เราอาศัยอยู่ในโลกที่พระผู้ทรงสร้างผู้ทรงเมตตาของเราได้ออกแบบมาอย่างเป็นเลิศ และมีความครบถ้วนสมบูรณ์อย่างน่าทึ่ง แม้แต่ในเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของพระองค์
มหัศจรรย์แห่งชั้นบรรยากาศ.
เราอาศัยอยู่ในโลกที่พระผู้ทรงสร้างผู้ทรงเมตตาของเราได้ออกแบบมาอย่างเป็นเลิศ และมีความครบถ้วนสมบูรณ์อย่างน่าทึ่ง แม้แต่ในเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของพระองค์ ลักษณะทางกายภาพของโลกไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง อุณหภูมิและอื่นๆล้วนถูกจัดเตรียมไว้เพื่อชีวิตโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามลักษณะทางกายภาพเช่นนั้นแต่เพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้บนโลก ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับชีวิตก็คือองค์ประกอบของบรรยากาศ
ในภาพยนตร์นวนิยายทางวิทยาศาสตร์ เราจะเห็นว่านักเดินทางในอวกาศและนักค้นคว้าจะพบดาวที่มีชั้นบรรยากาศที่สามารถหายใจได้อย่างง่ายและมีอยู่ทุกที่ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสามารถออกสำรวจจักรวาลที่แท้จริงได้ เราจะพบว่านี่มิใช่เรื่องจริงเลย มันเป็นไปไม่ได้ที่ดาวดวงอื่นจะมีชั้นบรรยากาศที่สามารถหายใจได้ นั่นก็เพราะว่าบรรยากาศของโลกได้ถูกออกแบบไว้เป็นการเฉพาะเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ในหลายทางด้วยกัน
บรรยากาศของโลกประกอบด้วยไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21% และคาร์บอนไดออกไซด์ 1% ทีนี้ขอให้เรามาเริ่มด้วยแกสที่สำคัญที่สุดก่อน คือ ออกซิเจน ออกซิเจนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตมากที่สุดเพราะมันเข้าไปทำปฏิกริยาทางเคมีส่วนใหญ่ที่ให้พลังงานที่ชีวิตต้องการ
เมื่อคาร์บอนทำปฏิกริยากับออกซิเจน ผลที่ตามมาก็คือ มันทำให้มีน้ำ คาร์บอนได้ออกไซด์และพลังงาน พลังงานหน่วยเล็กๆที่ถูกเรียกว่า AIP (แอตเลโนซีน ไตรฟอสเฟต) และได้ถูกใช้ในเซลที่มีชีวิตนี้เกิดขึ้นโดยปฏิกริยานี้ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องการออกซิเจนสำหรับชีวิตและทำไมเราต้องหายใจเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิต สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องนี้ก็คือว่าเปอร์เซนต์ของออกซิเจนในอากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้นได้ถูกกำหนดไว้อย่างถูกดต้องพอเหมาะพอดี
ไมเคิล เดินตัน (Michael Denton) ได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้ว่า : ชั้นบรรยากาศของคุณสามารถบรรจุออกซิเจนได้มากกว่านี้และยังทำให้ชีวิตมีอยู่ได้หรือไม่? ไม่เลย ออกซิเจนเป็นสารที่ทำปฏิกริยามาก แม้แต่เปอร์เซนต์ของออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ 21% ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ก็ใกล้กับขอบเขตสูงสุดของความปลอดภัยสำหรับชีวิตที่อุณหภูมิรอบตัว ความเป็นไปได้ของการเกิดไฟไหม้ป่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% ทุกๆ 1% ที่มีออกซิเจนเพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศ
เจมส์ เลิฟล็อค (James Lovelock) นักเคมีชีววิทยาชาวอังกฤษได้กล่าวว่า : กว่า 25% พืชพันธุ์ในปัจจุบันของเราน้อยมากที่จะรอดจากไฟป่าที่จะทำลายป่าฝนและทุ่งหญ้าขั้วโลกเหนือ .ระดับออกซิเจนในปัจจุบันอยู่ในจุดที่ความเสี่ยงและผลประโยชน์มีความสมดุลอย่างพอดี
การที่อัตราส่วนของออกซิเจนในบรรยากาศยังคงอยู่ในปริมาณที่พอดีเช่นนี้นั้นเป็นผลมาจากระบบการหมุนเวียนอันมหัศจรรย์นั่นเอง
สัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าไปและสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาซึ่งเป็นสิ่งที่มันไม่หายใจ แต่พืชกลับทำตรงข้าม กล่าวคือพืชจะหายใจเอาคาร์บอนได้ออกไซด์ที่จำเป็นต่อชีวิตของมันเข้าไปและปล่อยออกซิเจนออกมาแทน เนื่องจากระบบนี้เอง ชีวิตจึงดำเนินต่อไป พืชปล่อยออกซิเจนออกมาสู่บรรยากาศนับเป็นจำนวนล้านๆตันทุกวัน
บรรยากาศและการสูดหายใจเข้าออก
เราหายใจอยู่ตลอดเวลาในขณะที่เรามีชีวิต ระบบร่างกายของเราถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์จนเราไม่จำเป็นต้องคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับการหายใจ
ร่างกายของเราจะประมาณการว่ามันต้องการออกซิเจนมากน้อยแค่ไหนและก็จะจัดการหาออกซิเจนมาให้ตามจำนวนนั้นไม่ว่าเราจะกำลังเดิน วิ่ง อ่านหนังสือหรือกำลังหลับ เหตุผลที่การหายใจมีความสำคัญต่อเราก็คือการทำปฏิกริยาจำนวนนับล้านที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในร่างกายเพื่อให้เรามีชีวิตอยู่ได้นั้นล้วนต้องการออกซิเจนทั้งสิ้น
การที่ท่านสามารถอ่านบทความชิ้นนี้ได้ก็เนื่องมาจากเซลล์นับล้านที่จอรับภาพในดวงตาของท่านได้รับพลังงานที่มาจากออกซิเจนตลอดเวลา ในทำนองเดียวกัน เนื้อเยื่อในร่างกายของเราและเซลล์ที่สร้างมันขึ้นมาก็ได้รับพลังงานจาก การเผาไหม้ ขององค์ประกอบคาร์บอนในออกซิเจน ผลผลิตของการเผาไหม้ นั่นคือคาร์บอนได้ออกไซด์ จะต้องถูกปล่อยออกมาจากร่างกาย ถ้าระดับของออกซิเจนในกระแสเลือดของท่านลดลง ผลก็คือการหมดสติและถ้าหากการขาดออกซิเจนเกินกว่าสองสามนาที ผลก็คือการเสียชีวิต
นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องหายใจ เมื่อเราหายใจ ออกซิเจนก็จะเข้าไปในห้องเล็กๆประมาณ 300 ล้านห้องในปอดของเรา ห้องเหล่านี้ในปอดและหลอดที่มีรูเล็กๆเชื่อมโยงกับมันได้ถูกออกแบบไว้ให้มีขนาดเล็กมากเพื่อที่จะเพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนได้ออกไซด์ แต่การออกแบบอันสมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นกัน นั่นคือความหนาแน่น ความเหนียวและความกดอากาศจะต้องถูกต้องตรงกันทั้งหมดสำหรับอากาศที่จะเคลื่อนเข้าไปข้างในและไหลออกมาจากปอดของเรา
เมื่อเราหายใจเข้าไป ปอดของเราก็จะใช้พลังงานเพื่อเอาชนะพลังที่ถูกเรียกว่า
แรงต้านเส้นทางอากาศ พลังนี้เป็นผลมาจากแรงต้นของอากาศต่อการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคุณสมบัติทางด้านกายภาพของบรรยกาศ แรงต้านนี้จะอ่อนพอที่ปอดของเราสามารถสูดอากาศเข้าไปและปล่อยมันออกมาด้วยการใช้พลังงานเพียงน้อยนิด ถ้าแรงต้านอากาศสูงกว่านี้ ปอดของเราก็จะต้องทำงานหนักกว่านี้เพื่อที่จะทำให้เราหายใจได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ของเรื่องนี้ก็คือการดูดน้ำเข้าไปในเข็มฉีดยาเป็นเรื่องง่ายแต่ถ้าจะดูดน้ำผึ้งเข้าไปในเข็มฉีดยาก็จะยากกว่า เหตุผลก็เพราะน้ำผึ้งมีความหนาแน่นและมีความเหนียวมากกว่าน้ำ
ปริมาณทางด้านจำนวนของบรรยากาศไม่เพียงแต่จะจำเป็นสำหรับเราเพื่อการหายใจเข้าไปเท่านั้น แต่ยังจำเป็นสำหรับโลกของเราด้วย ถ้าหากความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปริมาณที่เป็นอยู่ของมัน อัตราการระเหยของน้ำก็จะสูงมาก น้ำที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศก็จะมี ผลเรือนกระจก (greenhouse effect) ที่ดักความร้อนมากขึ้นและเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ในทางตรงข้ามถ้าหากความกดสูงมากกว่านี้ อัตราการระเหยของน้ำก็จะน้อยลงและส่งผลให้ส่วนใหญ่ของโลกกลายเป็นทะเลทราย
ทั้งหมดที่ทำให้เกิดความสมดุลนี้ชี้ให้เห็นว่าบรรยากาศของเราได้ถูกออกแบบมาอย่างจงใจและเหมาะเจาะเพื่อให้ชีวิตบนโลกนี้สามารถดำรงอยู่ได้
นี่เป็นความจริงที่ได้ถูกค้นพบโดยวิทยาศาสตร์และมันแสดงให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่าจักรวาลนี้มิได้เป็นเพียงการเกิดขึ้นโดยบังเอิญของวัตถุ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะต้องมีผู้ทรงสร้างที่คอยควบคุมจักรวาล ผู้กำหนดรูปร่างของวัตถุตามที่ผู้ทรงสร้างนั้นต้องการ และพระผู้ทรงสร้างนี้อีกเช่นกันที่ปกครองกาแล็กซี่และดวงดาวต่างๆไว้ภายใต้อำนาจของพระองค์
อำนาจอันสูงสุดนั้น คัมภีร์กุรอานบอกเราว่าคืออัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก และโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ก็ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะและถูกทำให้แผ่ขยายออกไปโดยอัลลอฮฺเพื่อมนุษย์ (ดูกุรอาน 79:30)
อัลลอฮฺคือผู้ทรงทำให้แผ่นดินนี้เป็นที่พำนักของสูเจ้าและชั้นฟ้าเป็นเพดานอันมั่นคง และทรงทำให้สูเจ้าเป็นรูปร่างและทรงทำให้ร่างของสูเจ้าสวยงามและทรงประทานสิ่งที่ดีๆแก่สูเจ้า นั่นคืออัลลอฮฺพระผู้ทรงอภิบาลของสูเจ้า ดังนั้น อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกทรงเป็นที่จำเริญยิ่ง (กุรอาน 40:64)
..................................................
คัดลอกจาก ไทยมุสลิมช็อป