อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน


1,122 ผู้ชม


อุบัติเหตุ หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าแต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ อุบัติเหตุเป็นผลเชิงลบของความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้แต่แ   

          ดาบตำรวจฉัตรชัย คุณเลิศ ผบ.หมู่.จร.สน.วิภาวดี รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะตกลงไปในคลองระบายน้ำ ริมถนนวิภาวดีขาออก บริเวณหน้าปากซอยวิภาวดี 17 หรือ ซ.พรรณี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร จึงเดินทางไปตรวจสอบพร้อมรถยก ที่เกิดเหตุพบรถแท๊กซี่บุคคลสีเขียวเหลือง ยี่ห้อโตยต้า รุ่นโคโรล่า ทะเบียน มง 1997 กทม. จมอยู่ในคลอง สภาพน้ำท่วมเกือบถึงหลังคา 
        จาการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่าคนขับชื่อนายณรงค์ศักดิ์ มีผลกิจ อายุ 55 ปี ซึ่งพักอาศัยอยู่ภายในซ.ดังกล่าว โดยก่อนเกิดเหตุคนขับได้ขับรถออกมาพร้อมกับภรรยา เมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุคนขับมีอาการวูบหน้ามืด ทำให้รถเกิดเสียหลักพุ่ง พลัดตกลงไปในคลอง โชคดีที่ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด
ที่มา https://paidoo.net/scoop

      
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต

มาตรฐาน พ 5.1  ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง

นักเรียนช่วงชั้นที่ 4  ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 )

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
   1 อธิบายความหมายของอุบัติเหตุได้
   2 บอกสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้
   3 สามารถเสนอแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุได้

        อุบัติเหตุ หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าแต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ อุบัติเหตุเป็นผลเชิงลบของความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้แต่แรก โดยพิจารณาจากปัจจัยสาเหตุต่างๆ อันที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ
        ในเรื่องของกำหนดการและการวางแผน อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์หรือผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการวางแผนรองรับมาก่อน หรือวางแผนไม่ครอบคลุม ซึ่งจะส่งผลต่อระบบและกำหนดการโดยรวมเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น ในอีกความหมายหนึ่ง อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์ทางกายภาพที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของมนุษย์อาทิ รถชน ตกตึก มีดบาด ไฟลวก ไฟช็อต โดนพิษ ฯลฯ หรือหมายถึงเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ทางกายภาพเช่น การลืมของ การลืมนัดหมาย ความเผอเรอ หรือการเปิดเผยความลับ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดก็ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้

      การศึกษาอุบัติเหตุมีขึ้นเพื่ออะไรย รศึกษาอุบัติเหตุควรศึกษาเช่นเดียวกับโรคทุกชนิดคือ อนุโลม "อุบัติเหตุ" ขึ้นเป็นโรคหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางสู่การแก้ไขและหลีกเลี่ยง โดยทั่วไป การศึกษาโรคทุกชนิดควรมอง ๓ ด้านด้วยกัน คือ 
๑. ผู้ที่เกิดโรค (host) 
๒. สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (agent) 
๓. สิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การเกิดโรค ( environment) 
อุบัติเหตุเกี่ยวข้องกับหลัก ๓ ประการ เช่นเดียวกัน คือ 
๑. ผู้รับอุบัติเหตุ 
๒. สิ่งที่เป็นเหตุ 
๓. เวลาและสถานที่เกิดเหตุย 
      จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมี ๓ ด้าน ด้วยกัน เช่น บุคคลบางประเภทดูเหมือนว่าได้รับอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป ตัวการบางอย่างทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและบ่อย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมบางอย่างบางเวลาก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นต้น

      อุบัติเหตุมีกี่ประเภท การแบ่งประเภทของอุบัติเหตุ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ได้แก่ 
๑. ตัวการหรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ยานยนต์ อาวุธปืน สารพิษ ไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม 
๒. ผลจากอุบัติเหตุ เช่น บาดแผลของผิวหนังศีรษะหรือสมองบาดเจ็บ กระดูกหัก แผลจากวัตถุระเบิดและกระสุนปืน แผลลวก - ไหม้ 
๓. สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การจราจร บ้าน โรงเรียน สถานที่ประกอบการ เช่น โรงงานสถานที่ก่อนสร้าง สนามกีฬา สนามรบ 
๔. ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุที่เกิดแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน อุบัติเหตุในเด็ก คนงาน นักกีฬา คนชรา

     อุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรมีอะไรบ้าง
อุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรแบ่งออกเป็น 
๑. อุบัติเหตุยานยนต์ในถนนหลวง ซึ่งเป็นอุบัติเหตุการจราจรที่พบมากที่สุด 
๒. อุบัติเหตุรถไฟ 
๓. อุบัติเหตุในการขนส่งการน้ำ 
๔. อุบัติเหตุในการขนส่งทางอากาศ

       อุบัติเหตุยานยนต์ในถนนหลวง อุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทางบก โดยเฉพาะอุบัติเหตุเกี่ยวกับยานยนต์เป็นสาเหตุการตายและบาดเจ็บสูงสุดของสถิติอุบัติเหตุที่รุนแรงทุกประเภท จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขรายงานไว้ว่า อัตราตายจากอุบัติเหตุยานยนต์ในถนนหลวงปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ถึง ๒๕๑๕ อยู่ในเกณฑ์ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑๒.๗ ต่อประชากรแสนคน เป็นสาเหตุการตายอันดับที่ ๑ ของบรรดาอุบัติเหตุทั้งปวงย ย จากสถิติข้อมูลของกองตำรวจทางหลวง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ถึง ๒๕๒๒ ปรากฏว่าอุบัติเหตุยานยนต์ที่เกิดขึ้นบนทางหลวงแผ่นดินสายต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศจำนวน ,๒๓๘ ครั้ง มีคนตาย ๓,๐๒๐ คน คนบาดเจ็บ ๖,๕๔๒ คน ทรัพย์สินเสียหายประมาณ ๕๓.๒ ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรองลงมา ได้แก่ รถบรรทุกและรถยนต์โดยสาร เหตุเกิดมากเป็นพิเศษ ในวันหยุดสุดสัปดาห์สาเหตุที่ประมวลได้ส่วนใหญ่เกิดจากการขับรถโดยประมาท เช่น การแซงรถในที่คับขัน ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เลี้ยงตัดหน้ารถอื่นย่างกระชิด หรือผู้ขับขี่เมาสุรา ติดยาเสพติดหรือหลับในขณะขับรถ เป็นต้น อุบัติเหตุบนทางหลวงนอกเขตเทศบาลมักเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรง มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ส่วนอุบัติเหตุยานยนต์ในเขตชุมชน ย่อมเกิดขึ้นบ่อยกว่าในทางหลวงหลายเท่า แต่มักไม่รุนแรง มีผู้บาดเจ็บถึงตายไม่มาก ส่วนมากเกิดจากรถนั่งส่วนบุคคลชนคนข้ามถนน รถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ชนกันเอง เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เริ่มใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมการจราจรทางบกที่รัดกุมเคร่งครัดกว่าก่อน คาดหมายกันว่า ต่อนี้ไปแนวโน้มของอุบัติเหตุจราจรทางบกอาจลดน้อยลงก็ได้ย 

อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน

                                         ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding
 
        อุบัติเหตุรถไฟ เมื่อเปรียบเทียบกับยานยนต์แล้ว รถไฟให้ความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารมากกว่ารถยนต์ ทั้งนี้เพราะว่ารถไฟมีระบบทางเดินรถที่แน่นอนของตนเอง และมีการดูแลควบคุมที่ทั่วถึง ในปีหนึ่ง ๆ ยังมีอุบัติรถไฟตกรางอยู่บ่อย ๆ แต่มักไม่ร้ายแรงมีผู้โดยสารบาดเจ็บล้มตายจำนวนน้อย เท่าที่ปรากฏเป็นข่าวน่าสะเทือนขวัญของคนทั่วไป คือ รถไฟ ๒ ขบวน วิ่งชนกันเกิดการพลิกคว่ำ มีผู้โดยสารบาดเจ็บล้มตายคราวละมาก ๆ สาเหตุสันนิษฐานว่าเกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่าย เช่น พนักงานขับรถหรือพนักงานสับเปลี่ยนรางรถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาท พนักงานขับรถไฟด้วยความเร็วเกินอัตราที่กำหนด หรือฝ่าฝืนสัญญาณความปลอดภัย เป็นต้นย ย นอกจากนี้ยังพบอุบัติเหตุรถไฟทับคนบาดเจ็บแขนขาขาดหรือถึงแก่ความตายเป็นครั้งคราว อันมีสาเหตุมาจากคนนอนหลับข้างรถไฟ คนหรือยานยนต์ฝ่าสัญญาณวิ่งตัดหน้าขบวนรถไฟ เหตุการณ์เหล่านี้อาจป้องกันได้ ถ้าได้รับความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย
 

อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน

                                            ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding
     อุบัติเหตุในการขนส่งทางน้ำ เนื่องจากการขนส่งทางน้ำได้รับความนิยมภายในประเทศน้อยลง ขณะที่บ้านเมืองพัฒนาการขนส่งทางบกให้สะดวกขึ้นอัตราตายจากอุบัติเหตุในการขนส่งทางน้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง ๒๕๑๙ มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ อุบัติเหตุทางน้ำที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เป็นรายใหญ่ๆ มักเกิดจากเรือโดยสารล่มในแม่น้ำหรือทะเล ส่วนมากเป็นเรือทัศนาจรที่บรรทุกผู้โดยสารเกินอัตราหรือประสบสภาพอากาศแปรปรวน ขาดความระมัดระวังทั้งผู้ขนส่งและผู้โดยสาร ส่วนอุบัติเหตุจมน้ำมักเกิดขึ้นประปรายกับผู้ซึ่งมีที่อยู่อาศัยใกล้แม่น้ำลำคลอง หรือเดินทางทางเรือเป็นส่วนใหญ่                                  

อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน

                                                  ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding   
       อุบัติเหตุในการขนส่งทางอากาศ อุบัติเหตุในการขนส่งทางอากาศ เช่น เครื่องบินโดยสารตก มักปรากฏเป็นข่าวใหญ่ ไม่ว่าเกิดขึ้น ณ ที่ใดของโลก เพราะเครื่องบินโดยสารแต่ละลำที่ตก มักมีผู้โดยสารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทย เครื่องบินฝึกบินประสบอุบัติเหตุตกบ่อย ๆ แต่ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตมีจำนวนน้อย เหตุการณ์ที่เคยปรากฏเป็นข่าวใหญ่เมื่อไม่นานมานี้คือ เครื่องบินโดยสารไอพ่นของสายการบินต่างประเทศบินชนโรงงานทอผ้าใกล้ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ขณะบินร่องลง และเครื่องบินโดยสารภายในประเทศประสบอุบัติเหตุตกที่รังสิต มีผู้โดยสารและเจ้าพนักงานของเครื่องบินเสียชีวิตเป็นจำนวนมากย  จากสถิติขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ รายงานไว้ว่า อุบัติเหตุในการขนส่งทางอากาศเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางบกและทางน้ำแล้ว ปรากฏว่า มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุต่ำกว่ามากและค่อนข้างคงที่ตลอดมา ในช่วงระยะเวลา ๒๕ ปีที่ผ่านมาการบินโดยสารระหว่างประเทศส่วนใหญ่ใช้เครื่องบินไอพ่นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๕ จนถึง ๒๕๒๑ มีสถิติเครื่องบินไอพ่นตกทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง ๑๐ ถึง ๑๕ ลำต่อปี รวมเครื่องบินไอพ่นโดยสารตกทั้งสิ้น ๓๒๔ ลำ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารเครื่องบินพลเรือนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นทุกวันแล้ว สถิติการเกิดอุบัติเหตุของการขนส่งทางอากาศมีแนวโน้มลดลง สาเหตุของอุบัติเหตุเครื่องบินตกเป็นไปได้ ๓ ทาง คือ เกิดจากความบกพร่องของเครื่องบินสภาพภูมิอากาศไม่ดีหรือความบกพร่องของนักบิน เช่น ประมาท เจ็บป่วยในขณะปฏิบัติงานขาดประสบการณ์หรือขาดความชำนาญในเที่ยวบินครั้งนั้น ๆ เป็นต้น 

อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน
ปร
ะเด็นคำถาม
1จงอธิบายความหมายของอุบัติเหตุมาให้เข้าใจ
2จงอธิบายสาเหตุที่สำคัญให้เกิดอุบัติเหตุมาให้เข้าใจ
3จงเสนอแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ
                           
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย การเขียนบทความเกี่ยวกับอุบัติเหตุ
2 สาระการเรียนรู้คณิตศาตร์ สถิติการเสียชีวิตเกี่ยวกับอุบัติเหตุ
3 สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา การวาดภาพการณรงค์การป้องกันอุบัติเหตุ
                                   
                                      
กิจกรรมเสนอแนะ
1 มอบหมายให้นักเรียนจัดนิทรรศการการณรงค์การป้องกันอุบัติเหตุ
2 เชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายให้ความรู้เพิ่มเติม เช่น ขนส่งจังหวัด ตำรวจ เป็นต้น
                               

แหล่งที่มา:
1. https://paidoo.net/scoop
2. https://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK8/chapter7/t8-7-l1.htm
3. 
 https://www.google.co.th/imglanding                             
                                                                                                  

                                               ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding   

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3368

อัพเดทล่าสุด