นานาโวหาร สื่อสารทางการเขียน


1,187 ผู้ชม


โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ   

นานาโวหาร   สื่อสารทางการเขียน

1.  บทนำ      กระต่ายบนดวงจันทร์
               พระจันทร์เต็มดวงในคืนเดือนหงาย ทุกชาติทุกภาษาเห็นเช่นเดียวกันว่า
คล้ายกับมีกระต่ายอยู่ในดวงจันทร์ ทำให้เกิดตำนานที่เกี่ยวกับกระต่ายในดวงจันทร์
มากมาย ตำนานเก่าแก่ของจีนเล่าขานเกี่ยวกับกระต่ายหยกบนวังจันทราว่า เทพธิดา
ฉางเอ๋อซึ่งอยู่บนดวงจันทร์ได้มองลงมาเห็นโลกมนุษย์เกิดภัยโรคระบาด นางรู้สึก
ทุกข์ใจยิ่ง จึงส่งกระต่ายหยกข้างกายที่ปรกติตำยาอยู่บนดวงจันทร์ลงมารักษาโรค
ให้แก่ชาวบ้าน หลังจากนั้นกระต่ายหยกก็กลับขึ้นไปยังวังจันทรา นับแต่นั้นมา
ชาวบ้านจึงได้กราบไหว้บูชาเทพเจ้ากระต่ายในเทศกาลไหว้พระจันทร์สืบมา
    ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบว่า รูปกระต่ายบนดวงจันทร์นั้น เป็นพื้นผิวของดวงจันทร์
ที่เรียกว่า ทะเล(sea) หรือ มาเร (mare) มีลักษณะเป็นแอ่งกว้างใหญ่บนดวงจันทร์ 
เห็นเป็นสีเทาคล้ำ ส่วนใหญ่เคยเป็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ ต่อมาถูกลาวาไหลท่วม
 การทรุดตัวของขอบหลุมบริเเวณที่ไม่แข็งแรง ทำให้ขอบทะเลกลายเป็นรูปร่างต่าง ๆ 
ดวงจันทร์มีทะเลกว่า ๓๐ แห่ง มักอยู่ในด้านใกล้ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๓,๙๐๐ ล้าน
ปีถึง ๓,๑๐๐ ล้านปี ทะเลที่มีอายุน้อยมักมีขอบค่อนข้างกลม ผิวเรียบ และมีหลุมอุกกาบาตน้อยมาก
ส่วนที่เราเห็นเป็นพื้นที่สีจางกว่า เรียก ที่สูงดวงจันทร์ (lunar highland) ซึ่งคณะกรรมการ
จัดทำพจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์ให้นิยามว่า บริเวณที่สูงบนดวงจันทร์ มีสีจางกว่า
บริเวณที่เรียกว่าทะเลซึ่งมีสีเทาคล้ำ มีหลุมอุกกาบาตปรากฏอยู่ค่อนข้างหนาแน่น 
บ่งบอกถึงการมีอายุมากกว่าบริเวณที่มีพื้นที่สีเทาคล้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการท่วมของลาวาที่เกิดตามมาทีหลัง
เนื่องจากพื้นผิวของดวงจันทร์มีบริเวณที่เป็นพื้นที่สูงและต่ำขนาดใหญ่ เราจึงเห็นดวงจันทร์ด้านใกล้
โลกมีเงาสีเทาคล้ายรูปกระต่าย แม้ภายหลังนักดาราศาสตร์ค้นพบคำตอบนี้ แต่ตำนานกระต่าย
บนดวงจันทร์ของต่างชาติต่างภาษาก็ยังเป็นเรื่องน่าสนใจและน่าหาหนังสือไว้อ่านกัน.
                                                                                                   รัตติกาล  ศรีอำไพ
  แหล่งที่มา :  https://www.dailynews.co.th/article/44/11687  วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 00:00 น.
2.        จากประเด็นข่าว  จากข้อความที่อ่านเป็นการเขียนเรียงความแบบบรรยายโวหาร   ซึ่งการเขียนเชิง
โวหารมีในภาษาไทย มี 5 ชนิด ลองศึกษาดูค่ะ

3.  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย   การเขียนเชิงโวหาร   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ช่วงชั้น  2-3
  มาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา
และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑.๑ สามารถอ่านได้คล่องและอ่านได้เร็วขึ้นเข้าใจความหมายของคำ สำนวนโวหาร 
การบรรยาย การพรรณนา การเปรียบเทียบ การใช้บริบท เข้าใจความหมายของถ้อยคำ สำนวนและเนื้อเรื่อง
 และใช้แหล่งความรู้พัฒนาความสามารถการอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสารเขียนเรียงความ ย่อความ และเขียน
เรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
 มาตรฐาน ท ๒.๑.๒ มีมารยาทการเขียนและนิสัยรักการเขียนและการศึกษาค้นคว้า โดยใช้ทักษะการเขียน
และการศึกษาค้นคว้า โดยใช้ทักษะการเขียนจดบันทึกข้อมูลความรู้ประสบการณ์ เหตุการณ์และ
การสังเกตอย่างเป็นระบบ นำวิธีการของแผนภาพความคิดมาพัฒนางานเขียน
และการรายงานและเขียนสื่อสารได้ตามจุดประสงค์อย่างมีมารยาททางสังคม

   ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
     ๑.  สามารถหาเข้าใจความหมายของคำ ถ้อยคำ สำนวนโวหาร
     ๒.  สามารถเข้าใจความหมายของการบรรยาย การพรรณนาและเปรียบเทียบ
     ๓.  มีมารยาทในการเขียน

   จุดประสงค์การเรียนรู้
     ๑.  นักเรียนบอกความหมายของโวหารได้
     ๒.  นักเรียนเขียนเรียงความเชิงโวหารได้
     ๓.  นักเรียนมีมารยาทที่ดีและมีนิสัยรักการเขียน

    เนื้อหาสาระ
- ความหมายและการเขียนโวหาร

4.  เนื้อหา
    โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคาอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ 
เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง ในการเขียนเรื่องราวอาจ
ใช้โวหารต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของข้อความ ( สมถวิล วิเศษสมบัติ. ๒๕๔๔ : ๑๒๙)
โวหารในภาษาไทยที่นิยมใช้ในการเขียนร้อยแก้ว ร้อยกรอง แบ่งออกเป็น
๕ ชนิด คือ     ๑. บรรยายโวหาร หรืออธิบายโวหาร       ๒. พรรณนาโวหาร    ๓. เทศนาโวหาร 
๔. สาธกโวหาร     ๕. อุปมาโวหาร  
     
                                                       คลิกที่นี่เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเขียนเชิงโวหาร
           พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง 
ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณนาโวหาร
จึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนาโวหารต้องมุ่งให้ภาพ
และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคา เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วย
สานวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ หลักการเขียนพรรณนาโวหาร ๑. ต้องใช้คาดี หมายถึง
 การเลือกสรรถ้อยคา เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยาย 
ควรเลือกคา ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคาสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะ
อย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ในงานร้อยกรอง ๒. ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่
ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กาลังพรรณนา 
๓. อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใ
ช้คาที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทาให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คา 
และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม ๔. ในบางกรณีอาจต้อง
ใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้าย
คล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ 
เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
ตัวอย่างพรรณนาโวหารแบบร้อยแก้ว
…ขณะพระองค์เสด็จมาใกล้เบญจคีรีนครคือราชคฤห์ เป็นเวลาจวนสิ้นทิวาวาร แดดในยามเย็นกำลัง
ลงสู่สมัยใกล้วิกาล ทอแสงแผ่ซ่านไปยังสาลีเกษตร แลละลิ่วเห็นเป็นทางสว่างไปทั่วประเทศสุดสายตา 
ดูประหนึ่งมีหัตถ์ทิพย์มาปกแผ่อำนวยสวัสดี เบื้องบนมีกลุ่มเมฆเป็นคลื่นซับซ้อนสลับกันเป็นทิวแถว
 ต้องแสงแดดจับเป็นสีระยับวะวับแววประหนึ่งเอาทรายทองมาโปรยปราย เลื่อนลอยละลิ่วๆ เรี่ยๆ รายลงจดขอบฟ้า
(กามนิต : เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป)
แหล่งที่มา :  https://www.pcccr.ac.th/2special/m2/03_thai/nuntawan/Thai.pdf

ตัวอย่างการเขียนเชิงโวหาร

      ขณะที่กระแสน้ำเริ่มท่วม สายธารความคิดก็หลั่งไหลพุ่งเข้าใส่สมอง เธอบอกว่า...
 ’ตอนนั้นคิดไปต่าง ๆ นานา คิดถึงงาน โรงงาน เพื่อน ๆ พ่อแม่ครอบครัว คิดถึงอนาคตข้างหน้า
ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร? จนสุดท้ายก็คิดได้ว่า...มานั่งคิดมากก็ไม่เกิดประโยชน์ สู้แก้ไข
สถานการณ์เฉพาะหน้า กับเหตุการณ์ตรงหน้านี้จะดีกว่า“ 
แหล่งที่มา :  https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=23&contentID=170474
                       19 ต.ค. 54

’เหมือนเราโดนโอบไปด้วยน้ำ ทั้งน้ำที่ทะลักมาจากฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก 
เหมือนปีกนกที่หุ้มเราไว้อยู่ตรงกลาง ถามว่าน้ำมันมาเร็วไหม ก็ไม่ถึงกับโหมกระหน่ำ 
แต่ระดับน้ำก็ขึ้นเร็วจนเราตกใจ สุดท้ายก็ต้องยอมแพ้ เหลือเพียงแผนรักษาชีวิตเพียงอย่างเดียว
“ ...แหล่งข่าวคนเดิมเล่าฉากชีวิตในช่วงที่ทั่วทั้งเขตอุตสาหกรรมที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของหลายร้อย
หลายพันชีวิต เริ่มกลายสภาพไม่ต่างกับ “อ่างรับน้ำขนาดใหญ่”    
พร้อมทั้งเล่าต่อไปว่า... หลังน้ำท่วมทั่วพื้นที่ น้ำประปาและไฟฟ้าก็เริ่มถูกตัด คนงานกลุ่มที่ต้องอยู่
ในพื้นที่เพื่อประเมินสถานการณ์ก็ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกด้วยโทรศัพท์มือถือ
และวิทยุสื่อสาร ซึ่งก่อนหน้านั้นทางบริษัทก็ได้จัดเรือยนต์คอยเข้ามาประสานให้ความช่วยเหลือ
เป็นระยะ ๆ โดยจะคอยเข้ามาส่งเสบียง ส่งอาหาร น้ำดื่ม ซึ่งก็จะใช้วิธีนำผ้ามาทำเป็นธงสัญลักษณ์
เพื่อบอกพิกัดให้เรือทราบตำแหน่งที่อยู่ โดยตนและทีมงานอีกหลายคน โดยเฉพาะฝ่ายวิศวกร 
จำเป็นต้องอยู่ตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์สำคัญ เพื่อประเมินสถานการณ์ว่าเป็นเช่นไรบ้าง 
“เราเป็นผู้หญิงคนเดียวที่อยู่ในชุดสุดท้าย เรื่องกินอยู่ก็ไม่ได้ลำบากจนทนไม่ได้ น้ำล้างน้ำ
ชำระเวลาเข้าห้องน้ำก็ใช้วิธีตักน้ำที่ท่วมนั่นล่ะ น้ำอาบน้ำกินก็อาศัยจากน้ำขวดหรือน้ำจากถังน้ำคูลเลอร์ 
ที่มีอยู่ ที่ต้องกลัวก็คือพวกงู พวกสัตว์มีพิษ เพราะพื้นที่แถบนี้เป็นทุ่งนา ก็ต้องระวังเป็นพิเศษ 
ถามว่ากลัวไหม ก็มีหวั่น ๆ เพราะเกิดมาเราก็ไม่เคยเจอเหตุการณ์น้ำท่วมที่มันรุนแรงเหมือน
ครั้งนี้มาก่อน ยอมรับว่าครั้งนี้หนักมาก ถามว่ากลัวไหม ก็มีหวั่น ๆ แต่เราเป็นหัวหน้างาน 
ก็ต้องเก็บความรู้สึกไว้ ถ้าเราเสียขวัญ คนอื่นก็จะยิ่งเสียกำลังใจ ก็ต้องคิดทางบวกเข้าไว้เยอะ ๆ
 เอาวันนี้ให้ดีที่สุดก่อน วันพรุ่งนี้ค่อยมาคิดหาทางกันใหม่” 
แหล่งที่มา :    https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=
                         19 ต.ค54

    
           หากเปรียบมวลน้ำจำนวนมหาศาลเป็นข้าศึกที่บุกโจมตีประเทศไทย 
จะเห็นภาพข่าวอย่างชัดเจนว่า แม้ว่าทุกคนจะพยายามรับมืออย่างดี 
ทั้งทำแนวกั้นสูงแน่นหนาอย่างไรก็ตามก็มิอาจรับมือมวลน้ำขนาดใหญ่ 
หนำซ้ำยังมีพายุฝนกระหน่ำซ้ำสอง ทำให้เพิ่มพลังของน้ำที่มีปริมาณมหาศาล
เพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก
ที่มา :  https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page

ภาพอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ทั้งชายหญิง เหงื่อโชก คราบไคลกรังใบหน้า 
สะท้อนถึงความเอาจริงเอาจัง เด็กสาวเด็กหนุ่มกุลีกุจอช่วยยกหยิบข้าวของ
ของผู้ประสบภัยที่เดินทางมาถึง เป็นภาพน่าประทับใจ ในยุคที่ผู้ใหญ่บางคน
ชอบเอ็ดตะโรวัยรุ่นไทยว่าไร้สัมมาคารวะและน้ำใจ ภาพที่ได้เห็นสะท้อนชัดเจนว่าไม่ใช่ทั้งหมด   
เสียงเด็กเจี๊ยวจ๊าวสลับเสียงวัยรุ่นหัวร่อต่อกระซิก ทำให้อดที่จะต้องหยุดมองไม่ได้ อาสาสมัครคนหนึ่ง
กำลังนั่งเล่นตุ๊กตาการ์ตูนอยู่กับเด็กผู้ชายคนหนึ่ง มองไปมุมอื่น ๆ ก็เห็นภาพคล้าย ๆ กันนี้ ทั่วศูนย์พักพิง 
แหล่งที่มา :   https://www.ridth.com/joomla/asita/index2.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=42


“พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนให้ทานเก่งใช่ว่าต้องสรรเสริญ แต่ควรสรรเสริญคนที่ทำทาน
โดยคิดใคร่ครวญดีแล้วเพราะจะเกิดประโยชน์แก่ผู้รับมากกว่า ฉะนั้น การทำบุญ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า 
ในปีนี้ก็ต้องสำรวจความจำเป็นของวัด มิฉะนั้นก็จะเป็นแค่พิธีกรรมเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษา
พระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป...” ...พระพยอมกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่า...
วัดกับชาวบ้านต้องร่วมแรงร่วมใจ แบ่งปัน พึ่งพาช่วยเหลือกันและกันยามเดือดร้อน 
ก็จะเกิดความสามัคคีปรองดอง ได้พึ่งพาอาศัยในการทำสิ่งดีงามกันต่อไป  นี่ก็เป็นวิสัชนา 
’ทำบุญทำกุศลเทศกาลออกพรรษา“ ปีนี้  ในยุคที่หันไปทางไหนก็เจอ ’น้ำท่วม...น้ำท่วม...น้ำท่วม“.
             สถานการณ์ ’น้ำท่วมใหญ่“ ที่เกิดขึ้นในประเทศปีนี้ตอนนี้สาหัสสากรรจ์ยิ่งนัก 
ซึ่งกับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมนั้น นอกจากต้องประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและด้านอาหารการกินแล้ว
 ’ปัญหาด้านสุขภาพ“ ก็ย่ำแย่ไปทั่ว ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพนี้ก็เป็นอีกด้านที่ใครมีกำลังพอจะช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยได้ ก็ควรจะได้ช่วย ๆ กัน    
         ’ถ้าเปรียบสถานการณ์นี้เป็นช่วงภาวะสงความ เราก็เปรียบเป็นแนวหลัง 
ต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มที่“...เป็นการระบุของ นพ.ไพศาล
 จันทรพิทักษ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ

แหล่งที่มา :     https://www.dailynews.
                          วันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น
   

5.   ประเด็นคำถาม
        
        - นักเรียนบอกความหมายของโวหารได้
        -นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมลักษณะของโวหาร
         -นักเรียนเขียนเรียงความเชิงโวหารและบอกว่าเขียนโวหารประเภทใด

6.  กิจกรรมเสนอแนะ
         นำผลงานแสดงที่ป้ายนิเทศน์เป็นการเผยแพร่ความรู้และเกิดความภาคภูมิใจ
7.    การบูรณาการ
        สังคมศึกษา  ศาสนา  ศิลปะ
8.   แหล่งอ้างอิง  :  https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content
                               :  https://www.pcccr.ac.th/2special/m2/03_thai/nuntawan/Thai.pdf
                               :   https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.
                               :   https://www.ridth.com/joomla/asita/index2
                               :   https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index
                               :   https://billboss.jalbum.net/cartoon/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4596

อัพเดทล่าสุด