ฟองน้ำคุมกำเนิด เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่แพ้ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีฮอร์โมนผสมอยู่
ฟองน้ำคุมกำเนิด เป็นการคุมกำเนิดโดยการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ ก่อนที่จะผ่านเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้หลายวิธี อาทิ ยาเม็ดฟองฟู่ โฟมฆ่าเชื้ออสุจิ รวมถึงฟองน้ำคุมกำเนิด
ยาเม็ดฟองฟู่ฆ่าอสุจิ (foam tablet)
ยาฆ่าอสุจิใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยหรือถุงยางอนามัยสตรี ทั้งนี้ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับการยาฆ่าอสุจิ
ยาฆ่าอสุจิใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยหรือถุงยางอนามัยสตรี ทั้งนี้ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับการคุมกำเนิดหากใช้เพียงอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์นี้ทำขึ้นเป็นครีม โฟม เยลลี่หรือยาสอด ยาฆ่าเชื้ออสุจิสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ยาเม็ดฟองฟู่
ภาพจาก www. pharm.chula2.ac.th
ยาเม็ดฟองฟู่
เป็นยาฆ่าเชื้ออสุจิภายในช่องคลอด โดยการสอดยาเม็ดเข้าช่องคลอดให้ลึกถึงบริเวณปากมดลูกในท่านั่งยองๆ หรือนอนหงาย และงอเข่าขึ้น ยาเม็ดฟองสบู่จะละลาย และเกิดฟองเมื่อเกิดความชื้นทำให้ยาฆ่าตัวอสุจิแทรกไปทั่วบริเวณช่องคลอด และปากมดลูก ยาจะมีผลป้องกันการตั้งครรภ์ได้ภายใน 3-5 นาที หลังสอดยา และป้องกันได้นาน ¼-1 ชั่วโมง
ยาฆ่าเชื้ออสุจิชนิดฟอง (aerosol foams)
ลักษณะเป็นฟองอัดในขวดเป็นยาฆ่าเชื้ออสุจิที่มีการกระจายตัวในช่องคลอดได้ดี ฟองสามารถกระจายไปคลุมช่องคลอดและปากมดลูกได้เร็วมาก ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบคือหลอดฉีดฟอง
ภาพจาก www. pharm.chula2.ac.th
วิธีการ
โดยสอดที่ใส่เข้าช่องคลอดให้ลึกสุด แล้วขยับกลับออกมา 1 นิ้วฟุต แล้วจึงดันลูกสูบฉีดฟองอัดในขวดเข้าช่องคลอด ท่าที่ใส่ยาได้ง่ายคือท่านั่งยองๆ หรือท่านอนหงาย ยาจะมีผลคุมกำเนิดภายใน 2-3 นาทีหลังใส่ และป้องกันได้ประมาณ 1 ชั่วโมง
ฟองน้ำคุมกำเนิด (Contraceptive Sponge)
ฟองน้ำคุมกำเนิด (Contraceptive Sponge) เป็นสารสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณลักษณะเป็นสารปุพรุน และเคลือบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออสุจิ มีลักษณะเหมือนโดนัท ใช้สอดใส่ในช่องคลอดให้ลึกที่สุด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์
การใช้ จะต้องสอดใส่ในช่องคลอดให้ถูกวิธีก่อนมีการร่วมเพศ และทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง หลังร่วมเพศ เพื่อให้มีการทำลายอสุจิได้หมด อาจจะทิ้งไว้ได้ถึง 24 ชั่วโมง
แต่การคุมกำเนิดด้วย ฟองน้ำคุมกำเนิดนั้น มักไม่เป็นที่นิยม และแพทย์เองก็ไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่ เพราะในผู้ใช้บางรายอาจจะเกิดผลแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ การระคายเคืองตัวเยื่อบุช่องคลอด ทั้งอาจจะจากสารสังเคราะห์ หรือจากยาฆ่าเชื้ออสุจิที่เหลือไว้ก็ได้ ฟองน้ำคุมกำเนิด เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่แพ้ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีฮอร์โมนผสมอยู่ได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ ได้ 100 เปอร์เซนต์เต็ม และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
หลักทั่วไปในการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ ยาพวกนี้มีหลักในการใช้คล้ายคลึงกัน คือ
๑. ใส่ยาก่อนมีการอยู่ร่วมกันทุกครั้ง รอให้ยากระจายทั่วช่องคลอดประมาณ ๕-๑๐ นาที (แล้วแต่ชนิดของยา) ยาประเภทนี้มีฤทธิ์ป้องกันอยู่ได้ภายในเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง หลังจากใส่ยา
๒. การใส่ยาเข้าช่องคลอด ต้องใส่ให้ลึกพอ
๓. ขนาดของยาที่ใช้แล้วแต่ชนิดของยา แต่ในรายต่อไปนี้ควรเพิ่มยาเป็น ๒ เท่าของขนาดปกติ คือ รายที่มีช่องคลอดกว้างและลึกมาก และรายที่ฝีเย็บขาดมาก เพราะยาอาจไหลออกมาภายนอกได้มาก
๔. ภายหลังใส่ยาแล้วไม่ควรลุก ยืน เดิน หรือไปนั่งถ่ายปัสสาวะ จนกว่าจะมีการอยู่ร่วมกันเรียบร้อยแล้ว ก่อนใส่ยาควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
๕. ไม่ควรทำการสวนล้างช่องคลอดหลังการอยู่ร่วมกัน เพราะจะทำให้ฤทธิ์ในการป้องกันเสียไปถ้าต้องการล้าง ควรทำภายหลังการอยู่ร่วมกันไม่ต่ำกว่า ๖ ชั่วโมง
ประสิทธิภาพ
ผลของการใช้ยาประเภทนี้ มีแตกต่างกันมากในแต่ละรายงาน บางรายงานก็ได้ผลดี บางรายงานมีการตั้งครรภ์สูงถึงร้อยละ ๒๐ ของผู้ใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยา และการใช้ยาถูกต้องเพียงไร
ข้อเสียของยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด
๑. อาจทำให้เกิดการคันหรือแสบๆ ในรายที่แพ้ยา
๒. ทำให้การหล่อลื่นในช่องคลอดน้อยเกินไป
๓. มักไหลออกมาเปรอะเปื้อนภายนอก ทำให้ผู้ใช้รำคาญ
ข้อดีของยาฆ่าเชื้อโรคอสุจิในช่องคลอด
ยานี้มีข้อดีที่ใช้ง่าย และไม่จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ อย่างไรก็ดี ยาชนิดนี้ไม่อยู่ในความนิยม เพราะมีวิธีใหม่ๆ ที่สะดวกกว่าและมีประสิทธิภาพดีกว่าเข้ามาแทน
ประเด็นคำถาม ( ตอบโดยสรุป สั้นแต่ได้ใจความสมบูรณ์ ส่งคำตอบใน e-mail ที่ครูกำหนดให้แต่ละห้อง)
1. การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ไม่ต้องให้แพทย์สั่ง ได้แก่วิธีใดบ้าง
2.ข้อเสียของการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิทุกประเภท เป็นอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
ค้นคว้าเพิ่มเติมถึงความนิยมของคนไทย ต่อการใช้การคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าเชื้ออสุจิ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : การสรุปใจความ
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี : ค้นคว้าเพิ่มเติมทางสื่ออินเตอร์เน็ต
แหล่งที่มาข้อมูล
www.kanchanapisek.or.th
www.pharm.chula.ac.th
https://search.sanook.com/knowledge
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2948