แม่วัยรุ่นจึงไม่ใช่เพียงวิกฤตสาธารณสุข หรือการศึกษา แต่เป็นวิกฤตวัฒนธรรม และต้องยอมรับว่าวัฒนธรรม ความเชื่อในสังคมไทยหลายเรื่องสร้างและซ้ำเติมปัญหาแม่วัยรุ่น อย่างน้อยก็ดูได้จากการที่เราไม่เคยมีปัญหาพ่อวัยรุ่น
เมื่อกลางปีที่ผ่านมามีการรายงานตัวเลขแม่วัยรุ่นว่าพุ่งสูงขึ้นจนกลายเป็นวิกฤตไปแล้ว โดยโรงพยาบาลรามาธิบดีระบุว่า ประเทศไทยมีการคลอดในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี เฉลี่ยวันละ 140 ราย ตกปีละ 50,000 ราย มาต้นปีนี้ก็ยังคงมีการรายงานสถานการณ์เดียวกันโดยกระทรวงสาธารณสุขว่าบางจังหวัดสูงถึง 200 ราย แต่เมื่อใช้ข้อมูลการแจ้งเกิดจากส่วนการทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งน่าจะครอบคลุมกว่า พบว่าปี 2550 พบแม่อายุ 16-20 ปีจำนวน 145,747 ราย หรือคิดเป็นอัตราส่วน 64.32 ต่อผู้หญิงกลุ่มอายุนี้ 1,000 คน
ที่มา: https://www.whaf.or.th/content/194
แม่วัยรุ่นจึงไม่ใช่เพียงวิกฤตสาธารณสุข หรือการศึกษา แต่เป็นวิกฤตวัฒนธรรม และต้องยอมรับว่าวัฒนธรรม ความเชื่อในสังคมไทยหลายเรื่องสร้างและซ้ำเติมปัญหาแม่วัยรุ่น อย่างน้อยก็ดูได้จากการที่เราไม่เคยมีปัญหาพ่อวัยรุ่น
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5)
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สามารถอธิบายปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเพศได้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ
พฤติกรรมาทางเพศ หมายถึง การกระทำ หรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยงข้องกับเรื่องเพศ โดยครอบคลุมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก คือ พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ปัจจัย คือ ครอบครัว เพื่อน สังคม และ วัฒนธรรม
1.1 อิทธิพลของครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกที่อบรมทางด้านจิตใจ และปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพให้แก่เด็ก ครอบครัวจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆรวมทั้งพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นด้วย
1.2 อิทธิพลของเพื่อน
การคบเพื่อนมีความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตของวัยรุ่น เพราะเพื่อนจะมีอิทธิพลในเรื่องความคิด ความเชื่อ ตลอดจนให้คำปรึกษาหรือแนะนำในเรื่องต่างๆรวมทั้งพฤติกรรมทางเพศ และอาจชักจูงไปในทางที่ดีและไม่ดี ดังนั้น การเลือกคบเพื่อนที่ดีจะช่วยแนะนำเรื่องพฤติกรรมทางเพศในทางที่เหมาะสม
1.3 อิทธิพลของสังคม
อิทธิพลของสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ มีดังนี้
1) สถานภาพทางสังคม
สถานภาพทางสังคมไทยปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางฐานะทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ทำให้มีภาวะคนตกงาน ช่องว่างระหว่างหารายได้ที่ได้รับระหว่างคนรวยและคนจนมีมากขึ้น การประกอบอาชีพบางอย่างจึงก่อให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ย
2) สื่อมวลชน
สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อกระแสแนวคิดและทศทางความเคลื่อนไหวในสังคมการเสนอข่าวเกี่ยวกับพฤตอกรรมทางเพศในทางที่เสื่อมเสีย เช่น การถูกข่มขืน ที่ลงภาพผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออย่างชัดเจน พร้อมบอกรายละเอียดต่างๆของการกระทำ
3) อิทธิพลของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตที่คนสร้างขึ้นและปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไป วัฒนธรรมจึงเป็นทุกส่งทุกอย่างที่สังคมสร้างขึ้น เพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของวัฒนธรรมในแต่ละสังคม
อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้
1. ความเชื่อเกี่ยวกับบทบาททางเพศและการปฏิบัติตนต่อทางเพศตรงข้าม เรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ
2.ค่านิยมทางเพศ
3.การพูดคุยเรื่องเพศอย่างเปิดเผยระหว่างพ่อแม่กับลูก
๑) เรื่องพรหมจรรย์
๑.๑)วัยรุ่นชาย วัยรุ่นชายมีค่านิยมทางเพศเรื่องพรหมจรรย์ของหญิงหลากหลายแนวคิดแต่ค่านิยมทางเพศที่ดีที่สังคมไทยยอมรับกัน ก็คือชายควรมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองไม่ควรชิงสุกก่อนห่าม
๑.๒)วัยรุ่นหญิง
วัยรุ่นหญิงควรมีค่านิยมทางเพศเรื่องพรหมจรรย์ โดยคำนึงถึงความบริสุทธิ์และการรักษาพรหมจรรย์จนกว่าจะพบกับชายที่แน่ใจว่าจะเลือกเป็นคู่ครองและคู่ชีวิต แล้วสงวนรักษาพรหมจรรย์ไว้มอบให้ในวันแต่งงาน
ประเด็นคำถาม
1.จงอธิบายใปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเพศ
2.การปฏิบัติตนต่อพฤติกรรมทางเพศในสังคมไทยควรปฏิบัติตนอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1.มอบหมายให้นักเรียนดูภาพยนต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยแล้สร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการช่วยกัยรักษาวัฒนธรรมไทย
2. โต้วาทีญัติเรื่อง"วัฒนธรรมไทยที่วัยรุ่นยุคใหม่ควรปฏิบัติ"
ที่มา: https://www.thainame.net/project/dinar_za/index1.html
การบูรณาการกับสาระการเรียรู้อื่น
1.สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เพศศึกษากับค่านิยมของสังคมไทย
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เรื่อง การแสดงออกของวัยรุ่น(ดนตรี นาฏศิลป)
แผล่งที่มา :
1.https://www.whaf.or.th/content/194
2.https://www.thainame.net/project/dinar_za/index1.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2820