นักอ่านที่มีประสิทธิภาพไม่เคยทุกๆคำ
ประเด็นการศึกษา การอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
เทคนิคอ่านเร็ว
ความสามารถในการอ่านที่เร็วขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านช่วยประหยัดเวลา
ทำให้เรามีเวลาที่จะอ่านหนังสืออื่นเพิ่มขึ้น หรือไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ได้มากกว่าเดิม
การอ่านเร็วยังช่วยให้ทำธุรกิจในยุคข้อมูลข่าวสารได้ดีมีประสิทธิภาพขึ้น
เนื่องจากคนที่อ่านได้เร็วกว่าย่อมจะเข้าใจเนื้อหาได้มากกว่า
จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเวลาที่ใช้ในการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและงานอาชีพ
นอกจากนี้การอ่านเร็วยังมีคุณค่าในด้านบันเทิง
ช่วยเพิ่มความสนุกสนานในกีฬาและสิ่งบันเทิงอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการอ่านได้อีกด้วย
ภาพจาก : pi.eng.src.ku.ac.th
๑.ความเร็วกับความเข้าใจ
การอ่านเร็วขึ้นไม่ได้หมายความว่าเป็นการอ่านอย่างลวกๆ แต่เป็นการอ่านด้วยความเร็วและความเข้าใจ
ไปพร้อมๆกัน เป็นเรื่องจริงที่ว่า "หากคุณสนใจเรื่องที่คุณอ่าน คุณก็จะอ่านได้เร็วขึ้น" ผู้อ่านอาจมีปัญหา
เรื่องความเข้าใจในเนื้อหาของหนังสือที่กำลังอ่านด้วยความเร็วอยู่ แต่การอ่านเร็วหลายๆรอบก็ช่วยให้
เข้าใจเนื้อหาได้มากกว่าการอ่านอย่างช้าๆเพียงรอบเดียว "การอ่านช้าไม่ได้หมายความว่าจะเข้าใจเนื้อหา
ได้ดีกว่า" อย่างไรก็ตามการอ่านซ้ำนับเป็นวิธีการเรียนที่เป็นธรรมดามากที่สุดแต่วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด
คือ เมื่ออ่านหนังสือจบแล้วควรมีการทดสอบตัวเอง เช่นถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านไปถกเนื้อหา
ของหนังสือเล่มนั้นกับคนที่เคยอ่านมาแล้ว หรือพยายามตอบคำถามขอผู้แต่งหนังสือเล่มนั้น
ภาพจาก : hq.prd.go.th
๒.การอ่านกับอายุ
ถ้าถามว่า จะฝึกอ่านเร็วได้หรือทั้งๆที่อายุมากแล้ว? คำตอบก็คือ "ได้แน่นอน" เป็นไปได้ที่คนอายุมาก
จะเรียนรู้ทักษะการอ่านเร็วได้ แน่นอนที่ อาจช้ากว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า อย่างไรก็ตามหากตั้งใจฝึกฝน
อย่างจริงจังจะทำให้ความสามารถในการอ่านเร็วจะถดถอยลงช้ามากเมื่อเทียบกับอายุที่ผ่านไป
ภาพจาก : dekying.com
๓. การเพิ่มความกว้างของสายตา
หลักพื้นฐานข้อหนึ่งของการอ่านเร็วก็คือ เพื่อเพิ่มความกว้างในการมองของสายตา (word span)
หมายถึง จำนวนคำที่สายตาคนเราจะสามารถจับได้ในแต่ละครั้ง การอ่านเร็วมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะเพิ่ม
จำนวนคำที่ผู้อ่านมองในแต่ละครั้ง แทนที่จะหยุดสายตาที่คำทุกๆคำ ความเร็วในการอ่านขึ้นอยู่กับ
จำนวนครั้งของการหยุดของสายตา ผู้อ่านควรจับให้ได้ทั้งวลีหรือทั้งประโยค ถ้าสามารถเพิ่มความกว้าง
ของสายตาได้เป็น ๔ ถึง ๕ คำต่อการมองแต่ละครั้ง ก็จะสามารถเพิ่มความเร็วในการอ่านได้มากทีเดียว
พอล บี เพนส์ ยืนยันว่า "ผู้อ่านที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่ได้อ่านทุกๆคำ แต่จะอ่านเพียง ๕๐% ของจำนวน
คำทั้งหมด ถ้าหากว่าเอกสารนั้นไม่ใช่เอกสารทางเทคนิควิชาการ ทักษะการอ่านที่เป็นสารัตถะสำคัญ
ก็คือ ความสามารถในการหาประเด็นสำคัญ(หรือข้อคิดเห็น) ของแต่ละย่อหน้าให้ได้"
นักอ่านที่มีประสิทธิภาพไม่เคยอ่านคำทุกๆคำ
ถ้าท่านไม่ได้อ่านคำว่า "ไม่เคย" ในประโยคนี้ ก็จะไม่ได้ความหมายของประโยคนี้ หากตัดคำ
ในประโยคอีก ๒ คำออกไป ท่านก็ยังอ่านได้ความ ดังนี้
นักอ่านที่มีประสิทธิภาพไม่เคยทุกๆคำ
ถ้าท่านมองข้ามคำว่า "ไม่เคย" ไป ท่านจะอ่านได้ว่า นักอ่านที่มีประสิทธิภาพอ่านทุกๆคำ ซึ่งทำให้
ความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เป็นสัญญาณให้เรารู้ว่า เราได้ตกคำสำคัญของประโยคไปเสียแล้ว
การอ่านข้ามที่ชาญฉลาดคืออ่านข้ามบางคำไปเพื่อจับความหมายของประโยคได้เร็วขึ้น
นำทักษะการอ่านเร็ว ประยุกต์ใช้ในการอ่านวิเคราะห์ จะสามารถทำให้วิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ได้เร็วขึ้น
ลักษระการอ่านวิเคราะห์ ดังนี
เป็นการอ่านอย่างละเอียดให้ได้ความครบถ้วน แล้วจึงแยกแยะให้ได้
การวิเคราะห์เรื่องที่อ่านทุกชนิดสิ่งที่จะละเลยมิได้
คือ การพิจารณาถึงถ้อยคำสำนวนภาษาว่า มีความเหมาะสมกับระดับและประเภทของงานเขียนอย่างไร
เช่น ในบทสนทนาก็ไม่ควร ใช้ภาษาแบบแผน ควรใช้สำนวนให้เหมาะสมกับสภาพจริงหรือเหมาะแก่
กาลสมัยที่เหตุการณ์ในหนังสือนั้นเกิดขึ้น
ดังนั้นการอ่านวิเคราะห์จึงต้องใช้เวลาอ่านมากและยิ่งมีเวลาอ่านมากก็ยิ่งมีโอกาสวิเคราะห์ได้ดีมาก
การอ่านในระดับนี้ต้องรู้จัก ตั้งคำถามและจัดระเบียบเรื่องราวที่อ่าน เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องและความคิด
ที่ผู้เขียนต้องการ
ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
๑. วิธีอ่านเร็ว มีผลต่อคุณภาพชีวิตเราอย่างไร จงอธิบาย
๒. เราสามารถสร้างวิธีการอ่านเร็วของเราได้หรือไม่ อย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
๑. ให้นักเรียนฝึกอ่านเร็วจากสื่อต่าง ๆ แล้วสรุปความรู้ไว้
สรรถนะที่ต้องการเน้น
๑. มีความสามารถในการคิด
๒. มีความสามารถในการสื่อสาร
กิจกรรมบูรณาการ
ทุกกลุ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้
ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นม.๔
ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4477