ความเชื่อผิดๆเกียวกับการทำหมันชาย ว่าจะทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง แต่ปัจจุบัน ความเชื่อดังกล่าวเปลี่ยนไปแล้ว
การทำหมันชาย VASECTOMY
การทำหมันชาย ทำได้ง่าย โดยการฉีดยาชา แล้ว ผ่าตัดเป็นแผลเล็กๆใต้ถุงอันฑะ ยาวไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร แล้วคล้องเอาท่อนำตัวเชื้ออสุจิ (Sperm) ที่ออกจากลูกอัณฑะ แต่ละข้าง ทั้งสองข้างออกมาตัดและผูกให้ขาดแยกจากกัน ทำให้เชื้ออสุจิ ที่สร้างจากลูกอัณฑะ ไม่สามารถเดินทางมายังถุงเก็บน้ำเชื้อและท่อฉีดอสุจิได้ ทำให้ ไม่มีสเปิร์ม ออกมากับน้ำอสุจิ ที่หลั่งออกมาจึงทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ คู่สมรสโดยเฉพาะเพศชายที่เลือกคุมกำเนิดด้วยการทำหมันชายนั้น ควรมีความเข้า ใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำหมันชาย ก่อนการตัดสินใจ และจะช่วยลดความวิตกกังวลต่างๆ ลงในระหว่างและภายหลังการทำหมันชายอีกด้วย
ภาพจาก www.thaigoodview.com
ภาพจาก www.elib-online.com
ความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อการทำหมัน ชาย มีดังนี้
1. การทำหมันชายเป็นการผ่าตัดและผูกท่อทางเดินของเชื้ออสุจิ เพื่อป้องกันไม่ให้ มีเชื้ออสุจิปนออกมาในน้ำกามที่หลั่งออกมา หาใช่การตัดเอาลูกอัณฑะออกเพื่อตอนไม่
2. การทำหมันชายไม่มีผลทำให้พละกำลังการทำงานหนักตามปกติลดลง
3. การทำหมันชายไม่มีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง ความรู้สึกต้องการและ ความพึงพอใจทางเพศ การแข็งตัวขององคชาติ ตลอดจนการเข้าถึงจุดสุดยอดจนหลั่ง น้ำกามนั้นจะเป็นปกติ
4. การทำหมันชายเป็นการคุมกำเนิดประเภทถาวร การผ่าตัดแก้หมันในภายหลัง จึงได้ผลตั้งครรภ์ไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ หากยังต้องการมีบุตรอีกควรเลือกใช้วิธีการคุม กำเนิดประเภทชั่วคราวอื่นแทน
5. การทำหมันชายมีอัตราความสำเร็จของการคุมกำเนิดไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มี อัตราความล้มเหลวของ การคุมกำเนิดต่ำมากเมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ
การเตรียมตัวก่อนการทำหมันชาย
คู่สมรสที่เลือกการทำหมันชายเป็นวิธีคุมกำเนิด ควรมีบุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 คนขึ้นไป เนื่องจากการผ่าตัดแก้หมันชายเพื่อต้องการมีบุตรอีกในภายหลังนั้น ได้ผลตั้งครรภ์ไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ บุตรคนสุดท้องควรมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กในขวบปีแรกมักจะป่วย เป็นโรคอันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ง่าย
ประวัติโรคประจำตัวที่สำคัญ ควรระวังและต้องเรียนให้แพทย์ทราบทุกครั้ง ได้แก่ ภาวะเลือดออกผิดปกติและเลือดแข็งตัวช้า เช่นมีจ้ำเลือดหรือห้อเลือดตามตัว ประวัติเคยแพ้ยาโดยเฉพาะยาชาจากการผ่าตัดครั้งก่อน ซึ่งแพทย์จะได้ใช้ เป็นข้อมูลเลือกวิธีการผ่าตัดทำหมันที่เหมาะสมต่อไป
โรคติดเชื้อต่างๆ ที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ชายภาย นอก ได้แก่ ตุ่มหนองที่ผิวหนังถุงอัณฑะ หูดที่องคชาติ เป็นต้น ควรจะรีบรักษาให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดทำหมันชาย การเตรียมตัวโกนขนรอบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เพื่อความสะดวกและ สะอาดระหว่างการผ่าตัดทำหมัน
การดูแลปฏิบัติตัวหลังการทำหมันชาย เนื่องด้วยหลังเสร็จสิ้นการทำหมันชายผู้รับการทำหมันสามารถกลับบ้านหรือกลับออกไปปฏิบัติงานได้เป็นปกติ การดูแลปฏิบัติตัวด้วยตนเองจึงมีความสำคัญ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น การปฏิบัติตัวเหล่านี้ ได้แก่
1. ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณแผลผ่าตัดที่ถุงอัณฑะในวันแรกหลังการผ่าตัดเพื่อช่วยลดอาการบวม ลดความเจ็บปวด และป้องกันการเกิดห้อเลือด
2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักหรือยกของหนักเป็นเวลา 3 วัน
3. งดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์หลังทำ หมันชายทันทีนั้น จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเจริญเข้าต่อกันของท่อทางเดินของ เชื้ออสุจิที่ตัดและผูกแยกจากกันแล้ว ทำให้การคุมกำเนิดล้มเหลว
4. ใช้การคุมกำเนิดชั่วคราวประเภทอื่นแทนหากต้องการมีเพศสัมพันธ์ กระทั่ง ตรวจพบว่าเป็นหมันโดยถาวรคือ ไม่พบเชื้ออสุจิในน้ำกามที่หลั่งออกมา
5. ควรรับการตรวจ น้ำกามที่หลั่งออกมาภายหลังทำหมันชายไปแล้ว 4-6 สัปดาห์ เพื่อความแน่ใจว่าเป็นหมันโดยถาวร คือไม่พบเชื้ออสุจิ และควรตรวจติดต่อกัน 2 ครั้งเพื่อความมั่นใจ ระยะเวลาการเป็นหมันโดยถาวรหลังทำหมันชาย การเป็นหมันโดยถาวร หลังทำหมันชายนั้น หมายถึง การตรวจไม่พบเชื้ออสุจิในน้ำกามที่หลั่งออกมา ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งของการหลั่งน้ำกามออกมา มากกว่า ระยะเวลาหลังการทำหมันชาย โดย ผู้ที่ทำหมันชายกว่าร้อยละ 80-90 จะตรวจไม่พบเชื้ออสุจิในน้ำกามที่หลั่งออกมา ภายหลังที่มีการหลั่งน้ำกามออกไปแล้ว 12-15 ครั้ง
ผู้ที่ทำหมันชายกว่าร้อยละ 80 จะตรวจไม่พบเชื้ออสุจิในน้ำกามที่หลั่งออกมาหลัง การทำหมันแล้ว 6 สัปดาห์ โดยไม่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความบ่อยครั้งของการหลั่งน้ำกาม เชื้ออสุจิที่เหลือค้างอยู่ในท่อทางเดินอสุจิจะสูญเสียความสามารถในการ เคลื่อนไหวใน 3 สัปดาห์ภายหลังทำหมันชาย
ไม่ควรตรวจพบเชื้ออสุจิในน้ำกามที่หลั่งออกมา ภายหลังทำหมันชายแล้ว 3 เดือน หากตรวจพบและยังมีการเคลื่อนไหว อยู่ แสดงว่าเกิดความล้มเหลวในการผ่าตัด ทำหมันชาย ซึ่งการทำหมันชายเพื่อการคุมกำเนิด มีความล้มเหลวน้อยกว่าร้อยละ 1 ทั้งนี้จะขึ้น อยู่กับเทคนิควิธีการตัดและผูกท่อทางเดิน ของเชื้ออสุจิ รวมทั้งประสบการณ์ความ ชำนาญของแพทย์ที่ทำ
ภาพจาก www.cmw.ac.th
ส่วนของท่อนำตัวเชื้ออสุจิจากลูกอัณฑะไปยังถุงเก็บน้ำเชื้อ (จะถูกตัดและผูกทั้งสองข้างในการทำหมันชาย)
ถุงเก็บน้ำอสุจิ ทำหน้าที่สร้างและเก็บน้ำอสุจิ ไว้สำรองเพื่อหลั่งขณะมีเพศสัมพันธ์ (น้ำอสุจิบางส่วนจะ เป็นสารที่หลั่งจากต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) ที่อยู่ใกล้ๆ
*** ปัจจุบัน การทำหมันจะลงแผลผ่าตัดตรงกลางแผลเดียวแต่ดึงท่อนำเชื้อมาตัดได้ทั้งสองข้าง ***
ข้อสังเกต การทำหมันชาย จะทำให้ในน้ำอสุจิ(Semen) ไม่มีตัวอสุจิ( Sperm) แต่จะยังคงมีน้ำอสุจิ อยู่ตามปกติ(สร้างจากส่วนอื่นแล้วมาเก็บสะสมที่ถุงเก็บน้ำอสุจิ) และความรู้สึกทางเพศ ตลอดจนฮอร์โมนเพศ ยังคงอยู่ตามปกติ ต่างกับการทำหมันในสัตว์เช่นการตอนไก่ ซึ่งตัดเอาลูกอัณฑะ ออกเลย ทำให้ขาดฮอร์โมนเพศชาย จึงทำให้อ้วน และความรู้สึกทางเพศลดลงไปด้วย
ที่มาข้อมูล https://www.geocities.com/Heartland/Pines/5842/famplan.html#หมันชาย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3060