มาดูแลสุขภาพของตนเองกันเถอะ


657 ผู้ชม


ดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น   

       2 ดาราสาวสวย "ปอย-ตรีชฎา เพชรรัตน์" และ "จอย-สุนันท์ษา จิรมมณีกุล" ควงคู่กันมาร่วมอัพเดทเทรนด์สีผมสุดฮิป พร้อมแนะนำเคล็ดลับดีๆ ในการดูแลสุขภาพผมสวยกับ "แคริ่ง" โดยกิจกรรมในครั้งนี้มี "อาจารย์ศิวกร พงษ์สวัสดิ์" แชมป์ซอยผมโลกปี 2549 จากประเทศเกาหลีใต้ กูรูผู้เชี่ยวชาญทางด้านเส้นผม มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของเส้นผมโดยเฉพาะ ในงาน "Make With Caring Elegance" พร้อมทั้งแนะนำเทคนิคดีๆ ในการเลือกสีผมและทรงผมให้เหมาะกับสีผิว และรูปหน้าของตัวเองอีกด้วย
ที่มา:  https://www.ryt9.com/s/nnd/908821

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5) 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  สามารถอธิบายการดุแลสุขภาพของตนเองและสามารถปฏิบัติการดูแลสุขภาพของตนเองได้

การดูแลสุขภาพตนเอง

       โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น
                ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ
การดูแลสุขภาพตนเอง
                 โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น
                ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ
  
การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ 
                 เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่ 
การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 
การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค 
การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย
           ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
            การที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 
การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน

           สุขภาพของคนเราจะดีหรือเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แข็งแรง ของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา หู จมูก และฟัน ซึ่งเป็นอวัยวะภายนอกร่างกาย ที่เราควรดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี และแข็งแรง เพราะถ้าเสื่อมโทรม หรือผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ ได้ ดังนั้น เราต้องระวังรักษาส่วนต่างๆ ของร่างกายให้สะอาด ตลอดจนการออกกำลังกาย และการพักผ่อน เพื่อทำให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และมีผลทำให้จิตใจเบิกบาน แจ่มใส สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข 
           การดูแลสุขภาพตนเอง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ และแข็งแรงอยู่เสมอ จะต้องปฏิบัติกิจกรรม ในด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ในชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ และสำรวจสุขภาพตนเอง ดังนี้
  
1. ดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด
อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
               การอาบน้ำให้สะอาด จะต้องใช้สบู่ฟอกทุกส่วนของร่างกายให้ทั่ว และมีการขัดถูขี้ไคล บริเวณลำคอ รักแร้ แขนขา ง่ามนิ้วมือ ง่ามนิ้วเท้า ขาหนีบ โดยเฉพาะอวัยวะเพศ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำ และเช็ดตัวให้แห้ง ด้วยผ้าที่สะอาด จะช่วยให้ร่างกายสะอาด และสดชื่น

    2.สระผม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
              การสระผมช่วยให้ผสม และหนังศีรษะสะอาด ไม่สกปรก หรือมีกลิ่นเหม็น โยใช้สบู่ หรือแชมพูสระผมจนสะอาด แล้วเช็ดผมให้แห้ง หร้อมทั้งหวีผมให้เรียบร้อย การหมั่นหวีผม จะช่วยนวดศีรษะให้เลือดมาเลี้ยงศีรษะมากขึ้น และต้องล้างหวี หรือแปรงให้สะอาดเสมอ การไม่สระผม หรือสระผมไม่สะอาด ทำให้เป็นชันนะตุ รังแค และเกิดอาการคัน เกิดโรคผิวหนัง และเชื้อราบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดผมร่วง และเสียบุคลิกภาพ

     3.การรักษาอนามัยของดวงตา

             ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ เราควรหวงแหน และให้ความเอาใจใส่ ควรปฏิบัติดังนี้  
             -  อ่าน หรือเขียนหนังสือในระยะห่างประมาณ 1 ฟุต โดยมีแสงสว่างเพียงพอ แสงเข้าทางด้านซ้าย หรือตรงข้ามกับมือที่ถนัด หากรู้สึกเพลียสายตา ควรพักผ่อนสายตา โดยการหลับตา หรือมองไปไกลๆ ชั่วครู่ 
             -  ดูโทรทัศน์ในระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรครึ่ง 
             -  บำรุงสายตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า เช่น มะละกอสุก ฟักทอง และผักบุ้ง เป็นต้น 
             -  ใส่แว่นกันแดด ถ้าจำเป็นต้องมองในที่ๆ มีแสงสว่างมากเกินไป 
             -  ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยแผ่นทดสอบสายตา (E-Chart) ถ้าสายตาผิดปกติ ให้พบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสอบ และประกอบแว่นสายตา

    4.การรักษาอนามัยของหู
           หูเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ที่จะต้องเอาใจใส่ดูแลให้ถูกต้อง ดังนี้ 
           -  เช็ด บริเวณใบหู และรูหู เท่าที่นิ้วจะเข้าไปได้ ห้ามใช้ของแข็งแคะเขี่ยใบหู รูหู 
           -  คนที่มีประวัติว่า มีการอักเสบของหู ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหูเด็ดขาด 
           -  หากมีน้ำเข้าหู ให้เอียงหูข้างนั้นลง น้ำจะค่อยๆ ไหลออกมาได้เอง หรือใช้ไม้พันสำลีเช็ดบริเวณช่องหูด้านนอก 
           -  ถ้าเป็นหวัด ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เชื้อโรคจากจมูก หรือคอ ถูกดันเข้าไปในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดเป็นโรคหูน้ำหนวก 
           -  เมื่อมีแมลงเข้าหู อย่าพยายามแคะ ให้ใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันพืช หยอดหูทิ้งไว้ชั่วขณะ แมลงจะเคลื่อนไหวไม่ได้ และตายในที่สุด ควรพบแพทย์เพื่อเอาแมลงออก 
           -  หลีกเลี่ยงจากการถูกกระทบกระแทกหูโดยแรง หรือการตบหู เพราะจะทำให้แก้วหู และกระดูกภายในหูหลุด เกิดการสูญเสียการได้ยินตามมา รวมทั้งการหลีเลี่ยงเสียงอึกทึก และเสียงดังมากๆ อาจทำให้หูพิการได้ 
           -  ต้องรู้จักสังเกตอาการผิดปกติของหู และการได้ยินอยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกปวดหู เจ็บหู คันหู หูอื้อ มีน้ำหรือหนองไหลจากหู เวียนศีรษะ มีเสียงดังรบกวนในหู การได้ยินเสียงน้อยลง หรือได้ยินไม่ชัด ต้องรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก ทันที

    5. การรักษาอนามัยของจมูก ข้อควรปฏิบัติดังนี้ 
            -  ไม่ถอนขนจมูก เพราะจะทำให้จมูกอักเสบได้ 
            -  ถ้าเป็นหวัดเรื้อรัง หรือมีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา 
            -  ห้ามใส่เมล็ดผลไม้ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นเข้าไปในรูจมูก 
            -  การไอหรือจาม ต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก จมูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอาการ เป็นผลให้ผู้อื่นติดโรคได้ 
            -  ต้องสั่งน้ำมูก ใส่ในผ้า หรือกระดาษเช็ดหน้าที่สะอาด

     6.ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ
             มือและเท้าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่สำคัญ ต้องมีการดูแลรักษา ไม่ปล่อยให้เล็บมือเล็บเท้ายาว การปล่อยให้เล็บยาว โดยไม่ดูแลความสะอาด จะทำให้เชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามซอกเล็บ ติดไปกับอาหาร เป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทาปากโดยตรง ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ก่อน และหลังรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าส้วมแล้ว ต้องล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง และต้องสวมรองเท้าเมื่อออกจากบ้าน

7. ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาทุกวัน
              ควรฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ในตอนเช้า อย่าให้ท้องผูกบ่อยๆ เพราะจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร และเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้

8.ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นเพียงพอ
              การรักษาความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องนอนเป็นิส่งสำคัญ เสื้อผ้าที่ใช้แล้วทิ้ง ชั้นนอกและชั้นใน ต้องมีการทำความสะอาดด้วยสบู่ หรือผงซักฟอกทุกครั้ง นำไปผึ่งหรือตากแดดให้แห้ง ประการสำคัญ การสวมเสื้อผ้า ต้อใช้ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำๆ หรือซักไม่สะอาด อับชื้น เพราะจะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้

ประเด็นคำถาม

1.จงอธิบายการดูแลสุขภาพของตนเองมาให้เช้าใจ
2.การปฏิบัติตนเองในการดูแลสุขภาพของตนเองควรปฏิบัติตนอย่างไร

การบูรณาการกับสาระการเรียรู้อื่น

1.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การทำงานของระบบต่างำของร่างกายที่มีผลต่อสุขภาพ
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เรื่อง การวาดภาพการเกี่ยวกับสุขภาพ

แผล่งที่มา : 
1.https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/sudjai_r/sec01p1.htm
2.https://www.ryt9.com/s/nnd/908821

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2674

อัพเดทล่าสุด