ทักษะพื้นฐานตะกร้อ ตอนที่ 1


4,192 ผู้ชม


พื้นฐานของการเล่นตะกร้อที่สำคัญคือการเล่นตะกร้อด้วยลูกพื้นๆที่สำคัญ จะสามารถทำให้เป็นนักกีฬาตะกร้อที่มีความสามารถต่อไปในอนาคต   
                      "บิ๊กหนุ่ม" กนกพันธ์ จุลเกษม ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงทุนกับ สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย จดทะเบียนถือหุ้นบริษัท ตะกร้อ ไทยแลนด์ลีก กว่า 13,000 หุ้น รวมมูลค่ากว่า 1,300,000 บาท เพื่อยกระดับให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกับกีฬาอาชีพระดับนานาชาติ
                       ที่มา:  https://paidoo.net/tag

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)

สาระที่ ๓ : 
 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ ๓. ๑:     เข้กา
าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ ๓.๒ :     รัก
รออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ  อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง

1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะได้
2.สามารถอธิบายความสำคัญของการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะได้
                                    การเล่นลูกตะกร้อด้วยหลังเท้า
     หลังเท้าเป็นอวัยวะที่สามารถบังคับทิศทางตะกร้อได้ยาก แต่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้เล่นที่สำคัญในตำแหน่งหน้าทำ ลูกตะกร้อหน้าตาข่าย และผู้เล่นตำแหน่งหลังที่เสิร์ฟด้วยเท้า
วิธีปฏิบัติ
1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
2. ยื่นเท้าที่จะใช้แตะลูกตะกร้อออกมาด้านใน โดยลูกตะกร้อสูงพอประมาณและอยู่ด้านหน้าให้ลูกตะกร้อกระทบหลังเท้าบริเวณโคน นิ้ว และให้งุ้มปลายเท้าด้วยขณะแตะลูกตะกร้อ



                                              การเล่นลูกตะกร้อด้วยหน้าขา

     ส่วนมากใช้ในโอกาสตั้งลูกตะกร้อให้เพื่อนและเปิดลูกตะกร้อจาการเสิร์ฟ หน้าขาเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ในการใช้กระทบลูกตะกร้อมากที่สุดของอวัยวะที่ ใช้เล่นลูกตะกร้อ
วิธีปฏิบัติ
1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
2. ก้าวเท้าที่ไม่ได้เล่นลูกตะกร้อไปข้างหน้า และยกเท้าที่จะเล่นลูกตะกร้อที่กำลังเข้ามาใกล้ตัวโดยใช้บริเวณหน้าขาเหนือ ประมาณ 1 ฝ่ามือ กระทบลูกตะกร้อ โดยใช้หน้าขากระทบลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมา ให้หัวเข่าทำมุมกับพื้นมากกว่า 45 องศา

                                          


การเล่นลูกตะกร้อด้วยศีรษะ

     ส่วนมากใช้ในโอกาสลูกตะกร้อลอยขึ้นมาเหนือศีรษะ
วิธีปฏิบัติ
1. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
2. ก้าวเท้าที่ไม่ถนัดเข้าหาลูกตะกร้อ ย่อเข่าเล็กน้อย เมื่อลูกลอยมาต่ำในระยะที่จะใช้ศีรษะเล่นได้ให้สปริงข้อเท้า เหยียดลำตัวและขาสองข้างขึ้นพร้อมกับยืดศีรษะไปกระทบลูกตะกร้อให้ลูกตะกร้อ กระทบกับศีรษะบริเวณตีนผมที่หน้าผาก




ประเด็นคำถาม

1. ทักษะการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะเป็นอย่างไร
2. การเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะมีความสำคัญอย่างไร 
กิจกรรมเสนอเสนอแนะ

1.ก่อนการเล่นควร Warm  Up ทุกครั้ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down
2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันกีฬาตะกร้อเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นตะกร้อ
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะ
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว ในการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะ
แหล่งที่มาของข้อมูล
ที่มา:  https://www.takraw.or.th/th/show_news.
          

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2909

อัพเดทล่าสุด