การสารณสุขไทย


926 ผู้ชม


การสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย   


          สธ.แจ้ง รพ.ที่ถูกน้ำท่วมเปิดให้บริการได้หมดแล้ว ส่วนที่ รพ.หาดใหญ่การผ่าตัดยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากระบบน้ำ-ไฟยังใช้งานได้ไม่ดี พร้อมปล่อยคาราวานสู้ภัยน้ำท่วม... เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 4 พ.ย. ที่หน้าสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ปล่อยคาราวานสาธารณสุขรวมไทย สู้ภัยน้ำท่วม โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ แบ่งเป็น 2 ขบวน คือขบวนที่ 1 จะเข้าไปฟื้นฟูระบบสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม และป้องกันควบคุมโรค ในพื้นที่น้ำลด ประกอบด้วย รถกรมสุขภาพจิต รถพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมพาหะนำโรคทั้งยุง แมลงวัน รถสาธิตการทำสุขาเคลื่อนที่ รถตรวจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร รถตรวจทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รถสุขบัญญัติกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส่วนขบวนที่ 2 จะไปยังพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมอยู่ ประกอบด้วย รถหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ รถกรมสุขภาพจิต รถพยาบาล และรถเวชภัณฑ์ยา  ทั้งนี้ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้องค์การเภสัชกรรมเร่งผลิตยา โดยเฉพาะยาชุดน้ำท่วม ที่ผ่านมากระจายยาชุดน้ำท่วมไปให้ 46 จังหวัดแล้ว 1 ล้านชุด และส่งเพิ่มเติมอีก 1 แสนชุด ไปให้ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วน รพ.ที่ถูกน้ำท่วมเปิดบริการได้หมดแล้ว ขณะที่โรงพยาบาลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เปิดให้บริการได้ทั้งหมดแล้ว โดยจะเข้าไปดูแลโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่เป็นพิเศษ เนื่องจากขณะนี้เปิดบริการได้เฉพาะผู้ป่วยนอกบางส่วน ส่วนการผ่าตัดยังไม่สามารถทำได้ เพราะระบบบำบัดน้ำเสียและระบบไฟของโรงพยาบาลยังใช้งานได้ไม่ดี ส่วนการจัดบริการดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่หาดใหญ่ ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจรักษาเพิ่มจาก 12 จุดเป็น 20 จุด ทั้งพื้นที่รอบนอกและในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ระดมทีมแพทย์ทั้งกายและจิต จากโรงพยาบาลใน 8 จังหวัดภาคใต้ กรมการแพทย์ และรพ.สงขลานครินทร์ รวม 21 ทีม
        ส่วนผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 30 จังหวัด ถึงวันที่ 3 พ.ย. ออกปฏิบัติการรวม 3,017 ครั้ง ผู้เจ็บป่วยรวม 318,902 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า รวมยอดผู้เสียชีวิตในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งหมด 112 ราย
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า สำหรับประชาชนผู้ประสบอุทกภัย สามารถรับบริการด้านสาธารณสุข จากหน่วยบริการใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ และอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยไม่ต้องไปรับบริการที่หน่วยบริการประจำก่อน และหน่วยบริการก็จะไม่เรียกเก็บค่าบริการจากประชาชน.

1.สามารถอธิบายบทบาทหน้าที่ของกระทรวงสารณสุขได้
2.สามรรถบอกแหล่งบริการสาะรณสุขได้

          กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พันธกิจทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าประสงค์หลัก มุ่งที่จะบาบัดทุกข์ บารุงสุข เพื่อให้คนไทยทุกหมู่เหล่าได้ประโยชน์สูงสุด มีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเทียมกับมาตรฐานที่ยอมรับทั่วโลก ดังนั้นทุกหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขจึงมีการประสานความร่วมมือกัน อีกทั้งประสานกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมกันกาหนดแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพที่มีคุณภาพเหมาะสม พอเพียง เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และ ยอมรับทั่วโลก
         จากข้อมูลผลการดาเนินการด้านธุรกิจบริการเกี่ยวกับสุขภาพของประเทศ พบว่าคุณภาพและศักยภาพการบริการรักษาพยาบาล ธุรกิจบริการส่งเสริมสุขภาพ และธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทยประสบผลสาเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ผู้รับบริการชาวต่างประเทศนิยม เดินทางมารับบริการสุขภาพในประเทศไทยเป็นจานวนมาก ทาให้สร้างรายได้แก่ธุรกิจสุขภาพและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหาร ยา ชีววัตถุสมุนไพร เครื่องสาอาง เครื่องมือแพทย์ รวมถึงธุรกิจบริการอื่นๆ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุน ยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจสุขภาพ ด้วยการมุ่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีมาตรฐานระดับสากล โดยมีทิศทางการดาเนินงานที่จะยกระดับคุณภาพและมาตรฐานระบบสาธารณสุขของประเทศให้ครอบคลุม ทั่วถึง และก้าวหน้าเข้าสู่การรับรองคุณภาพในระดับสากล เช่น พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธาณสุขทั้งระบบ เพื่อรองรับนโยบาย Medical Hub พัฒนาการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนแบ Public Private Partnership (PPP) พัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสม หรือรูปแบบพิเศษสาหรับโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน
                  กระทรวงสาธารณสุข กาหนดให้มีบริการที่เป็นแหล่งรายได้หลักเข้าสู่ประเทศ จานวน ๔ ผลผลิตหลัก คือ
         ๑) บริการรักษาพยาบาล โดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ระดับโลก (Thailand is the Excellent Medical Hub of the World) จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้บริการรักษาพยาบาลของประเทศไทยได้รับความนิยม เชื่อมั่น เป็นที่ยอมรับทั่วโลก และมีการยกระดับคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล โดยห้องปฏิบัติการฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO 15189 เป็นแห่งแรกของเอเซีย ปัจจุบันห้องปฏิบัติการทางด้านการแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO 15189 ประมาณ 80 แห่ง นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิกของโรงพยาบาลศิริราชยังได้รับการรับรองการตรวจน้าตาลในเลือด ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point of Care Testing ; POCT) ตามมาตรฐานสากล ISO 22870 เป็นแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นองค์กรรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งเดียวของประเทศไทย ซึ่งมีการบริหารจัดการและกระบวนการรับรองที่เป็นมาตรฐานสากล เป็นสมาชิกขององค์กรระดับภูมิภาค : APLAC MRA และเป็นสมาชิกกับองค์กรระดับโลก : ILAC MRA

       ๒) บริการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพระดับโลก (Thailand is the World Class Destination)
        ๓) บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกระดับโลก (Thailand is the World Class Thai Traditional and Alternative Medicine Destination)
๔) การพัฒนาสมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกสมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐานสากล (Thailand is the World Class of Herbs and Health Products ) ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา ชีววัตถุ เครื่องสาอาง วัตถุอันตรายที่ใช้ทางการสาธารณสุข สมุนไพร รังสีและเครื่องมือแพทย์ ที่ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จานวนไม่น้อยกว่า 200 แห่ง
        ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการรับรองความสามารถจะสนับสนุนและสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ (Global Acceptance) สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคในประเทศ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค สาหรับความเชื่อมั่นในต่างประเทศ จะทาให้สามารถเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นการสร้างรายได้ และเศรษฐกิจของประเทศ
ประเด็นคำถาม

1.จงอธิบายบทบาทหน้าที่กระทรวงสาะรณสุขมาให้เช้าใจ
2.นักเรียนสามารถใช้แกล่งบริการสาะรณสุขได้ที่ใดบ้าง

การบูรณาการกับสาระการเรียรู้อื่น
1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง การอภิปรายปัญหาสาธารณสุขของไทย
2.สาระการเรียนรู้สังคมศึกา ศสานา และวัฒนธรรม า เรื่อง การศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

กิจกรรมเสนอแนะ
1. จัดนิทรรศการการสาธารณสุขไทย
2. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดของโรงเรียน
3. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ นอกสถานที่

แผล่งที่มา : 
1.https://www.thairath.

                                                  ที่มา: https://www.thairath.
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3307

อัพเดทล่าสุด