ศาสนาช่วยนำทางวิทยาศาสตร์


827 ผู้ชม

วิทยาศาสตร์ก็คือการสืบเสาะค้นหาโลกวัตถุที่เราอาศัยอยู่โดยการสังเกตและการทดลอง ดังนั้น ในการสืบเสาะค้นหาดังกล่าว วิทยาศาสตร์จะนำไปสู่ข้อสรุปต่างๆที่อาศัยข้อมูลจากการสังเกตและการทดลอง




     วิทยาศาสตร์ก็คือการสืบเสาะค้นหาโลกวัตถุที่เราอาศัยอยู่โดยการสังเกตและการทดลอง ดังนั้น ในการสืบเสาะค้นหาดังกล่าว วิทยาศาสตร์จะนำไปสู่ข้อสรุปต่างๆที่อาศัยข้อมูลจากการสังเกตและการทดลอง
นอกจากนั้น ระเบียบวินัยทุกอย่างของวิทยาศาสตร์ก็มีบรรทัดฐานบางอย่างที่สมมุติฐานกันขึ้นมาเองหรือถูกยอมรับโดยไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้อง ในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ บรรทัดฐานนี้ถูกเรียกว่า “รูปแบบจำลอง” (paradigm)


การตั้งข้อสมมุติฐาน

     ดังที่เรารู้กัน ก้าวแรกในการสืบเสาะค้นหาทางวิทยาศาสตร์ก็คือการตั้งข้อสมมุติฐานเสียก่อน เพราะไม่ว่าจะศึกษาค้นคว้าหัวข้อใด นักวิทยาศาสตร์จะต้องตั้งสมมุติฐาน หลังจากนั้น สมมุติฐานนี้ก็จะถูกทดสอบโดยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ถ้าหากการสังเกตและการทดลองยืนยันว่าสมมุติฐานเป็นความจริง สมมุติฐานนั้นก็จะถูกเรียกว่า “หลักการหรือกฎที่ได้รับการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับแล้ว” ถ้าหากข้อสมมุติฐานนั้นไม่ได้รับการยอมรับก็จะมีการทดสอบข้อสมมุติฐานใหม่และเริ่มต้นกระบวนการใหม่ การตั้งข้อสมมุติฐานซึ่งเป็นก้าวแรกของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นมักจะขึ้นอยู่กับทัศนะพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์อาจจะตั้งข้อสมมุติฐานว่า “วัตถุมีแนวโน้มที่จะก่อตัวของมันเองโดยไม่ต้องอาศัยการเกี่ยวข้องของสิ่งที่มีความคิด” หลังจากนั้น ก็จะใช้เวลาศึกษาเป็นเวลาหลายปีเพื่อที่จะยืนยันข้อสมมุติฐานนั้น แต่เนื่องจากวัตถุไม่มีความสามารถเช่นนั้น ความพยายามของนักวิทยาศาสตร์จึงมีแต่จะล้มเหลว ยิ่งไปกว่านั้นถ้านักวิทยาศาสตร์ยังคงดันทุรังฝังใจอยู่กับข้อสมมุติฐานของตนอยู่ การศึกษาค้นคว้าก็อาจจะเสียเวลานานนับหลายปีหรือแม้แต่หลายชั่วคน ผลสุดท้ายก็ คือการสูญเสียเวลาและทรัพยากรเป็นจำนวนมากมายมหาศาล


อย่างไรก็ตาม ถ้าหากประเด็นของข้อสมมุติฐานคือความคิดที่ว่า “มันเป็นไปไม่ได้สำหรับวัตถุที่จะก่อตัวกันขึ้นมาเองโดยปราศจากแผนการที่มีความคิด” การศึกษาวิทยาศาสตร์นั้นก็จะเป็นมีแนวทางไปได้อีกไกลและให้ผล


แหล่งที่มาที่แท้จริงเพียงแหล่งเดียว

     เรื่องของการตั้งข้อสมมุติฐานที่เหมาะสมนั้นต้องการแหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆมากกว่าแค่เพียงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ การรู้จักแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องนี้มีความสำคัญมากเพราะดังที่เราได้อธิบายไว้ข้างต้น ความผิดพลาดในการรู้ถึงแหล่งที่มาอาจทำให้โลกวิทยาศาสตร์ต้องเสียเวลาไปหลายปี หรือแม้แต่หลายศตวรรษ

แหล่งที่มาที่มนุษย์แสวงหาก็คือสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่มนุษยชาติ พระเจ้าเป็นผู้ทรงสร้างจักรวาล โลกและสิ่งมีชีวิต ดังนั้น ความรู้ที่ถูกต้องที่สุดและโต้แย้งไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากพระองค์ ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับวัตถุเหล่านี้แก่เราในคัมภีร์กุรอาน ซึ่งได้แก่

1) พระเจ้าได้ทรงสร้างจักรวาลจากที่ไม่มีสิ่งใดเลย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเพราะความบังเอิญหรือเกิดขึ้นมาโดยตัวของมันเอง ดังนั้น ในธรรมชาติหรือในจักรวาลจึงไม่มีความสับสนอลหม่านเพราะการเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันเป็นระบบที่สมบูรณ์ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยการวางแผนอย่างฉลาดหลักแหลม

2) จักรวาลทางวัตถุและโดยเฉพาะโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ได้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อชีวิตมนุษย์ ในการเคลื่อนไหวโคจรของดวงดาวต่างๆ หรือในลักษณะต่างๆทางภูมิศาสตร์และในคุณสมบัติของน้ำหรือบรรยากาศที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ดำรงอยู่ได้นั้นล้วนมีวัตถุประสงค์บางอย่างทั้งสิ้น

3) ชีวิตทุกรูปแบบเกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์ของพระเจ้า พระองค์ได้ทรงสร้างสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็ดำเนินชีวิตของมันไปตามการดลบันดาลของพระเจ้าดังที่ได้ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์กุรอานเมื่อมีการเอ่ยถึงผึ้งว่า : “ และพระเจ้าของเจ้าได้ดลให้ผึ้งทำรังตามภูเขาและต้นไม้…” (กุรอาน 16:68)


ลัทธิวัตถุนิยมครอบงำความคิดทางวิทยาศาสตร์

    สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นความจริงอันสมบูรณ์สูงสุดที่พระเจ้าบอกเราไว้ในคัมภีร์กุรอาน การศึกษาวิทยาศาสตร์โดยอาศัยความจริงเหล่านี้จะนำไปสู่ความก้าวหน้าที่สำคัญและรับใช้มนุษยชาติในลักษณะที่เป็นประโยชน์ที่สุด เราพบตัวอย่างมากมายของเรื่องนี้ในประวัติศาสตร์ การวางพื้นฐานที่ถูกต้องของวิทยาศาสตร์นี้เองที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์มุสลิมที่ช่วยสร้างอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในโลกได้มีส่วนช่วยในความความสำเร็จที่สำคัญๆหลายประการในศตวรรษที่ 9 และ 10 ในตะวันตก ผู้บุกเบิกในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ฟิสิคส์ เคมี ดาราศาสตร์ไปจนกระทั่งชีววิทยาและวิชาว่าด้วยชีวิตสัตว์ดึกดำบรรพ์ล้วนเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ศรัทธาในพระเจ้าและผู้ทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อการสำรวจค้นหาสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างขึ้นมาท้งสิ้น ไอน์สไตน์ก็กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์จะต้องเชื่อในแหล่งที่มาทางศาสนาเมื่อพัฒนาเป้าหมายของตน : “ถึงแม้ศาสนาอาจจะเป็นสิ่งที่กำหนดเป้าหมาย แต่อย่างไรก็ตาม ศาสนาก็ได้เรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ในความหมายกว้างๆว่าหนทางใดที่จะช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายที่มันได้ตั้งไว้ แต่วิทยาศาสตร์ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยบรรดาผู้ที่ได้รับการดลใจให้ไปสู่ความจริง ละการเข้าใจ อย่างไรก็ตาม แหล่งที่มาของความรู้สึกก็เกิดขึ้นจากบรรยากาศของศาสนา…ข้าพเจ้าไม่คิดว่าใครจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงได้โดยไม่มีความศรัทธาที่ลึกซึ้ง” 1


อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ประชาคมวิทยาศาสตร์ก็ได้แยกตัวเองออกจากแหล่งที่มาของพระเจ้านี้และได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของปรัชญาวัตถุนิยม


      ลัทธิวัตถุนิยมซึ่งเป็นความคิดที่ย้อนหลังไปถึงกรีกโบราณเชื่อในการเกิดขึ้นเองของวัตถุและปฏิเสธพระเจ้า ลักษณะทางวัตถุนี้ค่อยๆคืบคลานเข้าไปในประชาคมวิทยาศาสตร์และเริ่มต้นในกลางศตวรรษที่ 19 และได้มีการเริ่มสืบเสาะค้นหาทางวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนลัทธินี้ เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงได้มีการสร้างทฤษฎีต่างๆขึ้นมา เช่น “รูปแบบของจักรวาลอันไม่สิ้นสุด” ซึ่งกล่าวว่าจักรวาลเกิดขึ้นมาตั้งแต่กาลเวลาย้อนหลังไปไม่สิ้นสุด ดังนั้น จึงไม่มีผู้ใดสร้างมันขึ้นมา ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินก็อ้างว่าชีวิตเป็นงานของความบังเอิญ หรือซิกมันด์ ฟรอยด์ถือว่าความคิดของมนุษย์ประกอบด้วยสมองเท่านั้น


      ปัจจุบัน หากมองย้อนหลังไป เราจะเห็นว่าข้ออ้างที่ลัทธิวัตถุนิยมนำมานั้นล้วนแต่เป็นการสิ้นเปลืองเวลาสำหรับวิทยาศาสตร์ หลายทศวรรษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้ใช้ความพยายามของตนอย่างดีที่สุดเพื่อที่จะพิสูจน์ข้ออ้างเหล่านี้ แต่ผลที่ออกมาก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าพวกนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ผิด การค้นพบต่างๆได้ยืนยันว่าสิ่งที่คัมภีร์กุรอานกล่าวว่าจักรวาลได้ถูกสร้างขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มีและถูกสร้างมาเพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตมนุษย์และมันเป็นไปไม่ได้ที่ชีวิตจะเกิดขึ้นมาและวิวัฒนาการไปโดยความบังเอิญ

ความจริงที่ทำให้นักทฤษฎีวิวัฒนาการต้องสิ้นหวัง

        การเชื่อในความลี้ลับเช่นการวิวัฒนาการและการยึดติดอยู่กับความเชื่อนี้ถึงแม้จะได้มีการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์กันมามากมายแล้วนั้นได้ก่อให้เกิดความรู้สึกสิ้นหวังขึ้น การดำรงอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนในจักรวาลและการออกแบบในสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการเกิดความไม่สบายใจ คำพูดของดาร์วินต่อไปนี้ทำให้เราได้มองเห็นความรู้สึกของพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการ : “ ผมจำได้ดีถึงเวลาที่ความคิดของสายตาได้ทำให้ผมเย็นวาบไปทั่ว แต่ผมก็หายจากสภาพของความข้องใจ….และตอนนี้รายละเอียดเล็กๆน้อยๆของโครงสร้างก็มักทำให้ผมไม่สบายใจ เมื่อผมมองขนหางนกยูงทีไร มันทำให้ผมไม่สบายทุกที” 2


       ขนนกยูงก็เช่นเดียวกับสัญญาณอื่นๆของการสร้างสรรค์อันนับไม่ถ้วนในธรรมชาติซึ่งได้สร้างความไม่สบายใจให้นักทฤษฎีวิวัฒนาการเรื่อยมา ในการทำเป็นตาบอดต่อความมหัศจรรย์ต่างๆที่ชัดเจนเช่นนั้น พวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการเหล่านี้ได้พัฒนาความคิดแบ่งรับแบ่งสู้ขึ้นมาต่อสู้ความจริงพร้อมกับสภาพความคิดในการปฏิเสธ กรณีที่เห็นได้ชัดในเรื่องนี้ก็คือกรณีของริชาร์ด ดอว์คินส (Richard Dawkins) นักทฤษฎีวิวัฒนาการคนสำคัญที่เรียกร้องชาวคริสเตียนมิให้คิดว่าพวกเขาได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ถึงแม้พวกเขาจะเห็นรูปปั้นของนางมารีโบกไม้โบกมือให้พวกเขา ดอว์คินส์กล่าวว่า “บางทีอะตอมทั้งหมดที่แขนของรูปปั้นบังเอิญเกิดจะเคลื่อนไหวขึ้นมาในทิศทางเดียวกันในทันทีทันใด ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้น้อยมาก แต่ก็เป็นไปได้” 3

       ในทางตรงข้าม สิ่งรอบๆตัวเราและจักรวาลที่เราอาศัยอยู่นั้นเต็มไปด้วยสัญญาณอันมากมายมหาศาลแห่งการสร้างสรรค์ สิ่งที่ปรากฏอยู่ในระบบอันน่าทึ่งของยุง ศิลปะอันสวยงามอ่อนช้อยในปีกของนกยูงและการทำงานอย่างสมบูรณ์แบบของอวัยวะอย่างเช่นตาและรูปแบบของชีวิตอื่นๆอีกนับล้านอย่างนั้น สำหรับผู้ศรัทธาแล้ว มันเป็นสัญญาณที่แสดงถึงการมีอยู่ของความรอบรู้ ความปรีชาญาณอันสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า นักวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าการสร้างสรรค์คือความจริงอย่างหนึ่งจะมองธรรมชาติจากด้านนี้และจะมีความสุขในทุกสิ่งที่เขาสังเกตและทุกการทดลองที่เขากระทำซึ่งจะทำให้เขาได้รับแรงบันดาลใจสำหรับการศึกษาต่อไป


 ขอบคุณ www.muslimthai.com

อัพเดทล่าสุด