดูก incisive ทำหน้าที่ในการตัด บางครั้งเราเรียกว่า nippers       
         2). ฟันเขี้ยว (canine = Dc,C) เป็นฟันที่อยู่ถัดจากฟันตัด ทำหน้าที่ในการฉีก หรือแยกอาหารให้ออกจากกัน บางครั้งเราเรียกกันว่า fangs ,eye teeth ,tusks * 
         3).ฟันกรามน้อย(premolars=Dp,P)เป็นฟันที่อยู่บนกระดูกmaxillaวางตัวถัดจากฟันเขี้ยวรูปร่างและขนาดของฟันเหมาะสมสำหรับการบด (grinding) อาหาร 
         4).ฟันกรามใหญ่(molar=Dm,M)เป็นฟันที่อยู่บนกระดูกmaxillaตอนท้ายวางตัวถัดจากฟันกรามน้อยและทำหน้าที่คล้ายกับฟันกรามน้อย

มาเรียนรู้ระบบย่อยอาหารกันเถอะ

ที่มา:https://www.google.co.th/imglanding?

หมายเหตุ : ฟันกรามน้อยและฟันกรามใหญ่ บางครั้งเรียกรวมกันว่า ฟันแก้ม (cheek teeth) 
         
3.ลิ้น(tongue) เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นจากส่วนของมัดกล้ามเนื้อที่ช่วยในการแปรสภาพอาหารเมื่ออยู่ในช่องปากเนื่องจากตัวมันประกอบมาจากกล้ามเนื้อ 3ทิศทางทำให้มีการเคลื่อนไหวที่ดีเยี่ยมและส่งตัวอาหารเข้าสู่หลอดอาหาร(esophagus)นอกจากนี้ลิ้นอาจจะทำหน้าที่ในการเก็บเกี่ยวอาการเข้าสู่ปากได้ในสัตว์บางชนิดด้วยเช่นแพะโคพื้นที่ด้านบนของผิวลิ้นจะค่อนข้างหยาบเพราะว่ามีส่วนของปุ่มหนามแหลมคล้ายหัวนม(papillae) จำนวนมากหลายชนิดซึ่งจะทำหน้าที่ในการลำเลียงอาหารไปในทิศทางเดียวกันและยังช่วยในการทำความสะอาดร่างกายได้เช่นการ เลียขนของแมว (grooming) บางครั้งพบว่าบนลิ้นจะมีต่อมรับรส (taste buds) อาศัยอยู่บนปุ่มหนามแหลมคล้ายหัวนมชนิด fungiformและ vallate ซึ่งการที่มีต่อมรับรสนี้จะช่วยได้ บางส่วนในการที่สัตว์ จะแยกแยะระหว่างอาหารที่เป็นอันตราย และอาหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

       4.หลอดอาหาร  ทำหน้าที่หดตัว บีบอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร เพราะหลอดอาหารมีผนังที่ยึดและหดตัวได้บริเวณคอหอยมีช่องเปิดเข้าสู่หลอดลมและหลอดอาหารส่วนบนของหลอดลมมีแผ่นกระดูกอ่อนปิดกั้นกัน อาหารเข้าไปในหลอดลมขณะกลืนอาหารเรียกว่า ฝาปิดกล่องเสียง (epiglotottis ) ภายในโพรงปาก ด้านบนมีเพดานอ่อน (soft palate) ห้อยโค้งลงมาใกล้กับโคนลิ้นขณะที่อาหารผ่านเข้าสู่ลำคอ เพดานอ่อนจะถูกดันยกไปปิดช่องหายใจ อากาศผ่านช่องนี้ไม่ได้ อาหารนั้นจะถูกกล้ามเนื้อลิ้นบังคับให้ผ่านเข้าไปในหลอดอาหารได้พร้อมกับฝาปิดกล่องเสียงจะปิดหลอดลมในขณะที่ส่วนกล่องเสียงทั้งหมด ยกขึ้น ทำให้ฝาปิดกล่องเสียงปิดหลอดลมได้สนิท อาหารจึงเคลื่อนลงไปในหลอดอาหารได้โดยไมผลัดตกลงไปในหลอดอาหาร

มาเรียนรู้ระบบย่อยอาหารกันเถอะ
ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?

         5. กระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นถุง รูปร่างคล้ายตัวเจ ปกติกระเพาะอาหารที่ไม่มีอาหารจะมีขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสามารถขยายตัวเมื่อมีอาหารได้อีก 10 - 40 เท่าอาหารผ่านไปตามหลอดอาหาร แล้วผ่านไปตามทางเดินอาหารโดยการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ หลอดอาหารจะคืนสู่สภาพปกติเมื่อก้อนอาหารผ่านพ้นไปแล้วการหดตัวและคลายตัว เรียกว่าเพอริสตัลซิล (peristalsis)ผนังกระเพาะ มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมากและยืดหยุ่นขยายขนาดจุ ได้ถึงประมาณ1000 - 1200 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีกล้ามเนื้อหูรูด (sphincter muscle) อยู่สองแห่งคือ กล้ามเนื้อหูรูดส่วนติดต่อกับหลอดอาหารกับกล้ามเนื้อ หูรูดส่วนติดกับลำไส้เล็ก ขณะเคี้ยวอาหารจะมีการกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่นน้ำย่อยบ้างเล็กน้อยเมื่ออาหารเคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหารจะมีการกระตุ้น ให้เซลล์ในกระเพาะหลั่งน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้น น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ประกอบด้วย เพปซิน (pepsin) เรนนิน (rennin) และ ไลเพส (lipase)นอกจากนี้ยังมีกรดไฮโดรคลอริก และน้ำเมือก อีกด้วย สำหรับ เพปซินและเรนนินจะอยู่ในรูปเพปซิโนเจน (pepsinogen)และโพรเรนนิน (prorennin) ซึ่งไม่พร้อมที่จะทำงาน แต่ยังมี กรดไฮโดรคลอริกจึงเปลี่ยนสภาพเป็นเป็น เพปซินและเรนนินและพร้อมทีจะทำงานได้ อาหารจะคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะด้วยการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่แข็งแรงของกระเพาะโดยน้ำย่อยเพปซินโปรตีนที่ถูกเพปซินย่อยส่วนใหญ่ จึงเป็นพอลิเพปไทด์ที่สั้นลง ไลเพส ทำหน้าที่ ย่อยไขมัน กระเพาะอาหารมีลิเพส ในปริมาณน้อยมาก และไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากกระเพาะอาหารมีสภาพเป็นกรด ไขมันจะผ่านกระเพาะอาหารออกไปโดยไม่ถูกย่อย น้ำเมือกที่ขับออกมาจากกระเพาะเคลือบผนังชั้นในของกระเพาะ กระเพาะก็ถูกทำลายได้แต่จะมีการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนได้ทันที เซลล์ถูกทำลายมากกว่าปกติ การหลั่งเพปซินและกรดไฮรโดรคลอริก แต่ไม่มีอาหารอยู่ใน กระเพาะจะทำให้ถูกทำลายจนเป็นแผลในกระเพาะได้ การมีกรด ในกระเพาะอาหารมากเกินปรกติมีสาเหตุ เช่น การรับประทาน อาหารไม่ตรงเวลา รับประทานอาหารเผ็ดจัด การกินยาแก้ปวดท้องเมื่อท้องว่าง การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน นอกจากนี้สุขภาพจิตก็มีความสำคัญมาก เช่น การมีอารมณ์เครียด วิตกกังวล ขาดการพักผ่อน ก็เป็นปัจจัยทำให้มีการหลั่งกรดออก มาในกระเพาะอาหารมาก อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารนาน 30 นาที - 3 ชั่วโมง ซึ่งขึ้งอยู่กับชนิดของอาหารนั้น กระเพาะอาหารสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี พบว่า 30 - 40% ของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหาร อาหารโปรตีนบางชนิดที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย ย่อยยากกว่าเนื้อปลา อาหารโปรตีนบางชนิดเพื่อให้ย่อยง่าย อาจใช้การหมักหรือใส่สารบางอย่างลง เช่น ผงเนื้อนุ่ม เพื่อช่วยในการย่อยก่อนที่จะมาประกอบอาหารรับประทาน สารที่ทำให้เนื้อนุ่มอาจได้มาจากเอนไซม์ที่ได้จากพืช เช่น ยางมะละกอหรือสับประรด เป็นต้น ในยางมะละกอมีเอนไซม์ซื่อปาเปน (papain) สามารถย่อยโปรตีนได้ ในพืชมีเอนไซม์ย่อยอาหารเช่นกัน เช่น ในเมล็ดที่กำลัง งอกมี เอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ ย่อยอาหารที่สะสมอยู่ในเมล็ด เพื่อนำไปใช้ในการเจริญของต้นอ่อนภายในกระเพาะอาหารจะมีเอนไซม์ ชื่อว่า “เพปซิน” ที่ช่วยย่อยโปรตีน ซึ่งเอนไซม์นี้จะทำงานได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด กรดที่กระเพาะอาหารสร้างคือ กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) อาหารจะสามารถอยู่ในกระเพาะอาหารได้ประมาณ 3 – 4 ช.ม. แล้วจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก

มาเรียนรู้ระบบย่อยอาหารกันเถอะ

ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?

           6. ลำไส้เล็ก  มีรูปร่างเป็นท่อ ในลำไส้เล็กมีน้ำย่อยหลายชนิดใช้ย่อยอาหารได้ทุกประเภท ถ้าน้ำย่อยในลำไส้เล็กไม่พอจะมีน้ำย่อยจากตับและตับอ่อนเข้ามาช่วย โดยตับจะสร้างน้ำดีสำหรับย่อยไขมันให้มีขนาดเล็ก ที่ลำไส้เล็กจะเป็นการย่อยครั้งสุดท้ายจนอาหารมีขนาดเล็กที่สุด สามารถซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอาหารจะเคลื่อนจากกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก โดยการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหูรูดลำไส้เล็กตอนต้น เรียกว่า ดูโอดีนัม (duodenum) ลำไส้เล็กที่อยู่ถัดไปคือ เจจูนัม (jejunum) และไอเลียม น้ำย่อยจากตับอ่อนประกอบด้วย น้ำย่อยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต น้ำย่อยโปรตีน ได้แก่ เอนไซม์ทริปซิน (trypsin)ไคโมทริปซิน (chymotrypsin) คาร์บอกซิเพปทิเดส (carboxypeptidase) ผนังด้านในของลำไส้เล็กเป็นคลื่นและมีส่วนยื่นออกมาเป็นปุ่มเล็ก ๆ จำนวนมากมาย เรียกว่า วิลลัส (villus) วิลลัสช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมให้มากขึ้น ผิวด้านนอกของเซลล์ยังยื่นออกไป เรียกว่า ไมโครวิลไล (microvilli) ภายในวิลลัสแต่ละอันมีเส้นเลือดและเส้นน้ำเหลือง ซึ่งจะรับอาหารที่ย่อยแล้วและซึมผ่านเซลล์ที่บุผิวผนังลำไส้เข้ามา นอกจากนี้ยังมีเซลล์ในวิลลัสทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยอีกด้วยมาเรียนรู้ระบบย่อยอาหารกันเถอะ

                                                   ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?

         7.ลำไส้ใหญ่  ภาย่่ในลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร เมื่อลำไส้ใหญ่ รับกากอาหารมาจากลำไส้เล็กแล้วผนังของลำไส้ใหญ่จะดูดน้ำและ แร่ธาตุจากกากอาหารเข้าสู่กระแสเลือด กากอาหารจะเหนียวและ ข้นขึ้นรอการขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระต่อไปกากอาหารที่หมักอยู่ในลำไส้ใหญ่จะทำให้เกิดก๊าชขึ้น กากอาหาร ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเกินไป ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ท้องผูก ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น ลักษณะของอาหารที่รับทาน เป็นอาหารพวกเนื้อสัตว์มากกว่าผัก ผลไม้ ดื่มน้ำน้อย อารมณ์เครียด สุขภาพร่างกายไม่ปกติ และขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ในลำไส้เล็กสารอาหารส่วนใหญ่และน้ำจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอยหรือเส้นน้ำเหลืองในวิลลัส โดยวิธีต่าง ๆ กัน เช่น การแพร่หรือการ แพร่แบบฟาซิลิเทต การเคลื่อนที่โดยกระบวนการแอกทีฟทรานสปอร์ต หรือวิธีพิโนไซโทซีสของเซลล์บางเซลล์ ของวิลลัส 

มาเรียนรู้ระบบย่อยอาหารกันเถอะ

ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?

ประเด็นคำถาม     
       1. จงอธิบายการทำงานของระบบย่อยอาหารมาให้เข้าใจ
       2. จงเสนอแนวทางการเสริมสร้างระบบย่อยอาหารมาให้เข้าใจ  
                    
กิจกรรมเสนอแนะ  
        1. ให้นักเรียนไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรืออินเตอร์เน็ต
        2. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอร์ดเกี่ยวกับระบบย่ยอาหาร
         
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความ 
        2. วิทยาศาสตร์  ระบบะย่อยอาหาร
        3. คณิตศาสตร์   การคำนวณระยะเวลาในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
        4. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) การตอบสนองของระบบย่อยอาหารที่มีต่อการออกกำลังกาย

แหล่งที่มาข้อมูล   
   
       1.https://www4.msu.ac.th
         2.https://region3.prd.go.th
         3.https://www.google.co.th/imglanding?

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2551

อัพเดทล่าสุด