การปฐมพยาบาลเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
สพฉ. ประสานทีมแพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศ รับมือวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ เผยสถิติหยุดยาวปีใหม่ 53 พบมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 446 คน บาดเจ็บกว่า 27,483 คน ...
เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 ในช่วง 7 วันอันตรายระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.- 52-4 ม.ค.53 พบว่าทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 446 คน บาดเจ็บกว่า 27,483 คน โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด 10 อันดับ คือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร นครราชสีมา ชลบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี เชียงราย นครศรีธรรมราช ตามลำดับ และจากสถิติพบว่ารถที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ รถจักรยานยนต์ คิดเป็นร้อยละ 84.19 และส่วนมากเสียชีวิตจากการไม่สวมหมวกนิรภัย
น.พ.ชาตรี กล่าวต่อว่า ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และลดความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจึงร่วมรณรงค์ แนะนำให้ผู้ขับขี่จะต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จะต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง เพื่อช่วงลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตามทางสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติมีมาตรการเตรียมพร้อมรับมือ ช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว โดยได้สั่งการให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉินเตรียมพร้อมในทุกพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุมาก ทั้งนี้หากเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน 1669 เพื่อประสานขอความช่วยเหลือ.
ที่มา: https://www.thairath.co.th/
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา (ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5)
สาระที่ 5 ความปลอกภัยในฃีวิต
มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสียง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้สารเสพติด และความรุนแรง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สารมารถอธิบายหลัการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
2. สามารถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้
ความหมายของการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
1. เพื่อช่วยชีวิต
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?
หลักเบื้องต้นของการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล
เป็นการช่วยเหลือแรกสุดเพื่อให้คนรับอุบัติเหตุปลอดภัยโดยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
1. เพื่อป้องกันอันตราย
2. เพื่อช่วยชีวิต
3. เพื่อลดความเจ็บปวด
4. นำส่งโรงพยาบาล
ขอบเขตและหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาล
ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น
2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนต์ เป็นต้น
2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น
ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?
หลักในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1. ต้องทราบว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณใด
2. ให้การปฐมพยาบาลก่อนการเคลื่อนย้าย เช่น ห้ามเลือด ดามกระดูกที่หัก เป็นต้น
3. เลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
4. การเคลื่อนย้ายต้องทำด้วยความนุ่มนวล มีสติ รอบคอบ
5. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักจะต้องมีสิ่งรองรับ ศีรษะ แขน ขา และหลัง
6. อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น เปล ต้องนำมาให้ถึงผู้ป่วย มิใช่ยกผู้ป่วยเดินไปหาเปล
7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือหลายคนควรมีหัวหน้าเพื่อสั่งการหนึ่งคน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
8. ขณะเคลื่อนย้ายด้วยเปลควรมีสายรัดกันการตก
9. ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสังเกตการหายใจและจับชีพจร ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบช่วยเหลือทันที
10. รีบนำผู้ป่วยส่งให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุดและผู้นำส่งควรเล่าเหตุการณ์ให้แพทย์ทราบเพื่อช่วยการวิเคราะห์การบาดเจ็บ
ที่มา: https://www.google.co.th/imglanding?
ประเด็นคำถาม
1. จงอธิบายความหมายของหารปฐมพยาบสลให้เข้าใจ
2. หลักการปฐมพยาบาลที่ดีควรปฏิบัตือย่างไร
3. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรปฏิบัตือย่างไร
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย การเขียนบทความเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ป่วย
2 สาระการเรียนรู้คณิตศาตร์ สถิติข้อมูลการช่วยชีวิตผู้ป่วย
3 สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา การวาดภาพการณรงค์การช่วยเหลือผู้ป่วย
กิจกรรมเสนอแนะ
1.มอบหมายให้นักเรียนจัดนิทรรศการการปฐมพยาบาล
2.เชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายให้ความรู้เพิ่มเติม เช่น แพทย์ พยาบาล เป็นต้น
3..ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในห้องสมุด
แหล่งที่มา:
1. https://www.thairath.co.th/
2. https://www.google.co.th/imglanding?
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3385