ทฤษฎีการขยายตัวของจักรวาลนั้น พึ่งจะเป็นที่ยอมรับกันเมื่อไม่ถึงสองศตวรรษมานี้เอง ในขณะที่นักดาราศาสตร์มุสลิมผู้ที่มีชื่อเสียง ท่าน อัล บิรูนี (ค.ศ.973-1048)
ทฤษฎีการขยายตัวของจักรวาลนั้น พึ่งจะเป็นที่ยอมรับกันเมื่อไม่ถึงสองศตวรรษมานี้เอง ในขณะที่นักดาราศาสตร์มุสลิมผู้ที่มีชื่อเสียง ท่าน อัล บิรูนี (ค.ศ.973-1048) ได้ประจักษ์ถึงความจริงของเรื่องนี้จากอัลกุรอ่าน มานานแล้ว
การขยายตัวของจักรวาล.
ดังโองการ
"และชั้นฟ้า เราได้สร้างมันด้วยพระหัตถ์ของเรา และแท้จริงเราได้แผ่ขยายมันออกไป" (อัลกุรอ่าน, 51:47)
คำว่า "มูซีอูน" หมายถึง "การทำให้กว้าง" "การขยาย" หรือ "ทำให้ใหญ่ไพศาล"
เ อดวิน ฮับเบิล กับกล้องโทรทัศฯ ภูเขาวิสสัน
ขนาด 100 นิ้ว ในปี ค.ศ.1930
ศาสตราจารย์สตีเวน ฮอร์คิง(Stephen Hawking) เป็นศาสตราจารย์ลูเคเชียน ทางคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมที่สุดตั้งแต่ไอน์สไตน์ มาถึงปัจจุบัน ท่านได้เขียนหนังสือ เรื่อง A Brief History Of Time ที่มุ่งมั่นในการค้นหาจอกศักดิ์สิทธิ์แห่งวิทยาศาสตร์(Theory Of Everything) ได้กล่าวว่า "การค้นพบว่า จักรวาลกำลังขยายตัวเป็นปฏิวัติปัญญาความคิดอันยิ่งใหญ่แห่งศตรวรรษที่ยี่สิบ เป็นการค้นพบที่ไม่คาดถึงจริง ๆ และเปลี่ยนทิศทางการถกเถียงเรื่องการกำเนิดจักรวาลอย่างสิ้นเชิง..."
นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบทฤษฎีการขยายตัวของจักรวาลในศตวรรษที่ผ่านมา คือ เอดวิน ฮับเบิล(Edwin Hubble) พึ่งค้นพบเมื่อ ปี ค.ศ.1930 นี้เอง ได้ยืนยันความจริงด้วยกล้องโทรทัศน์ที่ทันสมัย ฮับเบิลค้นพบว่า แถบแสงสว่างสลัว ๆ หลายแห่งในท้องฟ้าที่เรียกว่า เนบิวลา จริง ๆ แล้วเป็นกาแล็กซีอื่นประกอบด้วยดาวฤกษ์ แต่อยู่ห่างจากเรามาก การที่กาแล็กซี่เหล่านี้ปรากฏให้เราเห็นเป็นสิ่งบางอย่างเล็ก ๆ และไม่ชัดเจน ก็เนื่องมาจากอยู่ไกลมาก จนกระทั่งแสงต้องใช้เวลาในการเดินทางเป็นเวลาหลายล้านปี และนี่เป็นการแสดงว่า การเริ่มต้นของจักรวาลจะต้องไม่พึ่งเริ่มต้นเมื่อหลายพันปีก่อน
แต่สิ่งที่ฮับเบิล ได้สร้างให้เกิดความตื่นเต้นแก่นักวิทยาศาสตร์คือ เอกภพทั้งหมดทุก ๆ จุดนั้นกำลังขยายตัว ซึ่งอัตราเร็วของกาแล็กซี่ที่วิ่งออกจากกันนั้นขึ้นอยู่กับระยะระหว่างกาแล็กซี่ทั้งสองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าเราจะอยู่ตำแหน่งใดในจักรวาลก็สามารถสังเกตเห็นการขยายตัวของเอกภพได้ในลักษณะเดียวกัน จากข้อเท็จจริงที่ว่าเอกภพขยายตัวนั้นชี้ให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเอกภพน่าจะมีจุดเริ่มต้น
ซึ่งเป็นที่มาของทฤษฎีบิกแบง ซึ่งเริ่มพัฒนาในปี ค.ศ. 1948 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเชีย จอร์ด กามอฟ (George Gamow) ซึ่งเสนอว่าภาพเอกภพเมื่อแรกกำเนิดอยู่ในสภาพที่ร้อนจัด และมีพลังงานมามายมหาศาล นอกจากนั้นกามอฟยังเสนอว่าคลื่นพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อครั้งเอกภพยังเริ่มต้นนั้น ยังหลงเหลืออยู่จนถึงเวลาปัจจุบัน เป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ไปทั่วจักรวาล ซึ่งเป็นข้อสนับสนุนทฤษฎีบิกแบงได้เป็นอย่างดี
ภาพแสดงเอดวิน ฮับเบิล และกล้องจุลทรรศน์ของเขา ที่ภูเขาวิลสัน
ภาพจาก https://map.gsfc.nasa.gov/m_uni/uni_101bbtest1.html
หลาย ๆ อย่างที่กล่าวในอัลกุรอ่าน มนุษย์ในยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่งจะประจักษ์ ดังโองการ
"เราจะให้พวกเขาได้เห็นสัญญาณทั้งหลายของเราในขอบเขตอันไกลโพ้นและ ในตัวของพวกเขาเอง จนกระทั่งจะเป็นประจักษ์แก่พวกเขาว่า อัลกุรอานนั้นเป็นความจริง ยังไม่พอเพียงอีกหรือ ที่พระเจ้าของเจ้านั้นทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง (*1*)" (อัลกุรอ่าน, 41:53)
(1) เราจะให้พวกมุชริกีนเหล่านั้นเห็นสัญญาณต่าง ๆ ของเราและหลักฐานต่าง ๆ ของเราว่าอัลกุรอาน นั้นเป็นความจริงถูกประทานมาจากอัลลอฮฺ ในขอบเขตของชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ต้นไม้ พืชพันธ์ และอื่น ๆ จากนั้นในความแปลกประหลาดทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง และความแปลกประหลาดในเดชานุภาพของอัลลอฮฺในการสร้างและการประกอบมนุษย์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาว่าอัลกุรอานนั้นเป็นความจริง ยังไม่พอเพียงแก่พวกเขาอีกหรือว่า พระเจ้าของเจ้านั้นไม่มีสิ่งใดในแผ่นดินและท้องฟ้าจะซ่อนเร้นไปจากพระองค์ได้ และพระองค์ทรงสอดส่องต่อทุกสิ่งทุกอย่าง (สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ)
รูปล่างนี้เป็นรูปเนบิวลา กุหลาบแดง ที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศ์ที่อยู่บนอวกาศ ชื่อ Hubble Telescope เนบิวลาเป็นกลุ่มของดาวที่มีมากเป็นแสนล้านดวง เนบิวลา กุหลาบแดงนี้ อยู่ห่างจากโลก 3,000 ปีแสง และเป็นเนบิวลาที่กำลังระเบิดอยู่(แตกสลาย!) เนบิวลานี้เป็นหนึ่งในเนบิวลา ที่มีเป็นล้านๆเนบิวลาทั้งจักรวาล
October 31, 1999
The Cat's Eye Nebula
Credit: J.P. Harrington and K.J. Borkowski (U. Maryland), HST, NASA)
ภาพจาก https://antwrp.gsfc.nasa.gov/apod/ap991031.html
นี่คือ สัจธรรมที่ประจักษ์
"ครั้นเมื่อชั้นฟ้าแตกกระจายออก และมันเปลี่ยนสภาพเป็นเหมือนดอกกุหลาบ ดังสี" (อัลกุรอ่าน, 55:37) ref.muslimthai
มาแรงรอบสัปดาห์
อัพเดทล่าสุด
พีระมิดเบ็นเบ็น ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวยมานานหลายปี
ความรู้ : เคล็ดลับบางส่วนสําหรับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้นแบบง่ายๆ
รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ สามารถช่วยสาว ๆ ลดน้ำหนักได้! แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธีนะ
แป้งที่ใช้ทำอาหารและแป้งทำขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์
10 ส่ิง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
แอปเครื่องคิดเลขบน iPad เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยมากที่สุด เพราะเวลาที่เราต้องการใช้เครื่องคิดเลข
ใต้เตียงโรงแรมที่ไม่ควรมองข้าม แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่
ฟรีบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
รวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 โดยในแบบฝึกหัดนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ภาษาไทยต่อยอดจากเรื่องที่เรียนมา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ทฤษฎีบทเศษเหลือ ม.3 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ม.3 วิทยาศาสตร์