ทักษะตะกร้อตอนที่ 2


1,089 ผู้ชม


กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาที่เล่นได้งาย ขอให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอในการเล่นก็สามารถเล่นได้ แต่การจะเล่นตะกร้อให่เก่งและมีความสามารถนั้นนักกีฬาต้องมีทักษะพื้นฐานของกีฬาตะกร้อซึ่งสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนเป็นประจำ   

         นักหวดลูกพลาสติกชายไทยก็ยังคงยิ่งใหญ่ไร้เทียมทาน ก่อนหน้านี้เราเพิ่งจะส่งดาวรุ่งสายเลือดใหม่ไปจัดการปราบ "เสือเหลือง" มาเลเซีย ถึงถ้ำขย้ำกวาดมา 3 แชมป์ เล่นในบ้านครานี้ เจอกับชุดใหญ่ก็รอดยาก อย่างไรก็ตามเราจะประมาทมาเลเซียไม่ได้เด็ดขาด เป็นที่ทราบกันดีว่าคู่กัดของไทยกำลังอยู่ระหว่างสร้างทีมใหม่ เสริม สร้างความแข็งแกร่ง สองรายการที่ผ่านมาแม้ว่าไทยจะเอาชนะได้
              ที่มา:  https://blog.siamsport.co.th/lordtawhan


กลุ่มสาระการเรียนรู้   สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)
สาระที่ ๓ :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ ๓. ๑:  เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ ๓.๒ : รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ  อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
       1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการเล่นตะกร้อด้วยเท้าด้านในได้
       2.เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ทักษะการเล่นตะกร้อด้วยเท้าด้านใน

      การเล่นตะกร้อด้วยเท้าด้านใน 
          หรือบางครั้งเรียกกันว่า "ลูกแป" ซึ่งถือว่าเป็นลูกครูและเป็นพื้นฐานของกีฬาตะกร้อ นักกีฬาที่เก่งและมีความสามารถจะต้องสามารถเล่นลูกเท้าด้านในได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว 

ทักษะตะกร้อตอนที่ 2

ทักษะตะกร้อตอนที่ 2

    หลัการปฏิบัติ
      1.ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
      2.จุดกระทบตะกร้อระหว่างเท้าด้านในกับลูกตะกร้อระหว่างใต้ตาตุ่มของเท้าด้านใน
      3.เมื่อลูกตะกร้อลอยมาและใกล้ตัว ให้ย่อเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อย ถอยเท้าที่จะเตะตะกร้อออกไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วยกขึ้นถูกลูกตะกร้อในลักษณะหงายเท้า 
ประเด็นคำถาม

     1. ทักษะการเล่นตะกร้อด้วยเท้าด้านในเป็นอย่างไร
     2. การเล่นตะกร้อด้วยเท้าด้านในมีความสำคัญอย่างไร

กิจกรรมเสนอเสนอแนะ 
     1.ก่อนการเล่นตะกร้อต้อง Warm  Up ทุกครั่ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down 
     2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันตะกร้ออย่างเป็นประจะและต่อเนื่อง
     3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นตะกร้อ

การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
    1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การอภิปรายทักษะพื้นฐานการเตะตะกร้อด้วยเท้าด้านใน
    2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ
    3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว ในการเตะตะกร้อด้วยเท้าด้านใน

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

    1.https://blog.siamsport.co.th/lordtawhan
    2.https://blog.siamsport.co.th/lordtawhan

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2959

อัพเดทล่าสุด