ยาเสพติดปัญหาท้าทายในการแก้ไข


982 ผู้ชม


ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกัน เป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สัง   

            แก๊งโจรสุดเหิม บุกปล้นแม่ลูกในสถานรับเลี้ยงเด็กย่านชานเมือง อ้างตัวเป็นตร.ปราบปรามยาเสพติด ขับปิกอัพมา 5 คน จู่โจมเล่นงานกลางวันแสก ๆ กวาดทรัพย์สินไปหลายแสนบาท ขู่จะเล่นงานถึงขั้นยึดบ้าน แฉวางแผนเนียน ทำหมาย ค้นตกทิ้งไว้ ระบุชื่อ “พ.ต.ท.” สังกัด บช.ปส.1 เหยื่อผวาไม่กล้าแจ้งโรงพักท้องที่ หอบหลักฐานขอความช่วยเหลือกองปราบฯ ล่าสุดได้เบาะแสแล้ว ส่วนตำรวจ ปส. ยันหมายค้นปลอม ตรวจแล้วไม่มีชื่อสีกากีที่ถูกแอบอ้าง  
            ที่ กองบังคับการกองปราบปราม เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 5 พ.ย. นางอำไพ สมจิตร อายุ 56 ปี พร้อมด้วย น.ส.วิชิต สมจิตร อายุ 33 ปี บุตรสาว เดินทางมาจาก จ.นนทบุรี เพื่อแจ้งความร้องทุกข์หลังถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ 5 คน ที่อ้างตัวเป็นตำรวจปราบปรามยาเสพติด บุกเข้าไปตรวจ ค้นภายในบ้าน จากนั้นได้รื้อเอาทรัพย์สินเป็นเงินสดและทองรูปพรรณไปหลายแสนบาท รวมทั้งยังจับตัวบุตรสาวไปด้วย พร้อมให้นำเงินสด 1 แสนบาทไปไถ่ตัว เหตุเกิดช่วงสายวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่บ้านพักใน อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี   
          นางอำไพ ให้การว่า มีอาชีพเปิดสถานรับจ้างเลี้ยงเด็ก ช่วงเกิดเหตุประมาณเวลา 09.00 น. วันที่ 4 พ.ย. ขณะตนและน.ส.วิชิต ลูกสาวอยู่ที่บ้านตามลำพัง ได้มีจยย.รับจ้างตะโกนเรียกให้ออกมารับจดหมายด่วน แต่พอลูกสาวออกไปดูจดหมายสักพัก ได้มีกลุ่มชายฉกรรจ์ขับรถปิกอัพอีซูซุ รุ่นดีแมคซ์ สีบรอนซ์ทอง มาจอดหน้าบ้านจากนั้นมีชายฉกรรจ์ 5 คน บุกเข้ามาในบ้านอ้างเป็นตำรวจปส. จับลูกสาวมัดมือด้วยสายรัดพลาสติก พร้อมรื้อค้นในบ้านอย่างละเอียด ได้เงินสดของลูกสาวไป 6.5 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังค้นเงินในห้องตนไปอีก 3 หมื่นบาท สร้อยทองรูปพรรณหนัก 8 บาท มูลค่ากว่าแสนบาท     
          ภายหลังได้ทรัพย์สินแล้วคนร้ายยังได้นำตัวตนและลูกสาวขึ้นรถออกจากบ้าน พร้อมยังขับรถเก๋งของลูกสาวไปด้วย ขับรถไปทาง    ถนน 345 มุ่งหน้าบางบัวทอง ตลอดทางข่มขู่ตลอดเวลาว่าจะยึดทรัพย์สินให้หมด โดยคนในรถไม่ยอมเรียกชื่อแต่ใช้สรรพนามแทนกันว่า “ผกก.” และ “รองฯ” จากนั้นได้ปล่อยตนลงกลางทางเพื่อให้ไปหาเงินสด 1 แสนบาท โอนบัญชีเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุชื่อ “วัลลภ ชอบชน” เมื่อกลับไปถึงบ้านก็รีบโอนเงินให้ทันที จากนั้นคนร้ายได้ให้ลูกสาวออกไปกดเงินมาให้จนครบ 1 แสนบาทแล้วจึงปล่อยตัวมาพร้อมรถยนต์ แต่ภายในรถคนร้ายทำเอกสารตกไว้ ระบุเป็นหมายค้น มีชื่อของ “พ.ต.ท.”ระดับ รองผกก.สังกัด บช.ปส.1 เป็นผู้นำตรวจค้น ส่วนสาเหตุที่ไม่กล้าแจ้งตำรวจท้องที่เพราะกลัวจะเป็นกลุ่มเดียวกัน   
          เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้รับแจ้งความ พร้อมจะเร่งขยายผลจากทะเบียนรถยนต์ และสมุดบัญชีธนาคารที่มีการโอนเงินเข้าไปล่าสุดพอจะได้เบาะแสกลุ่มคนร้ายแล้ว ส่วนการตรวจสอบหมายค้น คาดว่าน่าจะเป็นของปลอมที่คนร้ายทำขึ้น เนื่องจาก เช็กดูรายชื่อ “พ.ต.ท.” ที่ถูกระบุไว้ ทาง บช.ปส. ยืนยันไม่มีรายชื่อดังกล่าว.    
ที่มา:  
https://www.dailynews.co.th

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) 
สาระที่ 5  ความปลอกภัยในฃีวิต 
มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสียง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้สารเสพติด และความนรนแรง 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. สารมารถอธิบายสาเหตุของติดสารเสพติดได้
2. สามารถเสนอแนะแนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดได้

          สิ่งเสพติด หรือที่เรียกกันว่า "ยาเสพติด" ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
         ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ

ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกัน

         ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกัน เป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้

         ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า 0222 ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ 
ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ 
 

ยาเสพติดปัญหาท้าทายในการแก้ไข

                                                  ที่มา:  https://www.google.co.th/imglanding

ประเภทของยาเสพติด

         จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท 
ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย 
ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น    ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต 
ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน

ยาเสพติดปัญหาท้าทายในการแก้ไข

  ที่มา:  https://www.google.co.th/imglanding

สาเหตุของการติดยาเสพติด   การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก

      1.ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง เป็นส่วนใหญ่ 
      2. เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน 
      3.มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ 
      4.ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร 
      5.สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด 
      6.ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้ 

การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
       ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ

       ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม    อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย  ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน  ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ 
ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด  ขโมย ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด 
       ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง  อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทำไม่สำเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความจริง คำถามที่ใช้ไม่ควร ถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใ ช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่ ฯลฯ

ยาเสพติดปัญหาท้าทายในการแก้ไข

                                  ที่มา:  https://www.google.co.th/imglanding

การป้องกันยาเสพติด

          ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด และพยายามปลีกตัวออกห่างจากบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ ตามความสนใจและความถนัด ระมัดระวังในการใช้ยาต่าง ๆ และศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด 
ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน   
        ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว โดยกฎหมายจะยกเว้นโทษให้ผู้ที่สมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ และเมื่อรู้ว่าใครกระทำผิดฐานนำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)

ยาเสพติดปัญหาท้าทายในการแก้ไข

                                              ที่มา:  https://www.google.co.th/imglanding

ประเด็นคำถาม

1.จงอธิบายสาเหตุของการติดสารเสพติดมาให้เช้าใจ
2.นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหายาสเพติดได้อย่างไร

การบูรณาการกับสาระการเรียรู้อื่น
1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง การอภิปรายปัญหายาสเพติด
2.สาระการเรียนรู้สังคมศึกา ศสานา และวัฒนธรรม า เรื่อง การศึกษาปัญหายาสเพติดในสังคม
3.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา การวาดภาพรณรงค์แก้ไขปัญหายาสเพติด

กิจกรรมเสนอแนะ
1. จัดนิทรรศการการเกี่ยวกับยาเสพติด
2. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดของโรงเรียน
3. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ นอกสถานที่
 ,
แหล่งที่มาช้อมูล

1. https://www.dailynews.co.th
2. https://www.google.co.th/imglanding

ยาเสพติดปัญหาท้าทายในการแก้ไข

                                              ที่มา:  https://www.google.co.th/imglanding

ยาเสพติดปัญหาท้าทายในการแก้ไข
ที่มา:  https://www.google.co.th/imglanding

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3349

อัพเดทล่าสุด