ช่วยเหลือถูกวิธี ชีวีปลอดภัย


1,664 ผู้ชม


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาชีวิตผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ   

 

ช่วยเหลือถูกวิธี ชีวีปลอดภัย

                                           หลักเบื้องต้นของการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล
             เป็นการช่วยเหลือแรกสุดเพื่อให้คนรับอุบัติเหตุปลอดภัยโดยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้ 
1. เพื่อป้องกันอันตราย 
2. เพื่อช่วยชีวิต 
3. เพื่อลดความเจ็บปวด 
4. นำส่งโรงพยาบาล 
            เราต้องเก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยดูจากผู้ป่วย ผู้อยู่ในเหตุการณ์ อาการเป็นอย่างไร และประเมินสถานการณ์ ดังนี้
         1 . เมื่อพบเห็นผู้บาดเจ็บ ควรดูให้แน่นอนว่าผู้ป่วยมีเลือดออกหรือไม่ ออกจากที่ใดบ้าง มีความรุนแรงของบาดแผลแค่ไหน ถ้ามีเลือดออก ควรทำการห้ามเลือดเป็นอันดับแรก 
         2 . ถ้าผู้ป่วยไม่มีเลือดออก ให้ตรวจดูว่าร่างกายอบอุ่นหรือไม่ ถ้าร่างกายเย็นชื้น แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการช็อค ควรห่มผ้าให้อบอุ่น ให้นอนศีรษะต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย 
         3 . ควรตรวจดูปากผู้ป่วยว่ามีสิ่งอาเจียน หรือสิ่งอื่นใดอุดตันหรือไม่ ถ้ามี ให้รีบล้วงออกเสียเพื่อมิให้อุดตันทางเดินหายใจหรือมิให้สำลักเข้าปอด 
         4 . ตรวจดูให้แน่ว่าผู้ป่วยหายใจขัดหรือหยุดหายใจหรือไม่ ถ้าหยุดหายใจให้รีบทำการผายปอด และตรวจ คลำชีพจรของเส้นเลือดใหญ่บริเวณลำคอว่ายังเต้นเป็นจังหวะหรือไม่ ถ้าคลำชีพจรไม่พบหรือเบามาก ให้จัดการนวดหัวใจด้วยวิธีกดหน้าอกต่อไป 
         5 . ตรวจดูส่วนต่าง ๆ ของร่างกายว่ามีบาดแผล รอยฟกช้ำ กระดูกหัก ข้อเคลื่อนหรือไม่ ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ให้ปฏิบัติการปฐมพยาบาลแล้วแต่กรณี เช่น ปิดบาดแผล เข้าเฝือกชั่วคราว เป็นต้น 
         6 . ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ถ้าหากต้องการเคลื่อนย้ายควรทำให้ถูกวิธี และมีผู้ช่วยเหลือ หลายคนช่วยกัน 
         7 . คลายเสื้อผ้าที่รัดร่างกายออก 
         8 . อย่าให้คนมามุงดุ เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก 
         9 . พยายามปลอบใจผู้ป่วยอย่างให้ตื่นเต้นตกใจ อย่าให้ผู้ป่วยมองเห็นบาดแผลและรอยเลือดของตน 
       10 . ตามแพทย์มาสถานที่เกิดเหตุ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว  

ช่วยเหลือถูกวิธี ชีวีปลอดภัย

ภาพจาก www.dek-d.com

ช่วยเหลือถูกวิธี ชีวีปลอดภัย

ภาพจาก www.sawangbamphen.com

หลักในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1. ต้องทราบว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณใด
2. ให้การปฐมพยาบาลก่อนการเคลื่อนย้าย เช่น ห้ามเลือด ดามกระดูกที่หัก เป็นต้น
3. เลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
4. การเคลื่อนย้ายต้องทำด้วยความนุ่มนวล มีสติ รอบคอบ
5. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักจะต้องมีสิ่งรองรับ ศีรษะ แขน ขา และหลัง
6. อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น เปล ต้องนำมาให้ถึงผู้ป่วย มิใช่ยกผู้ป่วยเดินไปหาเปล
7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือหลายคนควรมีหัวหน้าเพื่อสั่งการหนึ่งคน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
8. ขณะเคลื่อนย้ายด้วยเปลควรมีสายรัดกันการตก
9. ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสังเกตการหายใจและจับชีพจร ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบช่วยเหลือทันที
10. รีบนำผู้ป่วยส่งให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุดและผู้นำส่งควรเล่าเหตุการณ์ให้แพทย์ทราบเพื่อช่วยการวิเคราะห์การบาดเจ็บ

ช่วยเหลือถูกวิธี ชีวีปลอดภัย

  ภาพจาก...www.rhuampath.com

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
จุดประสงค์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คือ 
1. เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุ อันอาจทำให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้น
2. เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในที่ที่ให้การปฐมพยาบาลได้สะดวก
3. เพื่อส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3062
 

อัพเดทล่าสุด