อัลกุรอานกับวิชาการสมัยใหม่.


1,003 ผู้ชม

อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ซึ่งมีความสมบูรณ์พร้อมสรรพ นับตั้งแต่พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงประทานให้แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด เพื่อเป็นครรลองแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ


อัลกุรอานกับวิชาการสมัยใหม่.

   
อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ซึ่งมีความสมบูรณ์พร้อมสรรพ นับตั้งแต่พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรประทานให้แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด อัลกุรอานกับวิชาการสมัยใหม่. เพื่อเป็นครรลองแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ
 
เป็นคัมภีร์ที่เหมาะสมกับทุกยุกทุกกาลสมัย ซึ่งเป็นทั้งคำสอนคำแนะนำตลอดจนนิสัยทัศนอุทาหรณ์ต่างๆที่เร่งเร้าจิตสำนึกของศรัทธาชนให้ใคร่ครวญถึงสัญลักษณ์นานัปการที่ปรากฏอยู่ในจักรวาลอันไพศาล อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่ท้าทายว่าไม่มีใครสามารถประพันธ์ให้มีอรรถรสให้เสมอเหมือนได้ แม้ว่ามนุษย์ทั้งหลายจะรวมกันคิดเพื่อเพื่อนที่จะประพันธ์ขึ้นก็ตาม แม้เพียงบทเดียวไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะฉะนั้นอัลกุรอานจึงไม่ใช่วิทยานิพนธ์และก็ไม่ใช่บทประพันธ์ที่มนุษย์เขียนขึ้นหรือร่างขึ้นมา แต่อัลกุรอานเป็นพจนารถแห่งองค์อภิบาลทีได้ถูกประทานแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด อัลกุรอานกับวิชาการสมัยใหม่.
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ประมวลศาสตร์แขนงต่างๆไว้พรั้งพร้อมครบครัน ซึ่งบางครั้งระบุโดยตัวบทที่ชัดเจนและบางครั้งก็อธิบายในเชิงชี้แนะ ซึ่งจะศึกษาวิจัยได้ตามกรอบความโดยนัยแห่งอัจฉริยะทางปัญญา อันการพบเห็นสังเกตแบบธรรมดาและการสันนิษฐานโดยไม่ใช้วิจารณญาณ ศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบ และลึกซึ้งแล้ว จะไม่สามารถศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ได้
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงทยอยวิทยาคุณให้สติปัญญาของมนุษย์ทีละน้อยๆตามลำดับ ที่เป็นเช่นนี้นั้นเนื่องจากพระองค์ทรงประสงค์จะยืนยันให้เราทราบถึงหลักฐานทางวัตถุและปรากฏการณ์ต่างๆในจักรวาลว่า ยังมีสิ่งที่เหนือพลังสมองของมนุษย์เราอีก สมมุติว่า ถ้าเราพูดกับคนที่วีชีวิตอยู่เมื่อพันปีที่แล้วว่า เราจะบินอวกาศหรือบินร่อนเหนือพื้นดิน ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่งโมง หรือบอกว่า เราจะพูดโดยให้ทั่วโลกได้ยินหรือพูดมาจากดวงจันทร์แล้วให้มนุษย์ที่อยู่บนโลกนั้นได้ยินและเห็นเรา แน่นอนมนุษย์เมื่อพันปีคนนั้น เขาจะต้องกล่าวหาว่าเราเป็นคนวิกลจริตอย่างช่วยไม่ได้ และถ้าหากว่าผู้ใดในสมัยนั้นสามารถโบยบินไปในอากาศและโดดร่มลงมาตามที่ต้องการ ประชาชนจะต้องมองเขาว่าเป็นผู้วิเศษแน่นอน ทั้งนี้อันเนื่องมาจากว่าเป็นสิ่งที่ยากยิ่งสำหรับอัจฉริยะในอดีต
โดยความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอานได้สาธยายถึงความเร้นลับในจักรวาลอันหลากหลาย อาทิ เกี่ยวกับโลกหมุน โลกมีสัณฐานกลม ปรากฏการกลางวันกลางคืน และอื่นๆ
ณ ที่นี่ผู้เขียนได้นำเอาทฤษฎีทบในอัลกุรอานเสนอเพื่อเป็นทัศนอุทาหรณ์และตอกย้ำจิตสำนึกของศรัทธาชน ให้มีความศรัทธามากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะได้ก้าวไปสู่อนาจักรแห่งการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของอัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ถึงคุณค่าของอัลกุรอานว่า เป็นคัมภีร์แห่งสัจธรรมอันแท้จริง ที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสร้างสรรค์สรรพสิ่งทั้งมวล

โองการที่ระบุว่า “โลกกลม”

อัลกุรอานได้ระบุไว้อย่างลึกซึ้งซึ่งปรากฏการทางธรรมชาติในจักรวาลเกี่ยวกับโลกว่า มันสัณฐานกลมเพียงถ้อยคำสองคำซึ่งระบุอยู่ในซูเราะฮ์ “อัลฮิจญ์” อายะห์ที่ 19 และในซูเราะฮ์ “กอฟ” อายะห์ที่ 7 ดังนี้ ความว่า “และแผ่นดินเราได้ขยายมันออกแล้ว”
ในเมื่อเราทั้งหลายได้พิจารณาและใคร่ครวญถึงถ้อยคำของอัลกุรอานที่ระบุอยู่ในโองการนี้แล้ว เราจะพบความมหัศจรรย์อย่างที่สุด เพราะแท้จริงอัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงยืนยันแก่มวลมนุยษชาติทั้งหลายว่า “โลกนั้นมีสัณฐานกลม” ในขณะเดียวกันสำนวนและโวหารแห่งพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานในโองการนี้ นอกเหนือจากความสอดคล้องต้องกันกับภูมิปัญญาของมนุษย์แล้ว ยังเป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่นักวิทยาศาสตร์
คราใดที่เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหมายจากโองการนี้แล้ว แน่นที่สุดความสงสันคลางแคลงใดๆ เกี่ยวกับปรากฏการทางธรรมชาติและจักรวาลจะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด
เพื่อความก้าวหน้าวิทยาการในปัจจุบัน ทำให้เราทั้งหลายได้ทราบถึงการค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์โดยการส่งยานอวกาศไปโคจรรอบโลก และส่งดาวเทียมขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงลักษณะของโลกเราว่า “โลกนั้นมีลักษณะอย่างไร และ หมุนรอบตัวเองหรือไม่” ในที่สุดผลลับแห่งการค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เป็นที่ประจักอย่างเด่นชัดว่า “โลกนั้นมีสัณฐานกลมและหมุนรอบตังเองด้วย” ซึ่งการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์นั้นต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพิสูจน์ถึงสัจธรรมอันนี้
โดยความเป็นจริงแล้วทฤษฎีดังกล่าวนั้น นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบเพียงไม่กี่ศตวรรษนี้เอง แต่สัจธรรมในอัลกุรอานเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ระบุไว้มากกว่า 14 ศตวรรษมาแล้ว ผู้ใดเล่าที่ทรงกำหนดทฤษฎีนี้ขึ้นมา? มิใช่พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ดอกหรือ?
ท่านเชคมุฮัมมัด มุตะวัลลีอัชชะอฺรอวีย์ ซึ่งเป็นนักวิชาการนามอุโฆษและนักคิดคสำคัญของโลกมุสลิมปัจจุบัน ซึ่งเป็นชาวอียิปต์ ได้อธิบายเสริมข้อความข้างต้นที่กล่าวมาในหนังสือของท่าน ชื่อ “อัลอะดิ้ลละตุลมาดดียะห์อาลาวูญูดิลลอฮ์” เกี่ยวกับลักษณะของโลกว่า “มีสัณฐานกลม” ปรากฎการณ์กลางคืน กลางวัน
ประกฎการณ์กลางวันและกลางคืนนั้นมันเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันให้เราทั้งหลายทราบอย่างชัดเจนว่า โลกนั้นมีสัณฐานกลม พระองค์อัลลอฮ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงแสดงโวหารอันลึกซึ้งในเชิงสื่อความวิทยาการสมัยใหม่เกี่ยวกับประกฎการณ์กลางวันและกลางคืน ดังโองการการต่อไปนี้
ความว่า “อันดวงตะวันย่อมป็นไปไม่ได้ที่มันจะไล่ทันดวงเดือน เพราะอยู่กันคนละตำแหน่ง และเป็นไปไม่ได้ที่กลางวัน คือดวงเดือนจะล่วงหน้าดวงตะวันเป็นไปไม่ได้ และทุกๆสิ่งต่างก็โคจรในระบบจักรวาล” (ยาซีน 40)
ท่านเชคมุฮัมมัด มุตะวัลลีย์ อัชชะอฺรอวีย์ ได้อธิบายโองการนี้ไว้ในหนังสือของท่านชื่อ "อัลอะดิ้ลละตุลมาดดียะห์อาลาวูญูดิลลอฮ์" ดังนี้ อัลลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ได้ทรงโต้ตอบในโองการนี้ต่อชนอาหรับ ในช่วงกาลสมัยที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาให้แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด อัลกุรอานกับวิชาการสมัยใหม่. ซึ่งหลักการความเชื่อของเขาถูกพันธนาการการอยู่กับการอยู่กับ “กับดักแห่งอวิชา” โดยมีหลักความเชื่อว่า กลางคืนนั้นเกิดขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นกลางวันก็เกิดขึ้นตามมาทีหลัง ในขณะเดียวกันอัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงโต้ตอบหลักการเชื่อของชนอาหรับในโองการข้างต้นนี้อีกว่า กลางวันนั้นจะไม่เกิดขึ้นก่อนกลางคืนและกลางคืนก็จะไม่เกิดขึ้นก่อนกลางวันอย่างเด็ดขาด แต่ทว่าทั้งสองนั้น (กลางวัน กลางคืน) มันปฎิบัติหน้าที่ในจักรวาลนี้พร้อมๆกันดังเช่นตัวอย่างซึ่งเราจะสังเกตุเห็นได้ว่า ซีกหนึ่งของโลก เช่น ทวีปอเมริกา เป็นต้น อยู่ในช่วงเวลากลางคืน แต่อีกซีกโลกหนึ่งของโลก เช่น ทวีปเอเชีย อยู๋ในช่วงกลางวัน อัลลอฮฺทรงตรัสว่า ความว่า “และพระองค์ทรงบันดาลกลางคืนและกลางวันให้สลับ (หมุนเวียน) กันสำหรับผู้ที่ประสงค์จะรำลึกหรือปรารถนาที่จะกตัญญู” (อัลฟุรกอน 62)
โองการทั้งสองที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ได้เฟ้นโวหารอีกทั้งสาธยายถึงกฎต่างๆของธรรมชาติและจักรวาล นั่นคือ สาธยายถึงสัณฐานของโลกว่ามีลักษณะกลม และดวงอาทิตย์ไม่อาจไล่ตามทันดวงจันทร์ได้อย่างเด็ดขาด เพราะทั้งสองนั้นโคจรอยู่ในเส้นทางที่ขนานกัน ซึ้งทฤษฎีดังกล่าวนี้ นักวิชาการเพิ่งค้นพบเพียงไม่กี่ศตวรรษนี้เอง
หลักการที่ได้จากโองการ ความว่า “และกลางคืนก็จะไม่ล้ำหน้ากลางวัน” (ยาซีน 40) ดังนี้
1. ดวงอาทิตย์ไม่อาจไล่ตามทันหรือชนกับดวงจันทร์ เพราะทั้งสองโคจรคนเส้นทางกัน แต่ทั้งสองจะชนกันได้ก็ต่อเมื่อวันสิ้นโลกได้อุบัติขึ้น ตามหลักฐานจากอัลกุรอานในซูเราะฮฺ “อัลกียามะห์” อายะห์ที่ 9-10 ได้ระบุดังนี้ “ (ในวันสิ้นโลกนั้น) ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะถูกรวามเข้าหากัน มนุษย์ก็พูดขึ้นในวันนั้นว่า ไหนที่หลบหนี (ของเรา) ”
2. โลกของเรามีสัณฐานกลม ตามทฤษฎีข้างต้น
3. กลางวันและกลางคืนถูกสร้างขึ้นพร้อมๆกัน

โองการที่ระบุว่า “โลกหมุน”

ความว่า “และเจ้าจะเห็นปวงภูเขาซึ่งสูเจ้าคิดว่ามันแน่นหนาอยู่กับที่ แต่มันล่องลอยไปเช่นการล่องลอยของหมู่เมฆ การงานของอัลลอฮฺผู้ได้ทรงทำทุกสิ่งแยบยล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงตระหนัก ตามที่สูเจ้ากระทำ” (ซูเราะฮฺ อัลนัมลุ 88)
ในขณะที่เราหันมาใคร่ครวญโองการที่ระบุว่า “โลกหมุน” เราจะพบว่าก่อนที่อัลกุรอานจะถูกประทานมายังที่ศาสดามุฮัมมัด อัลกุรอานกับวิชาการสมัยใหม่. และหลังจากนั้นอีกเป็นเวลาหลายศตวรรษ มีใครบ้างที่เชื่อว่าโลกหมุนรอบตัวเอง ? แต่ในอัลกุรอานมีระบุไว้ว่า ความว่า “และเจ้าจะเห็นปวงภูเขาซึ่งสูเจ้าคิดว่ามีนหนาแน่นอยู่กับที่ แต่มันล่องลอยไปเช่นการล่องลอยไปของหมู่เมฆ”
มนุษย์เรานั้นคิดว่าภูเขาตั้งมั่นแข็งแรงทื่ออยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว แต่กระนั้นก็ตามมันก็ยังแล่นละลิ่วเหมือนหมู่เมฆ
ณ ที่นี้เรามาใคร่ครวญและพิจารณาถึงโลกที่เราอาศัยอยุ่ในทุกวันนี้นั้นสุดแสนมหัศจรรย์ยิ่งนัก มันลอยเคว้างคว้างอยู่ในเวหา สิ่งต่างๆที่อยุ่บนพื้นแผ่นดิน เช่นภูเขาลำเนาไพร มหาสมุทร มนุษย์อีกนับไม่ถ้วนมวลสัตว์แต่ละชนิดและอื่น ๆ ต่างลอยเคว้งคว้างอยู่ในเวหา
อัลกุรอานได้สาธยายถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้ในซูดราะห์ อัล อันอาม โองการที่ 11 ดังนี้ “จงประกาศเถิด (มุฮัมมัด) พวกท่านจงจาริกไปในแผ่นดินเถิด”
ดังนั้น คำบุรพบทคำเดียวในโอลการนี้คือ คำที่แปลว่า “ใน” ได้แฝงความมหัศจรรย์ในการสร้างสรรค์และมีอรรถรสในด้านความหมายอันลึกซึ่ง เจ้าของหนังสือ “อัลอะดิ้ลละตุลมาดดียะห์อาลาวูญูดิลลอฮ์” ได้อธิบายคำบพบทที่แปลว่า “ใน” ดังนี้ ถ้าหากว่าเราหันกลับมาพิจารณาโองการข้างต้นนี้แล้ว เราก็จะพบข้อสังเกตว่า สาเหตุอันใดเล่าที่อัลลอฮฺ ทรงเลือกเฟ้นคำบุพบท “ฟี” (แปลว่า ใน) ไว้ในโองการนี้ ในขณะเดียวกัน พระองค์อัลลอฮฺไม่ใช้สำนวน “อาลา” (แปลว่า บน)
ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราทั้งหลายได้ใคร่ครวญถึงความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานในด้านถ้อยคำและความหมาย ส่วนคำบุพบท “ฟี” (แปลว่า ใน) ที่อัลลอฮฺที่ทรงใช้ในโองการนี้ก็คือ สิ่งยืนยันให้มนุษย์ชาติทั้งหลายได้ตระหนักว่า อันที่จริงมนุษย์ทั้งหลายรวมทั้งมวลสัตว์ ขุนเขาลำเนาไพร ฯลฯ ต่างอาศัยอยู่ในโลกนี้ และโลกนี้ก็ลอยเค้วงคว้างอยู่ในเวหา
โลกเรานี้ถ้ามีน้ำหนักเบากว่าที่เป็นอยู่นี้เพียงเล็กน้อย แรงถ่วงก็ลดน้อยตามไปด้วย สิ่งที่อยู่บนผิวโลกก็จะลอยละลิ่วว่อนกระเด็นออกจากผิวโลกลงสู่ห้วงเวหาอันล้ำลึกจะจินตนาการได้
สาเหตุที่อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงใช้สำนวน “เช่นการล่องลอยของหมู่เมฆ” ตามโองการข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะว่า หมู่เมฆนั้นมันมิอาจเคลื่อนไหวจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยตัวของมันเองได้อย่างเด็ดขาด แต่ทว่ามันเคลื่อนไหวได้โดยอาศัยลมพัดพาไป ถ้าหากว่าลมหยุดอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนไหว แน่นอนที่สุดหมู่เมฆก็คงอยู่กับที่
สภาพของภูเขาก็เช่นเดียวกัน พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงปรารถนาให้เราทั้งหลายได้รับทราบว่า อันที่จริงภูเขานั้นมันมิอาจเคลื่อนไหวและล่องลอยได้ด้วยตัวของมันเอง แต่ทว่าการเคลื่อนไหวของภูเขานั้นจะต้องอาศัยพลังภายนอก นั่นก็คือ “โลกนั้นจะต้องหมุนรอบตัวเอง” ในขณะเดียวกัน เมื่อโลกหมุนรอบตังเอง สิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้นปฐพี เช่น ภูเขา เป็นต้น จะต้องหมุนตามไปด้วย
นับเป็นความโปรดปรานจากเอกองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ที่ได้ทรงทำให้ความรู้สึกของเราไม่อาจสัมผัสการหมุนของโลกได้ เพราะถ้ามิเช่นแล้วเราก็จะเกิดอาการวงเวียนศีรษะอย่างน่าวิตก และจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แม้แต่ก้าวเดียว หรือแม้แต่มนุษย์และสัตว์ในโลกทั้งหมดก็คงไม่อาจอาศัยอยู่บนพื้นปฐพีนี้ได้ ฉะนั้น สายตาของเราจึงมองไม่เห็นการหมุนของโลก และดูเหมือนว่าโลกและภูเขาหยุดอยู่กับที่ นั่นคือความโปรดปรานของพระองค์อันมากมายต่อมนุษย์

โองการที่ระบุว่า “จักรวาลนั้นเคยเป็นหมอกเพลิงมาก่อน”

ความว่า “ต่อมาพระองค์มุ่งสู่ฟ้าขณะที่มันเป็น (กลุ่ม) ควัน” ก่อนที่จักรวาลและสรรพสิ่งต่างๆจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดวงดาว หรือระบบสุริยะจักรวาลก็ตาม สิ่งที่มีอยู่ก็คือ “กลุ่มมวลสาร” อย่างเดียว ซึ่งไม่อยู่ในสภาวะที่แข็งตัวหากแต่กรกะจัดกระจายอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นปรมาณูของหมอกเพลิงที่ปกคลุมจักรวาลทั้งหมดไว้ ในขณะนั้นกลุ่มมวลสารอยู่ในดุลยภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด
นักวิทยาศาสตร์ให้ทรรศนะว่า ดุลยภาพที่ว่านั้นแยบยลที่สุดถ้าหากมีการระส่ำระสายเพียงนิดเดียว ก็สามารถทำลายความสมดุลดังกล่าวได้ชั่วนิรันดร์ต่อมาความเหลื่อมล้ำได้เกิดขึ้น มวลสารเริ่มเคลื่อนไหวเกิดการหมุนตัวและไม่รวมกลุ่มตกผลึกติดกันเป็นมวลตามสถานที่ต่างๆในที่สุดฟากฟ้า แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ และดวงดาวต่างๆก็อุบัติจากวัตถุดังกล่าว ผู้ใดเล่า? ที่สร้างมวลสารและหมอกเพลิงดังกล่าวมิใช่ด้วยพลังพลานุภาพและการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ดอกหรือ ?
ถ้อยคำของอัลกุรอานโองการนี้ได้แฝงความมหัศจรรย์อันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับสร้างฟากฟ้าในขณะที่ยังเป็นหมอกเพลิง และมวลสารเดียวกันอยู่ ปัจจุบันกลุ่มนักดาราศาสตร์ไม่ปฏิเสธความจริงข้อนี้ เพราะพวกเขาเชื่อมั่นว่า ท้องฟ้าทั้งหลายเคยอยู่ในสภาพหมอกเพลิงมาก่อน
ฉะนั้นก็แสดงว่า ฟากฟ้าและแผ่นดินเคยเป็นกลุ่มควันมาก่อน นี่เองคือสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ได้ทรงประทานให้กับท่านศาสดามุฮัมมัด อัลกุรอานกับวิชาการสมัยใหม่. ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบว่า ฟ้าและแผ่นดินเคยเป็นกลุ่มควันมาก่อน ในซูเราะฮฺ อัลบิยาอฺ โองการที่ 31 ความว่า “บรรดาพวกไร้ศรัทธาไม่สังเกตดอกหรือว่า ที่จริงฟากฟ้าและแผ่นดินแต่เดิมผนึกเป็นชิ้นเดียวกัน ต่อมาเราก็จัดการแยกมันทั้งสอง ออกจากกัน และเราได้บันดาลทุกสิ่งที่มีชีวิตมาจากน้ำ แล้วไฉนเล่า พวกเขาจึงไม่ศรัทธา”
อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงตรัสกับชาวปฏิเสธว่า ชั้นฟ้าและแผ่นดินเคยเป็นส่วนเดียวกันมาก่อน เคยเป็นกลุ่มควันด้วยกัน แล้วต่อมาพระองค์ทรงประกาศิตให้ฟ้า แผ่นดิน และดวงดาวต่างๆ แยกออกจากกันตามพระบัญชาของพระองค์ หาได้เป็นไปเพราะความบังเอิญแต่ประการใดไม่ นี่คือสิ่งที่พระผู้เป็นสร้างทรงเล่าเหตุการณ์ไว้ในพจนารถของพระองค์ตั้งแต่ 1,400 ปีทีแล้ว
ปัจจุบันวิชาการสมัยใหม่ยืนยันว่า ดวงดาวหลายล้านดวงและส่วนประกอบของจักรวาลทั้งหมด เดิมทีเคยรวมกันเป็นกลุ่มควันอันมหึมาแล้วค่อยแตกออกและกระจัดกระจายไปทั้งจักรวาล ต่อมาโลกของเรานี้ก็หลุดออกมาจากกลุ่มหมอกเพลิงนั้นค่อยๆเย็นตัวลงทีละน้อย จนกระทั่งถูกปกคลุมด้วยชั้นของน้ำ ต่อมาสิ่งมีชีวิตก็เริ่มก่อตัวขึ้นในโลกนี้
โดยแนวทางของการพิจารณาธรรมชาติและสรรพสิ่งต่างๆอัลกุรอานได้กำชับให้มนุษย์ใช้สมองไตรตรองถึงสิ่งเหล่านั้น และให้ใช้สติปัญญาของตนค้นคว้าและพิจารณาเมื่อมนุษย์พิจารณา มนุษย์ก็จะยอมรับในสิ่งที่อัลกุรอานชี้ขาดไว้อย่างเป็นสัจธรรม เราพบว่าในอัลกุรอานใช้คำที่แสดงถึงการใช้สติปัญญากว่า 300 แห่ง ดังเช่นถ้อยคำเหล่านี้
- ความว่า “สูเจ้าไม่ใช้ปัญญาดอกหรือ”
- ความว่า “แด่ชนผู้ใช้สติปัญญา”
- ความว่า “พวกเขาไม่วิเคราะห์ดอกหรือ”
ถ้อยคำเหล่านี้อัลกุรอานนำมากล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อกระตุ้นเตือนให้มนุษย์สนใจการศึกษาคิดค้นและพิจารณาถึงสรรพสิ่งและธรรมชาติทั้งปวง
ความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติทั้งหลายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ มนุษย์ได้ค้นพบไปตามที่อัลกุรอานได้บงชี้ไว้ เป็นการชี้ที่ไม่ให้รายละเอียดเพื่อให้มนุษย์ได้ถือเป็นแนวทางแรกในการค้นคว้าต่อไป การที่อัลกุรอานไม่พูดถึงรายละเอียดก็เพราะอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ไม่ใช่ตำรา และเป็นการให้เกียรติแก่มนุษย์ที่ได้รับสติปัญญาและมันสมองที่มาจากการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า ก็ควรได้ใช้ให้สมศักดิ์ศรี และมนุษย์ใช้สมองคิดค้นประสบผลสำเร็จตลอดมาด้วยดี เมื่อมนุษย์ได้ค้นพบ มนุษย์ก็ยิ่งรำลึกในอำนาจของพระองค์ ยอมสยบ และเกรงกลัวพระองค์อย่างแท้จริง มนุษย์ไม่กล้าที่จะมีทิฐิ อวดดี และดื้อดึงต่อพระองค์ ยิ่งมนุษย์มีความรู้ในสัญลักษณ์ต่างๆ แห่งสรรพสิ่งและธรรมชาติอันมหัศจรรย์เหล่านั้นเท่าใด มนุษย์ก็ยิ่งเกรงกลัวอัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา เท่านั้น อัลลอฮฺทรงตรัสว่า ความว่า “โดยแท้จริงผู้รู้เท่านั้นที่มีความกลัวต่ออัลลอฮฺอย่างที่สุดจากมวลบ่าวของพระองค์” (ซูเราะฮฺฟาฏิร 28)

คัดลอกจาก: Meerath.com

อัพเดทล่าสุด